Wednesday, June 9, 2021

Ground turkey

 

Ground turkey 

ไก่งวง - บด


      มาเรียนศัพท์จากแถวๆ ซูเปอร์มาร์เก็ตอีกครับ คราวนี้เราไปต่อที่แผนกเนื้อสด ของสด ของคาวกันอีกเช่นเคย ศัพท์ภาษาอังกฤษแบบนี้ รู้ไว้ได้ประโยชน์ใช้ได้ในชีวิตจริงๆ ม๊ะมา......มาดูกันเลยครับท่านผู้ชม


ground meat

       แปล ง่ายๆ ตามป้ายข้างบนโน่นว่า "เนื้อบด" แต่....คงมีผู้อ่้านหลายท่านสงกะสัยอยู่ในใจ ว่า เฮ้ยยย ground มันไม่ใช่พื้นดินเหรอ แล้วว..... มันกลายมาเป็น เนื้อบดได้ยังไงหว่า

       เรื่องราวมันเป็นมาอย่างนี้ครับ ต้องมีเล่าเรื่องประกอบฉาก ถึงจะจำศัพท์ได้แม่น และเข้าใจศัพท์อังกฤษได้รื่นไม่มีเรื้อน

       ปกติ ground จะแปลว่าดิน หรือพื้นดิน ที่เราเดินไปเดินมา เหยียบย่ำด้วยฝ่าเท้าอยู่ทุกวัน อย่าง underground ออกเสียง อั่น เหด่อ กร่าวนด์ แปลว่า ใต้ดิน อยู่ใต้ดิน มาจาก under( ใต้ ) + ground ( ดิน ) หรือ ภาษาช่างไฟฟ้าไทย ที่พูดกันว่า สายกราวนด์ หรือ สาย กราวด์ ก็คือ สายดิน สายที่ต่อลงดิน ( ground connection หรือ ground wire ) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากไฟดูด 

       แต่คราวนี้ไม่ใช่อย่างงั้นสิครับ

       ไอ้เจ้า ground ออกเสียง กร่าวนด์ เวรกรรมตัวนี้ มันเกิดมาเพื่อหลอกเรา ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะเจาะจง เจ้าเล่ห์เพทุบายมาก

       เพราะที่แท้แล้ว ground เป็นรูปกริยาช่องอื่น ( รูปผิดปกติ ไม่ใช้วิธีเติม-ed ) ของเวิร์บ grind  ที่ออกเสียงว่า ไกรนด์ และแปลว่า บด ย่อย ทำของชิ้นใหญ่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ดังนั้น ground meat ที่เห็นเนี่ยนะ ก็คือ เนื้อบด นั่นเอง


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

       ไก่งวง ( Turkey ) เป็นนกที่บินไม่ได้ประเภทหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา ( Phasianidae ) จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Meleagridinae สกุล Meleagris

       มีปากสั้นเรียวบาง บริเวณหัวบางส่วนและลำคอไม่มีขนที่เห็นชัด แต่มีหนังย่น ๆ และตุ่มคล้ายหูด ขนหางมี 28-30 เส้น แพนหางชี้ตั้งขึ้น ขายาว ลักษณะนิ้วตีนเหมือนกับไก่ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้มีเดือย ขนตามลำตัวเป็นเงา

       แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ M. gallopavo พบในอเมริกาเหนือ และ M. ocellata พบในอเมริกากลาง

       ในสหรัฐอเมริกา ชาวคริสต์นิยมรับประทานไก่งวงในวันขอบคุณพระเจ้า ไก่งวง มีขนาดใหญ่กว่าไก่ทั่วไป ในการประกอบอาหาร นิยมยัดไส้นานาชนิด แล้วนำไปปรุงแต่งอาหาร


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเนื้อไก่งวง

* * * เนื้อดำ ( Dark Meat ) คือส่วนอื่นๆของไก่งวงที่ไม่ใช่เนื้อขาว ( White Meat )  /  เนื้อดำจะมีปริมาณไขมันสูงกว่าเนื้อขาว  


* * * เนื้อขาว ( White Meat ) คือ อกไก่งวง - เป็นส่วนที่มีไขมันน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆของไก่ 


* * * เนื้อดำของไก่งวง มีวิตะมินและเกลือแร่มากกว่าเนื้อขาว แต่ว่ามีไขมันและแคลอรี่มากกว่าเนื้อขาว  


* * * เนื้อไก่งวง มีกรดอะมิโนทริปโตฟาน ( Aamino acid tryptophan ) ที่อาจทำให้ง่วงหลังการทานไปมากๆ ( โดยเฉพาะกทานมากๆในมื้อเย็นของวัน Thankgiving )


* * * ควรปรุงไก่งวงจนกว่าอุณหภูมิจะสูงถึง 165 องศาฟาเรนไฮต์ ( 73.89 องศาเซลเซียส ) 


* * * ไก่งวงที่เลี้ยงในบ้านด้วยหญ้า จะมีโอเมก้า 3 มากกว่าไก่งวงที่เลี้ยงในฟาร์มของโรงงาน 


* * * การเอาหนังไก่ออก เป็นการกำจัดไขมันอย่างหนึ่ง


ข้อมูลโภชนาการ

       ตามกำหนดของ กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ( United States Department of Agriculture หรือคำย่อคือ USDA ) บอกไว้ว่า เนื้้อไก่งวงที่ย่างแล้ว แต่ยังไม่ได้ปรุง ขนาด 3 ออนซ์ หรือ 85 กรัม ควรจะประกอบด้วย

       - 135 แครอลี่ 

       - ไขมัน 3.26 กรัม 

       - คาร์โบไฮเดรต 0 กรัม 

       - โปรตีน 24.70 กรัม  


       ถ้าดูเฉพาะเนื้อดำ ในปริมาณที่เท่ากับข้างบน ( คือข้างบนนี้ เป็นเนื้อไก่ทุกส่วน รวมกันได้ 3 ออนซ์  /  แต่ข้างล่างนี้ คือเนื้อดำอย่างเดียว ปริมาณ 3 ออนซ์ ) เมื่อทำการย่างแล้ว จะประกอบไปด้วย

       - 173 แครอลี่

       - ไขมัน 5.13 กรัม

       - คาร์โบไฮเดรต 0 กรัม

       - โปรตีน 23.55 กรัม  


ไก่งวง ให้สารอาหารดังนี้คือ

       - วิตะมิน บี 6 

       - วิตะมิน บี 12 

       - ไนอาซีน 

       - โคลีน  

       - ซีลีเนียม 

       - สังกะสี  


ประโยชน์ที่ได้รับ

* * * เนื่องจากไก่งวงมีโปรตีนสูง ดังนั้น การทานไก่งวง จะทำให้คุณ "อิ่มนาน" ( แปลว่าอยู่ได้เกือบทั้งวัน โดยไม่รู้สึกหิวอีก )


* * * การทานโปรตีนให้เพียงพอ จะทำให้เราทรงกล้ามเนื้อไว้ได้ ( เซลล์กล้ามเนื้อไม่สูญหาย ) และทำให้ระดับอินซูลินในร่างกายคงที่หลังมื้ออาหารนั้น ( เราจึงรู้สึก "อิ่มนาน" )


* * * ให้จำไว้อย่างหนึ่งว่า โปรตีนที่เราทานไปใน "แต่ละมื้อ" นั้น มีผล - ดังนั้น เราควรจะทานแหล่งโปรตีนล้วนๆ ( Lean Protein ) ในแต่ละมื้อด้วย

       ตัวเลือกที่ดีของโปรตีนล้วนๆ ก็คือ ถั่ว ( Nuts ) , ปลา , ไข่ไก่ , ผลิตภัณฑ์นม ( dairy ) , ถั่วเหลือง และพืชตระกูลถั่วทั้งหลาย ( legumes )


* * * ควรเอาหนังของไก่งวงออกก่อนรับประทาน เพราะไขมันของไก่งวง ส่วนใหญ่จะอยู่ที่หนังไก่นั่นแหละ


* * * กรดอะมิโน "ทริปโตฟาน" ในไก่งวง ช่วยทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพดี , "ตื่นตัว" และมีอารมณ์ดี ถ้ากินในปริมาณที่ไม่มากเกินไป ( ถ้ากินมากเกินไป จะ "ไม่ตื่นตัว" , จะง่วง )


* * * บริเวณอกไก่งวง จะไม่มีไขมันและให้แครอลี่น้อยกว่าส่วนอื่นๆของมัน นั่นหมายความว่า การทานไก่งวง ไม่ได้แปลว่าจะได้รับไขมันน้อย และแครอลี่น้อยกว่าเนื้อวัว เพราะมันขึ้นกับว่าคุณทานส่วนไหน ( ถ้าทานอก ก็ให้ไขมันน้อย แคลอรี่น้อย แต่ถ้าทานส่วนอื่นก็ไม่ใช่อย่างนั้น )

       นั่นหมายความว่า เราไม่อาจพูดได้ว่า เบอร์เกอร์ที่ทำจากเนื้อไก่งวงบด จะมีไขมันน้อยกว่าเบอร์เกอร์ที่ทำจากเนื้อวัวบด 

       เพราะเนื้อไก่งวงที่นิยมนำมาบด ส่วนมากเป็นเนื้อดำของไก่งวง ( คือไม่ใช่เนื้อขาว ( เนื้อขาว คืออก ) ) ซึ่งเนื้อดำของไก่งวง จะมีไขมันอิ่มตัว ( saturated fat ) ที่สูงเทียบเท่ากับเนื้อวัวบดเลยทีเดียว 


* * * ก่อนจะซื้อไก่งวง ให้อ่านฉลากที่ติดไว้ให้ดี ว่าไก่งวงที่จะซื้อ มีไขมันเท่าไร เพื่อเปรียบเทียบสินค้า 

- END -