Chin with Support Bars
 |
( ภาพบน ) สถานี ที่มีที่ดึงข้อ และมีที่ดันข้อ อยู่ในเครื่องเดียวกัน |
* * * จะบริหารท่านี้ได้ ต้องมีอุปกรณ์เหมือนในภาพข้างบนนี้ก่อนนะครับ * * *
ผมจะแสดงขั้นตอนการทำให้อยู่ใน "
ท่าเตรียมพร้อม" ก่อนที่จะเริ่มทำการบริหารจริงนะครับ ให้ดูตามลำดับภาพข้างล่างนี้ครับ
 |
( ภาพบน ) ยืนหน้าอุปกรณ์ |
 |
( ภาพบน ) เหยียบตรง "ที่เหยียบ" เพื่อก้าวขึ้นอุปกรณ์ |
 |
( ภาพบน ) ยืนบนอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว |
(
ภาพบน ) ใช้มือจับที่ "
ที่จับ" ของอุปกรณ์ ตาม
ภาพที่ 1
แต่การจับนี้ ขอให้เพื่อนสมาชิกดูใน ภาพที่ 2 ประกอบด้วยนะครับ ซึ่งใน ภาพที่ 2 นี้ ขออธิบายดังนี้นะครับว่า* * * ให้ลาก "
เส้นสมมติ" เป็นแนวดิ่ง ไปที่ บริเวณที่ใช้มือจับ "
ที่จับ" นะครับ / ซึ่ง "
เส้นสมมติ" ในที่นี้ ก็คือ
เส้นประสีม่วง ที่ผมทำไว้ใน
ภาพที่ 2 นะครับ
* * * จากนั้น ให้เอนตัวไปทางด้านหลังเล็กน้อย ตามแนวของ
เส้นลูกศรสองหัว สีม่วง ที่เห็นใน
ภาพที่ 2 นะครับ
สาเหตุที่เราทำอย่างนี้ (
คือเอนตัวไปทางด้านหลังเล็กน้อย ) ก็เพราะว่า เมื่อเราจะ "
หย่อนก้น" (
ซึ่งจะทำในขั้นตอนถัดไป ข้างล่างนี้ ) จะได้ทำให้ "
กล้ามปีก" มัน "
ตึง" ครับ / ตอนนี้ เพื่อนสมาชิกอาจจะยังไม่เข้าใจว่าผมพูดถึงอะไร เอาเป็นว่า ณ.ตอนนี้ ให้ทำตามที่ผมพูดไปก่อนนะครับ คือให้เอนตัวไปด้านหลังเล็กน้อย ตามภาพข้างบนนี้
(
ภาพบน ) ให้ "
หย่อนก้น" ลงมา ตามที่เห็นใน
ภาพที่ 1 จนแขนทั้งสองข้างเหนียดตึง
ขอให้เพื่อนสมาชิกดู
ภาพที่ 2 ประกอบไปด้วยนะครับ / คือว่า ในการที่เรา "
หย่อนก้น" จนแขนทั้งสองข้างเหยียดตึงในครั้งนี้นั้น เพื่อนสมาชิกจะรู้สึก "
ตึง" ที่กล้ามปีกทั้ง 2 ข้าง ตรงที่
ลูกศรสีเขียว ทั้ง 2 อัน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้
ซึ่งนี่แหละครับ คือเหตุผลที่ผมบอกให้เพื่อนสมาชิก เอนตัวไปทางด้านหลัง ตามที่ผมพูดเอาไว้ ในขั้นตอนก่อนหน้านี้
เอาล่ะครับ เมื่อทำถึงขั้นตอนนี้แล้ว หมายถึงขั้นตอนที่ "
หย่อนก้น" แบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้แล้ว ก็คือการที่เราอยู่ใน "
ท่าเตรียมพร้อม" เรียบร้อยแล้วนะครับ เราจะเริ่มบริหารจริงกันแล้ว
เริ่มบริหารจริง
( ข้างล่างนี้ )


( ภาพบน ) ภาพทั้งสองชุดข้างบนนี้ คือภาพใน ตารางสีเหลือง และภาพใน ตารางสีมชมพู เป็นการทำท่าเดียวกัน ในจังหวะเดียวกันนะครับ เพียงแต่ภาพใน ตารางสีเหลือง เป็นการมองจากด้านข้าง / ส่วนภาพใน ตารางสีมชมพู เป็นการมองจากด้านหลัง / มาดูคำอธิบายกันครับ ข้างล่างนี้ ...
* * * จาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 นั้น ให้ออกแรงไปที่ "กล้ามปีก" ให้มากที่สุด
"อย่า" ออกแรงไปที่กล้ามต้นขานะครับ หมายถึงว่า "อย่า" ออกแรงไปที่กล้ามต้นขา ในการเหยียดขา จากการย่อขา ( ใน จังหวะที่ 1 ) ไปสู่การเหยียดขาตึง ( ใน จังหวะที่ 2 ) นะครับ - อย่าทำครับ
ในการเคลื่อนที่จาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 นั้น ให้ทำความรู้สึกว่า "ไม่มีขา" เลยนะครับ คือให้ออกแรงไปที่ "กล้ามปีก" เพียงอย่างเดียว
จาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 นั้น ให้ "หายใจออก" ครับ
เมื่อขึ้นไปสูงสุดใน จังหวะที่ 2 แล้ว ให้นับว่า "1" ( ซึ่งหมายถึง Rep ที่ 1 )
* * * เท้าทั้งสองข้างต้อง "เหยียบอยู่บนที่เหยียบตลอดเวลา" ทั้งตอนที่อยู่ใน จังหวะที่ 1 และตอนที่อยู่ใน จังหวะที่ 2 เลยนะครับ / คือการบริหารท่านี้ เขามีไว้สำหรับคนที่ยังมี "กล้ามปีก" ไม่แข็งแรงพอที่จะดึงข้อแบบเท้าลอยเหนือพื้นได้น่ะครับ
แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งในอนาคต คุณมี "กล้ามปีก" ที่แข็งแรงแล้ว ก็ให้คุณเปลี่ยนไปบริหารด้วยท่าดึงข้อ แบบที่เท้าลอยเหนือพื้น ในลิงก์นี้แทนนะครัน คือ http://www.tuvayanon.net/C-ex6-001001A-570628-1727.html
คือ ณ.ปัจจุบันนี้ "กล้ามปีก" คุณยังไม่แข็งแรง คุณยังดึงข้อแบบเท้าลอยเหนือพื้นไม่ได้ ก็เลยต้องบริหารท่านี้ไปก่อน ซึ่งก็คือการที่เท้าทั้งสองข้างของคุณ จะต้อง "เหยียบอยู่บนที่เหยียบตลอดเวลา" ครับ
* * * เมื่อเคลื่อนตัวจาก จังหวะที่ 2 กลับมาสู่ จังหวะที่ 1 นั้น ให้ "หายใจเข้า" / คือเมื่อ "หย่อนก้นลง" ก็ "หายใจเข้า" ครับ
* * * ทำซ้ำ คือเคลื่อนตัวจาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 พร้อมกับเริ่ม "หายใจออก" / และเมื่ออยู่จุดสูงสุดใน จังหวะที่ 2 อีกครั้งแล้ว ก็ให้นับว่า "2" ( ซึ่งหมายถึง Rep ที่ 2 )
* * * ให้ทำซ้ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกระทั่ง จบเซท / คำว่า จบเซท หมายถึงการที่คุณทำครบตามจำนวน Reps ที่คุณกำหนดไว้ในเซทนี้แล้ว เช่น คุณกำหนดไว้ว่าในเซทนี้จะทำให้ได้ 8 Reps
แล้วพอคุณนับใน
จังหวะที่ 2 ได้ว่า "
8" เมื่อไร นั่นก็คือการที่คุณทำ
จบเซท แล้วนั่นเอง (
คือคุณทำครบ 8 Reps ตามที่กำหนดไว้แล้ว )
 |
( ภาพบน ) สมมติว่าบริหาร จบเซท แล้ว |
 |
( ภาพบน ) เตรียมตัวลงจากอุปกรณ์ |
 |
( ภาพบน ) ก้าวขาลงจากอุปกรณ์ทีละข้าง |
 |
( ภาพบน ) ลงจากอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว |
 |
( ภาพบน ) ออกไปจากพื้นที่ |
( ภาพบน ) จากนั้นก็ให้คุณ
พักเซทเป็นเวลา 2 นาที แล้วถึงกลับมาบริหารในเซทต่อไปครับ
- END -