Saturday, July 25, 2020

ถามเรื่องจำนวน Reps


ถาม : จำนวนครั้งที่เราใช้ยก มีผลมากน้อยแค่ใหนในการพัฒนากล้ามเนื้อครับ ทั้งจำนวนครั้ง จำนวนเซท / แต่โดยส่วนตัว ชอบเล่นน้ำหนักที่ไม่หนักมาก แล้วยกสัก12-15 ครั้ง สัก 5-6เซท กำลังดี มันโฟกัสกล้ามเนื้อ ได้ดี รู้สึกว่ากล้ามเนื้อได้ทำงานเต็มที่ 


ตอบ : ก่อนอื่น ขอพูดถึงคำว่า "จำนวนครั้ง" ก่อนนะครับ คือโดยส่วนตัว ผมจะเรียกว่า Reps ( แต่เพื่อนสมาชิกจะเรียกว่า "จำนวนครั้ง" ก็ไม่เป็นไรครับ ไม่ได้ว่าอะไร ) สาเหตุที่ผมเรียกว่า Reps ผมทำคำอธิบายไว้ที่ลิงก์นี้แล้ว   http://www.tuvayanon.net/R-ep6-001001B-591127-1718.html 

       เอาล่ะครับ คราวนี้ก็มาเข้าเรื่องกันได้แล้ว

       หลักของ Reps ที่ใหญ่ที่สุด ครอบคลุมทั้งหมดก็คือ กล้ามเนื้อส่วนที่เล็ก จะต้องบริหารด้วยจำนวน Reps ต่อเซท ที่มากกว่ากล้ามเนื้อส่วนที่ใหญ่ ประมาณ 20%

       ถามว่าตัวเลข 20% นี้มาจากไหน? คำตอบก็คือ ตัวเลขนี้ มาจากการดูตารางฝึกของแชมป์ต่างๆ ในรอบ 35 ปีของผมนั่นเองครับ อาจจะมีส่วนน้อยที่ไม่ใช่อย่างที่ผมสังเกตุ แต่อีก 99% ที่เหลือ เป็นอย่างที่ผมสังเกตุ ( อย่างที่ผมสังเกตุ หมายถึง การที่แชมป์เขาบริหาร กล้ามเนื้อส่วนที่เล็ก จะมีจำนวน Reps ต่อเซท มากกว่ากล้ามเนื้อส่วนที่ใหญ่ ประมาณ 20% ) 

       ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณบริหารกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ 8 Reps ต่อเซท ล่ะก็ กล้ามเนื้อชิ้นเล็ก เช่น แขน ( ทั้งไบเซบ และไทรเซบ ) ก็จะบริหาร 10 Reps ต่อเซท  /  ก็คือ กล้ามแขน จะบริหารด้วยจำนวน Reps ต่อเซท มากกว่ากล้ามอก 20% หรือ 2 ครั้งนั่นเอง ไม่ งง นะครับ

       ถ้าคุณบริหารกล้ามหน้าอก 10 Reps ต่อเซท ล่ะก็ กล้ามเนื้อชิ้นเล็ก เช่น แขน ก็จะบริหาร 12 Reps ต่อเซท ( คือ มันมากกว่า 20% นิดหน่อย แต่ก็ไม่ไปซีเรียสครับ ตีเป็น 20% นั่นแหละ )  

       คำว่ากล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ในที่นี้คือ อก ปีก ต้นขา บ่า

       คำว่ากล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ในที่นี้คือ ไบเซบ ไทรเซบ

* * * ในที่นี้ คำว่า กล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ผม "ไม่รวม" กล้ามท้อง ,กล้ามหลังส่วนล่าง ,น่อง ( และ แขนทอนปลาย นะครับ  /  ที่ผมใส่แขนท่อนปลายเอาไว้ใน "วงเล็บ" เพราะตามปกติ "ไม่ต้อง" บริหารกล้ามแขนท่อนปลายนะครับ แต่ถ้าเพื่อนสมาชิกอยากบริหาร ก็ตามใจนะครับ ผมก็เลยใส่ไว้ใน "วงเล็บ" เพื่อที่จะจัดหมวดหมู่ว่า ถ้าเพื่อนสมาชิกจะบริหารแขนท่อนปลายล่ะก็ แขนท่อนปลายนั้น ไม่ถือว่าเป็นกล้ามเนื้อชิ้นเล็กในความหมายของผมนะครับ  /   แขนท่อนปลาย ( ถ้าบริหาร ) ก็จะอยู่ในหมวดของ กล้ามท้อง ,กล้ามหลังส่วนล่าง และ น่อง ครับ ) 


* * * คือหมายความว่า ถ้าคุณบริหารหน้าอก 8 Reps ต่อเซท ก็ไม่ใช่ว่าคุณจะบริหารกล้ามท้อง แค่ 10 Reps ต่อเซท ( คือตัวเลข 20% ) เพราะถือว่า กล้ามท้องเป็นกล้ามเนื้อชิ้นเล็กนะครับ ( เพราะผมไม่ได้รวม กล้ามท้อง ,กล้ามหลังส่วนล่าง และน่อง อยู่ในความหมายของคำว่า "กล้ามเนื้อชิ้นเล็ก" ของผม  /  คำว่ากล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ในที่นี้คือ ไบเซบ ไทรเซบ )  

       ที่ถูกคือ ไม่ว่าคุณจะบริหารหน้าอก ( คือกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ) 8 Reps ต่อเซท หรือ 10 Reps ต่อเซท ก็ตาม มันก็ไม่เกี่ยวกับ กล้ามท้อง ,กล้ามหลังส่วนล่าง และน่อง

       คือ คุณก็ต้องบริหาร กล้ามท้อง ,กล้ามหลังส่วนล่าง และน่อง ในจำนวน 15 Reps ต่อ เซท ขึ้นไป ( ไม่ว่าจะบริหารกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ 8 Reps ต่อเซท หรือ 10 Reps ต่อเซท - เพราะมันไม่เกี่ยวกัน ) 


สรุปส่วน "หลัก" นี้ก่อนว่า

* * * ถ้าบริหารอก ( คือกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ) 8 Reps ต่อเซท ก็จะต้องบริหารไบเซบ ( คือกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ) 10 Reps ต่อเซท 


* * * ถ้าบริหารอก ( คือกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ) 10 Reps ต่อเซท ก็จะต้องบริหารไบเซบ ( คือกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ) 12 Reps ต่อเซท    


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

       ข้างบนนี้ คือ "หลัก" ทั่วไปเกี่ยวกับจำนวน Reps ที่ผมต้องการจะสื่อสารกับเพื่อนสมาชิกนะครับ คราวนี้ ผมจะพูดถึง "ส่วนย่อย" ของจำนวน Reps นะครับ

       นักเพาะกายบาบคน จะมีโหมดการฝึก 2 แบบคือ  


* * * โหมด 1. - บริหารด้วยน้ำหนัก "มาก" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "น้อย" 

* * * และ โหมด 2. - บริหารด้วยน้ำหนัก "น้อย" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "มาก"

       ( บางคน ก็ไม่มี 2 โหมดแบบนี้นะครับ คือบริหารไปตามปกติเรื่อยๆ แต่บางคนก็มี 2 โหมดแบบนี้ - แล้วแต่ความชอบ )

       สองโหมดนี้ จะ "สลับกันไปมา" 

       บางคนสลับกันทุก 6 เดือน ,บางคนสลับกันทุก 3 อาทิตย์ ( เป็นความนิยม พอๆกันครับ - เท่าที่ผมสังเกตุดูจากตารางฝึกของแชมป์ ( แต่ต้องขอบอกก่อนว่า แชมป์บางคน จะเล่นไปตามปกติ ไม่มี 2 โหมดนี้ )  /  คำพูดของผมที่บอกว่า "เป็นความนิยม พอๆกัน" หมายถึง การที่บางคนสลับกันทุก 6 เดือน ,บางคนสลับกันทุก 3 อาทิตย์ ครับ ว่าสองอย่างนี้ มีความนิยมพอๆกัน บางคนก็สลับกันทุก 6 เดือน ,บางคนก็สลับกันทุก 3 อาทิตย์ )

* * * ถ้าคุณอยู่ในโหมดบริหารด้วยน้ำหนัก "มาก" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "น้อย" ก็หมายถึงว่า คุณจะบริหารหน้าอก แค่ 8 Reps ต่อเซท ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่า คุณจะบริหารกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก เช่น ไบเซบ 10 Reps ต่อเซท ตามหลัก 20% ที่ผมพูดมาก่อนหน้านี้


* * * ถ้าคุณอยู่ในโหมดบริหารด้วยน้ำหนัก "น้อย" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "มาก" ก็หมายถึงว่า คุณจะบริหารหน้าอก 10 Reps ต่อเซท ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่า คุณจะบริหารกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก เช่น ไบเซบ 12 Reps ต่อเซท ตามหลัก 20% ที่ผมพูดมาก่อนหน้านี้ 


       สรุปส่วน "ย่อย" นี้ว่า

       นักเพาะกายบางคน จะแบ่งการฝึกเป็น 2 โหมด

* * * โหมด 1. - บริหารด้วยน้ำหนัก "มาก" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "น้อย"  /  ก็คือ การบริหารอก ( คือกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ) 8 Reps ต่อเซท แล้วบริหารไบเซบ ( คือกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ) 10 Reps ต่อเซท


* * * โหมด 2. - บริหารด้วยน้ำหนัก "น้อย" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "มาก"  / ก็คือ การบริหารอก ( คือกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ) 10 Reps ต่อเซท แล้วบริหารไบเซบ ( คือกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ) 12 Reps ต่อเซท


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

       คราวนี้ มาดูในคำถามของเพื่อนสมาชิกที่บอกว่า ชอบบริหารเซทละ 12 - 15 ครั้ง ( หรือ Reps ) แต่ไม่ได้บอกว่าสำหรับกล้ามเนื้อชิ้นไหน? 

       คืออาจหมายถึงว่า บริหารหน้าอก ( ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ) ก็ 12 - 15 Reps ต่อเซท  /  บริหารแขน ( ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ) ก็ 12 - 15 Reps ต่อเซท 

       ความหมายของเพื่อนสมาชิกคือว่า เพื่อนสมาชิกชอบบริหารด้วยตัวเลขนี้ คือ 12 - 15 Reps ต่อเซท "เป็นหลัก" คือใช้กับการบริหารทุกกล้ามเนื้อ ( ทั้งใหญ่และเล็ก )

       จริงๆแล้ว เพื่อนสมาชิกจะบริหารอย่างไรก็ได้ "แต่" ถ้าถามผม ผมก็จะใช้หลักการสังเกตุจากตารางของแชมป์มาพูดให้ฟังนะครับ คือ

* * * การบริหาร 12 - 15 Reps ต่อเซท ควรจะใช้กับกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก เช่น ไบเซบ และไทรเซบ  


* * * ถ้าคุณบริหารไบเซบ 12 Reps ต่อเซท คุณก็ควรบริหารหน้าอก 10 Reps ต่อเซท


* * * ถ้าคุณบริหารไบเซบ 15 Reps ต่อเซท คุณก็ควรบริหารหน้าอก 12 Reps ต่อเซท ( ไม่ควรเกินนี้ คือไม่ควรเกิน 12 Reps นี้ ) ( จริงๆแล้ว ตามหลัก 20% คือ ถ้าคุณบริหารไบเซบ 15 Reps ต่อเซท แล้ว คุณควรบริหารหน้าอก 13 Reps ต่อเซท - แต่ผมแนะนำว่า กล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ทั่วร่างกาย ไม่ควรบริหารเกิน 10 Reps ต่อเซท หรืออย่างมากสุดก็ 12 Reps ต่อเซท  /  ไม่ว่าคุณจะอยู่โหมดไหนก็ตาม )


* * * ที่ผมแนะนำว่า กล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ไม่ควรบริหารเกิน 10 Reps ต่อเซท หรืออย่างมากสุด ก็ได้แค่ 12 Reps ต่อเซท นั้น นับว่ามากที่สุดแล้ว คือถึงลิมิตของมันแล้ว ( คือกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ทั่วร่างกาย มีลิมิตว่า ไม่ควรบริหารเกิน 10 Reps ต่อเซท หรืออย่างมากสุดก็ 12 Reps ต่อเซท  /  ไม่ว่าคุณจะอยู่โหมดไหนก็ตาม ) 


* * * "ถ้า" คุณบริหารกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ 15 Reps ต่อเซท นั่นคือการ Burn


* * * การ Burn เป็นของกีฬาฟิตเนส "ไม่ใช่เพาะกาย" น่ะครับ คนละตำรากัน ดังนั้น "ไม่ควรทำ"


* * * แต่บริหารกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก 15 Reps ต่อเซท "ได้ครับ" ยังถือว่าเป็นการเพาะกาย  /  แต่ถ้าบริหารกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ 15 Reps ต่อเซท มันเป็นฟิตเนสไปแล้ว เพราะมันเป็นการ Burn ไปแล้ว 


* * * ถ้าคุณบริหารไบเซบ 15 Reps ต่อเซท นั่นแปลว่า คุณกำลังอยู่ในโหมด 2.คือ โหมดบริหารด้วยน้ำหนัก "น้อย" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "มาก"  /  ดังนั้น ข้อแนะนำคือ พอครบ 6 เดือน ( หรือทุกๆ 3 อาทิตย์ก็ได้ )  คุณควรสลับไปใช้ โหมด 1.คือ โหมดบริหารด้วยน้ำหนัก "มาก" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "น้อย"


* * * ยกตัวอย่างเช่น ณ.วันที่คุณบริหาร ไบเซบ 15 Reps ต่อเซท ( ซึ่งคุณก็จะต้องบริหารหน้าอก 12 Reps ต่อเซท ) พออีก 6 เดือนข้างหน้า ( หรือ 3 อาทิตย์ข้างหน้า ) ก็ให้คุณบริหารไบเซบ 10 Reps ต่อเซทเท่านั้น ( ซึ่งคุณก็จะต้องบริหารหน้าอก 8 Reps ต่อเซท - ไม่ งง นะครับ คือตามหลัก 20% ที่ผมพูดไว้ก่อนหน้านี้ ) 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

       ข้อแนะนำเพิ่มเติม - คือ เรื่อง "น้ำหนักที่ใช้"  

       ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า คุณควรใช้น้ำหนักกี่ กิโลกรัม สำหรับบริหาร หน้าอก ปีก ไบเซบ  /   แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า คุณกำหนด จำนวน Reps ต่อเซท สำหรับกล้ามเนื้อชิ้นนั้นไว้เท่าไรต่างหาก อธิบายได้ดังนี้

* * * ถ้าคุณกำหนดว่า เซทนี้ คุณจะบริหาร 12 Reps ( สมมติว่าเป็นการเล่นไบเซบ ) นั่นก็หมายความว่า คุณจะบริหาร Reps ที่ 13 ไม่ได้  /  ถ้าคุณบริหาร Reps ที่ 13 ได้ นั่นแสดงว่า น้ำหนักที่ใช้ "เบาไป" ต้องเพิ่มน้ำหนักแล้ว 


* * * ถ้าคุณกำหนดว่า เซทนี้ คุณจะบริหาร 12 Reps ( สมมติว่าเป็นกล้ามเนื้อชิ้นเดิม คือ ไบเซบ ) แล้วคุณทำได้แค่ 11 Reps ไม่สามารถทำ Reps ที่ 12 ( ตามที่กำหนดไว้ ) นั่นแสดงว่า น้ำหนักที่ใช้ "หนักไปแล้ว" คุณต้องลดน้ำหนักที่ใช้ลงแล้ว 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

* * * ถ้า งง ก็ให้กลับไปยอ้นอ่านจากตอนเริ่มต้นอีกทีครับ


- END -


Wednesday, July 22, 2020

Roy Callender


Roy Callender


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ชื่อภาษาต่างประเทศ : Roy Callender 

ชื่อภาษาไทย : รอย คอลเลนเดอร์  

นามแฝง หรือ ฉายา : Mr. Universe Roy Callender ,  Barbados Bomber 

วันเดือนปีที่เกิด : 31 ตุลาคม พ.ศ.2487  /  October 31, 1944 

สถานที่เกิด : Brigetown , BARBADOS 

ที่อยู่ปัจจุบัน : Montreal , CANADA 


ความสูง : 173 เซนติเมตร  /  5 ฟุต 8 นิ้ว

น้ำหนัก : 100 กก. ( 220 ปอนด์ ) 


ได้ใบรับรองเป็นนักเพาะกายอาชีพ : จากการประกวดในรายการ IFBB Mr. International 1977 ( ขณะที่อายุ 33 ปี ) 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ประวัติโดยสังเขป :  

       Callender เกิดในบาร์เบโดสกับคู่รักนักวิชาการ ความสนใจในการเพาะกายของเขาเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 8 ขวบและหลังจากย้ายไปอังกฤษเพื่อเรียนกฎหมายและตั้งแต่ปี 1967 เขาก็เริ่มแข่งขันและได้รับตำแหน่ง Mr Southeast Britain ในปีเดียวกัน เขากลายเป็น Mr. United Kingdom ในปี 1968 หลังจากจบอันดับสองในระดับความสูงปานกลางใน NABBA Amateur Universe ในปี 1967 , 1969 และ 1971 คาลเลนเดอร์ก็ย้ายไปแคนาดาซึ่งเขาชนะการประกวด Mr. Canada หลังจากนั้นเขาวางมือจากการแข่งขันเพาะกายและมีบทบาทสั้น ๆ ในหนังตลกร้ายแนวทดลองของ Dušan Makavejev


มวยปล้ำอาชีพ

       คาลเลนเดอร์เริ่มอาชีพนักมวยปล้ำอาชีพในปี 1974 เปิดตัวครั้งแรกกับนักฆ่าทิมบรูคส์ในมอนทรีออล เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งด้วยฉายา "Mr. Universe" ในอาชีพการงานของเขาและได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็น Stampede Wrestling คาลเลนเดอร์เกษียณในตอนท้ายของปี 1976 ในการแข่งขันกับ Keith Hart ใน Calgary


กลับไปเพาะกาย

       Callender ติดต่อเจ้าของโรงยิมและ Jimmy Caruso ช่างภาพเพื่อเตรียมเขาให้พร้อมสำหรับการกลับมาแข่งขันเพาะกายและในวันที่ 10 กันยายน 1977 , Callender แข่งขันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1971 ชนะการแข่งขัน Canadian Championships ใน Calgary เขาเป็นผู้ชนะใน IFBB Pro Universe ในปี 1979 หลังจากแข่งขันมิสเตอร์โอลิมเปียสี่ครั้งและประสบความสำเร็จแตกต่างกันไปเขากลับไปที่บาร์เบโดสในปี 1982 หลังจากโอลิมเปียครั้งที่ 5 ในปี 1984 เขามีช่วงว่างสามปีในประเทศบ้านเกิดของเขาและหลังจากได้อันดับที่ 7 ที่ IFBB Grand Prix ในเมือง Essen เขาก็เกษียณในปี 1987


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

รายการประกวดที่ผ่านมา : ( นับถึงปี พ.ศ. 2530 ( ค.ศ. 1987 ) )

1967
Mr Southeast Britain, Winner
Mr Universe - NABBA, Medium, 2nd

1968
Mr Southeast Britain, 2nd
Mr United Kingdom, Winner
Universe - IFBB, 6th
Mr World - IFBB, Medium, 2nd

1969
Mr Universe - NABBA, Medium, 2nd

1970
Mr World - IFBB, Medium, 2nd

1971
Mr Universe - NABBA, Medium, 2nd

1977 
Canadian Championships - CBBF, Medium, 1st
Canadian Championships - CBBF, Overall Winner
Mr International - IFBB, HeavyWeight, 1st  
Universe - IFBB, MiddleWeight, 1st

1978
Night of Champions - IFBB, 2nd 
Olympia - IFBB, HeavyWeight, 2nd
Olympia - IFBB, 3rd 
Professional World Cup - IFBB, 3rd 
Universe - Pro - IFBB, Overall Winner

1979
Best in the World - IFBB, Professional, 2nd
Canada Diamond Pro Cup - IFBB, Winner
Canada Pro Cup - IFBB, Did not place
Florida Pro Invitational - IFBB, 6th 
Grand Prix Pennsylvania - IFBB, 2nd 
Grand Prix Vancouver - IFBB, Winner
Olympia - IFBB, HeavyWeight, 4th 
Pittsburgh Pro Invitational - IFBB, 4th 
Universe - Pro - IFBB, Winner 
World Pro Championships - IFBB, Winner  

1980 
Grand Prix Pennsylvania - IFBB, 3rd
Night of Champions - IFBB, 3rd
Olympia - IFBB, 7th 
Pittsburgh Pro Invitational - IFBB, 3rd 

1981  
Grand Prix California - IFBB, 2nd 
Grand Prix Louisiana - IFBB, 3rd
Grand Prix Washington - IFBB, 2nd
Olympia - IFBB, 4th

1982
World Pro Championships - IFBB, 5th

1984
Olympia - IFBB, 5th 

1987 
Grand Prix Germany (2) - IFBB, 7th
Night of Champions - IFBB, Did not place 
World Pro Championships - IFBB, 12th 

- END -

Saturday, July 18, 2020

การใช้สเตอรอยด์ ของ Nasser El Sonbaty




ถาม : ได้อ่านประวัติของ นัสเซอร์ เอล ซันบาตี ( Nasser El Sonbaty ) จากเวบเพาะกายแล้ว เห็นเขาพูดว่าเขาใช้สเตอรอยด์ด้วย อยากทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ


bodybuilding-pics.com

ตอบ : สำหรับประวัติของ นัสเซอร์ เอล ซันบาตี ( Nasser El Sonbaty ) ในลิงก์  http://www.tuvayanon.net/N-nm9-001001A-590117-2029.html  ตอนที่ด้านท้ายๆประวัติ เขาพูดถึงการที่ตัวเขาเองใช้สเตอรอยด์เอาไว้ ซึ่งผู้ที่อ่านทั่วไปก็จะเข้าใจผิดคิดไปว่า เขาจะใช้สเตอรอย์ตั้งแต่ต้นอาชีพ จนถึงช่วงปลายอาชีพ ( ก่อนเสียชีวิต ) เลยหรือ? ซึ่งนั่นก็หมายความว่า รายการประกวดที่ผ่านมา ในรายการใหญ่ๆอันได้แก่รายการมิสเตอร์โอลิมเปีย รายการอาร์โนลด์คลาสสิค เขาก็ใช้สเตอรอยด์ด้วยหรือ?

       ให้เพื่อนสมาชิกลองดูประวัติการแข่งขันของเขาควบคู่ไปด้วยนะครับ ( อยู่ในหน้าเวบเดียวกันนั่นแหละ ) การที่ นัสเซอร์ เสียชีวิตเพราะการใช้สเตอรอยด์นั้น เขามาเสียชีวิตในปี ค.ศ.2013 แล้ว โดยที่ปีที่เสียชีวิตนั้น "ห่าง" จากปีที่เขาประกวดรายการมิสเตอร์โอลิมเปีย และ รายการอาร์โนลด์คลาสสิคครั้งสุดท้าย ตั้ง "11 ปี" ( Nasser ประกวดรายการมิสเตอร์โอลิมเปีย และ รายการอาร์โนลด์คลาสิสค ปีสุดท้ายคือ ค.ศ.2002 )

       ดังนั้น ไม่ใช่ว่า นัสเซอร์ จะใช้สเตอรอยด์แต่แรกหรอกนะครับ เพื่อนสมาชิกอย่าไปเข้าใจอย่างนั้น / ตอนที่ นัสเซอร์ มีรูปร่างที่ดีสมัยประกวดในรายการมิสเตอร์โอลิมเปีย และ รายการอาร์โนลด์คลาสสิค มันมาด้วยการฝึกฝนอย่างหนัก และมีระเบียบวินัย

       ส่วนที่เขามาพูดว่าเขาใช้สเตอรอยด์นั้น ก็หมายถึงการใช้ในช่วงหลังๆแล้ว ( และเป็นสาเหตุให้เขาเสียชีวิต )

       เออ ว่า ถ้าสมมติว่า เขาประกวดรายการมิสเตอร์โอลิมเปีย และ รายการอาร์โนลด์ คลาสสิค ปีสุดท้ายคือ ค.ศ.2002 แล้วมาเสียชีวิตในปีถัดมาเลยคือ ค.ศ.2003 มันยังพอฟังได้ว่าเขาใช้สเตอรอยด์ตอนที่ประกวดรายการมิสเตอร์โอลิมเปีย และ รายการอาร์โนลด์ คลาสสิค ก่อนหน้านี้จริง ( เพราะห่างจากปีที่ประกวดรายการมิสเตอร์โอลิมเปีย และ รายการอาร์โนลด์คลาสสิค แค่ปีเดียวแล้วเสียชีวิตเลย )

       แต่นี่ เขาเสียชิวิต หลังจากเกษียณจากการประกวดไปแล้วตั้ง 11 ปี ดังนั้น เพื่อนสมาชิกอย่าไปเหมารวมว่า ตอนที่เขาประกวดปี ค.ศ.2002 ( คือ 11 ปีก่อนหน้านี้ ) เขาจะใช้สเตอรอยด์นะครับ


       ในรายการประกวดเพาะกายต่างๆทั่วโลก มันมีทั้งที่เข้มงวด และไม่เข้มงวดกับการตรวจหาสารสเตอรอยด์นะครับ เวทีที่ไม่เข้มงวดในเรื่องการตรวจสเตอรอยด์ เขาก็มีเหตุผลว่า จะได้มีผู้เข้าประกวดตัวใหญ่ๆ ( เพราะใช้สเตอรอยด์ ) ขึ้นไปประกวดบนเวทีของเขา ทำให้รายการแข่งขันนั้น ดูน่าตื่นตาตื่นใจ  /  แต่ผู้จัดเวทีประกวดใหญ่ๆ เขาจะคิดต่างออกไป

       เวทีประกวดใหญ่ๆ เช่น รายการประกวดมิสเตอร์โอลิมเปีย และรายการประกวดอาร์โนลด์คลาสสิค เขาจะห่วงเรื่องชื่อเสียงของเขา มากกว่าการที่จะให้มีนักเพาะกายตัวใหญ่ๆ ( เพราะใช้สเตอรอยด์ ) ขึ้นประกวด  /  คือหมายความว่า ถ้ามีข่าวแพร่สะพัดออกไปว่า รายการประกวดใหญ่ๆ มีคนใช้สเตอรอยด์ แล้วผ่านการตรวจ แล้วไปได้ตำแหน่งดีๆ แต่ต่อมาภายหลัง มีคนไปตรวจพบว่าเขาใช้สารสเตอรอยด์ตอนที่ประกวด  /  อย่างนั้น ก็จะทำให้เวทีประกวดใหญ่ๆนั้น เสียความเชื่อมั่น เสียมาตรฐาน ,เสียชื่อเสียงไปเป็นอย่างมาก

       ด้วยเหตุนี้ ( คือกลัวเสียชื่อเสียงในภายหลัง ) รายการประกวดใหญ่ๆ จึงมีความเข้มงวดในการตรวจสเตอรอยด์เป็นอย่างมาก

       ซึ่งไม่เพียงแต่วงการเพาะกายเท่านั้น วงการอื่นๆ เช่นวงการกีฬาปั่นจักรยาน เขาก็มีความเข้มงวดในการตรวจสเตอรอยด์ด้วยเช่นกัน ดูได้จากกรณีของ Lance Armstrong ( เอาชื่อนี้ไปค้นหาที่กูเกิ้ลดูนะครับ ) ที่ถูกผู้จัดรายการออกมาประกาศว่าตรวจพบสารกระตุ้นในร่างกายเขา ในตอนแข่งขันด้วย ซึ่งการประกาศออกมาอย่างนี้ ถือว่าเป็นการ "ไม่เกรงใจ" ความเป็นแชมป์โลก 7 สมัยของเขาเลย ( ซึ่งการกระทำนี้ของผู้จัดรายการ ถือเป็นเรื่องที่น่านับถือนะครับ เพราะมันถูกต้องแล้ว ที่จะต้องประจานกันให้รู้ไปทั่ว )

       ผลของการประกาศว่า Lance Armstrong ใช้สเตอรอยด์ ก็เลยทำให้ Lance Armstrong อดีตแชมป์โลก 7 สมัย ต้องเสียชื่อเสียงป่นปี้ ทั้งๆที่มีประวัติดี มีชื่อเสียงโด่งดังมาตลอด เขาถูกปลดออกจากความสำเร็จทั้งหมดของเขา ย้อนหลังไปตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี ค.ศ.1998 โน่นเลยนะครับ ( อ่านรายละเอียดได้ที่ wikipedia นะครับ )

       ย้อนกลับมาที่วงการเพาะกายกันต่อครับ "ไม่มีสปอนเซอร์" ( หมายถึงที่ต่างประเทศ ) รายไหนที่จะสนับสนุนนักเพาะกายที่ใช้สเตอรอยด์หรอกครับ ถ้าบริษัทที่เป็นสปอนเซอร์ เขารู้เมื่อไรว่านักเพาะกายคนนั้นใช้สเตอรอยด์ เขาก็จะพากันแบนทันที  /  เหตุผลก็เพราะว่า สปอนเซอร์ เขาอุตส่าห์ทุ่มเม็ดเงินเพื่อใช้ในการ "ปั้น" นักเพาะกายคนนนั้นขึ้นมา แล้วถ้านักเพาะกายผู้นั้น ต้องมาถูกประจานในภายหลังว่าใช้สเตอรอยด์ มันก็จะเหมือนกับกรณีของ Lance Armstrong ที่ต้องเสียชื่อเสียงทั้งหมดที่ทำมา ซึ่งนั่นก็หมายถึงการที่สปอนเซอร์ ทุ่มเม็ดเงินเพื่อการ "ปั้น" ก็จะสูญเปล่าไปด้วยเช่นกัน  /  ดังนั้นจึงไม่มีสปอนเซอร์ ( ของต่างประเทศ ) รายไหน ที่เขาจะไปยุ่งกับนักเพาะกายที่ใช้สเตอรอยด์

       ด้วยเหตุผลนี้ จึงไม่มีนักเพาะกายระดับซูเปอร์สตาร์คนไหนเขาใช้สเตอรอยด์กันหรอกครับ เพราะเขาก็ต้องกลัวว่าบริษัทสปอนเซอร์จะแบนเขา  /  ก็จะมีแต่พวกขายสเตอรอยด์นั่นแหละ ที่ปั้นเรื่องขึ้นมาว่า คนโน้นก็ใช้สเตอรอยด์ คนนี้ก็ใช้สเตอรอยด์ เพื่อที่ตัวเองจะได้ขายสเตอรอยด์ได้ เท่านั้นเอง

       ณ.ตอนนี้ คุณก็คงจะมองเห็นภาพแล้วนะครับว่า เวทีประกวดใหญ่ๆ อย่าง รายการมิสเตอร์โอลิมเปีย และ รายการอาร์โนลด์คลาสิสค พวกนี้ เขาจะมีระบบการตรวจสเตอรอยด์ที่เข้มงวดมาก ด้วยเหตุผลข้างต้น ( คือกลัวเสียชื่อเสียง )

       อีกประเด็นหนึ่งคือ มันมีธรรมชาติของการใช้สเตอรอยด์อยู่อีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าเป็นคนที่เคยใช้สเตอรอยด์มาก่อน แม้จะ "หยุดใช้มาหลายปี" มันก็จะทำให้กล้ามเนื้อสวยๆของเขา เกิดอาการชะงัก ,หดตัว ( เพราะเคยได้รับสารกระตุ้น แล้วต่อมาไม่ได้รับ ) ดังนั้น เวลาขึ้นประกวดรายการใหญ่ๆ ถึงแม้ว่าจะตรวจไม่พบสารสเตอรอยด์ ( เพราะหยุดใช้มาหลายปีแล้ว ) แต่ก็ได้อันดับไม่ดี เพราะกล้ามไม่สวย ( อันเนื่องมาจาก การชะงัก ,หดตัวของกล้ามเนื้อ )

       ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่ผมพูดมานี้ ผมถึงบอกเพื่อนสมาชิกเสมอว่า ถ้าจะดูวิธีฝึก วิธีทานอาหาร ของนักเพาะกายคนไหน ขอให้ดูเฉพาะ "ช่วง" ที่เขาลงแข่งรายการใหญ่ๆ เช่น รายการมิสเตอร์โอลิมเปีย และ รายการอาร์โนลด์คลาสสิค ไม่ใช่ไปดูตอนที่เกษียณแล้ว และถ้าจะให้ดี ก็ควรจะศึกษาจากคนที่ได้ตำแหน่งดีๆ เช่น "สิบคนแรก" ของการประกวดในรายการใหญ่ๆนั้นด้วย ( เพราะคนที่ได้ตำแหน่งไม่ดี อาจจะจัดอยู่ในพวกที่เคยใช้สเตอรอยด์มาก่อน แล้วเลิกใช้ไป ซึ่งแม้จะเลิกใช้ไปนานแล้ว กล้ามก็จะชะงัก ,หดตัว ทำให้กล้ามไม่สวย และได้ตำแหน่งที่ไม่ดี )

       พูดง่ายๆว่า คนที่กล้ามสวย และทำตัวเองให้อยู่ในสิบอันดับแรกของการประกวดใหญ่ๆ เช่นรายการประกวดมิสเคอร์โอลิมเปีย และรายการประกวดอาร์โนลด์คลาสสิค ได้นั้น คือผู้ที่ "ไม่เคยใช้สเตอรอยด์มาก่อน ทั้งในอดีต และปัจจุบัน" ( แต่อนาคตไม่รู้ ) ดังนั้น ถ้าจะศึกษาวิธีกิน วิธีฝึก ก็ควรจะศึกษาจากคนพวกนี้ ( คืออยู่สิบอันดับแรก ของรายการใหญ่ๆ ) จะได้ชัวร์ว่าไม่ถูกแหกตานั่นเอง ( แหกตาในที่นี้ หมายความว่า เห็นนักเพาะกายคนนั้น เขากล้ามสวย ก็เลยเอาเป็นแรงบันดาลใจ เอาเป็นครู แต่ความจริงนักเพาะกายผู้นั้น "กำลังใข้" สเตอรอยด์อยู่ - นี่แหละ ถึงเรียกว่าโดนแหกตา ครับ )

       ส่วนที่ว่านักเพาะกายผู้นั้น จะมาใช้สเตอรอยด์ตอนหลัง ( หมายถึงใช้สเตอรอยด์ตอนที่เกษียณจากการประกวดไปแล้ว ) ก็เป็นเรื่องส่วนตัวของเขาครับ เราคงไปห้ามไม่ได้ และมันก็พิสูจน์ไม่ได้แล้วว่าเขาใช้สเตอรอยด์หรือไม่ เพราะเขาก็ไม่พุดออกจากปากอยู่แล้ว อีกทั้ง มันก็ไม่มีผลการตรวจหาสเตอรอยด์จากรายการใหญ่ๆ มาการันตีให้


       มีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะเล่าให้ฟังครับ - จากประสบการณ์การศึกษาวงการเพาะกาย ผมพบว่า นักเพาะกายที่เกษียณไปแล้ว จะทำอยู่สองอย่างคือ

       นักเพาะกายที่เกษียณไปแล้ว "แบบที่ 1" - เอาประวัติที่ดีของตัวเอง มาทำให้เสียหาย ด้วย ความ "เพี้ยน" ,ความ "เบลอ" หรือ ความ "อยากได้เงิน"  /  ซึ่งผมจะอธิบายให้ฟังดังนี้

* * * นักเพาะกายที่เกษียณ แล้ว "เพี้ยน" ( ไม่ขอเอ่ยชื่อ ) เพราะไปเห็นว่า Lance Armstrong ไปให้สัมภาษณ์รายการนั้น รายการนี้ว่าตัวเองใช้สารกระตุ้น แล้วดังดี  /  ส่วนตัวเอง ในอดีต ( สมัยประกวด ) เคยมีแต่คนขอถ่ายรูป ขอทำข่าว แต่พอเกษียณแล้วก็ไม่มีใครสนใจ ก็อยากจะกลับมาดังแบบ Lance Armstrong บ้าง ก็เลยมาประกาศว่าตัวเองใช้สเตอรอยด์ตอนสมัยที่ประกวดอยู่  /  พวกนี้เข้าข่าย "เพี้ยน" นะครับ

       ในความเป็นจริง ถ้าคุณยังเป็นนักเพาะกายดังๆอยู่ ( หมายถึง ตอนที่ยังไม่เกษียณ ) แล้วอยากจะแฉจริงๆว่าวงการประกวดเพาะกายใช้สเตอรอยด์กัน และมีวิธีทำให้ตรวจไม่พบนั้น จริงๆแล้วมันไม่ยาก ก็แค่คุณมีไทม์ไลน์ให้คนอื่นดู แล้วถ่ายทอดสดแบบเรียลไทม์ ให้คนทั่วไปดูเลยว่า "คืนนี้" คุณฉีดสเตอรอยด์ เบอร์นั้น เบอร์นี้ แล้วพอวันรุ่งขึ้น คุณก็ขึ้นประกวดในรายการโอลิมเปียเลย แล้วก็ผ่านการตรวจปัสสาวะเฉยๆเลย

       ต้องอย่างนี้ มันถึงจะเชื่อได้ว่าวงการนี้ มันมีสเตอรอยด์เป็นพื้นฐานจริงๆ

       แต่ถ้าคุณทำไม่ได้อย่างนั้น ( ถ่ายทอดสด 1 วันก่อนการประกวด ว่าคุณใช้สเตอรอยด์ ) แล้วจะอาศัย "ความเพี้ยนของตัวเอง" มาพูดว่าวงการเพาะกายใช้สเตอรอยด์ อย่างนี้ มันฟังไม่ขึ้นหรอกครับ  /   อยากทำตัวเองให้ดัง อยากให้เป็นข่าว แต่ไม่มีพยานหลักฐานอะไรเลย บ้าหรือเปล่า? ( อ้อ.. แค่เพี้ยนเฉยๆ ยังไม่ถึงกับบ้า )


* * * นักเพาะกายที่เกษียณแล้ว และ "เบลอ" ( ไม่ขอเอ่ยชื่อ ) - บางคนก็เป็นเปลี่ยนอาชีพจากนักเพาะกายไปเป็นดาราแล้ว แล้วตัวเองก็ใช้สเตอรอยด์เพื่อให้กล้ามสวยในภาพยนตร์ที่ตัวเองแสดง

       เสร็จแล้ว พอเวลผ่านไปหลายปี ก็สับสนตัวเอง แล้วออกมาบอกให้คนอื่นฟังว่าตัวเองเคยใช้สเตอรอยด์สมัยประกวด  /  ความจริง มันเป็นการใช้สเตอรอยด์สมัยที่ตัวเองเป็นนักแสดงแล้ว ไม่ใช่สมัยที่ยังประกวดเพาะกายรายการดังๆอยู่  /   พวกนี้ เรียกว่า "เบลอ" ( อดีตนักเพาะกายแบบแรก "เพี้ยน" อันนี้ "เบลอ" ) ไม่มีหลักฐานสนับสนุนคำพูดของคน "เพื่้ยน" และ "เบลอ" พวกนี้แต่อย่างใด มีแต่คำพูดล้วนๆ มันไม่น่าเชื่อถือหรอกครับ

       ตราบใดที่คุณยังอยู่ในสังคมโซเชียลแบบนี้ คุณต้องทำใจกับเรือ่งกระแสข่าวต่างๆ ที่ออกมาในแง่ไม่ดีเกี่ยวกับวงการเพาะกายของเรา ต้องคิดเสมอว่า วงการเพาะกายของเรา "มีคนอิจฉาเยอะ" เพราะเราเป็นรูปแบบของกีฬา ที่นักกีฬามีรูปร่างดีกว่านักกีฬาวงการอื่นๆ ดังนั้น พอมี อดีตนักเพาะกาย "เพี้ยนๆ" หรือ "เบลอๆ" ออกมาพูดว่า สมัยเขาแข่งขันนั้น เขาใช้สเตอรอยด์ ก็เลยมีแต่พวก "ขี้อิจฉา" ออกมารีบตีข่าวให้แพร่สะพัด ทำนองว่า "เห็นไหมล่ะ ฉันว่าแล้ว" กันให้พรี่บพรั่บ  /  คนที่ "เพี้ยนๆ" และ "เบลอๆ" ก็เลยได้ดังสมใจ


* * * นักเพาะกายที่เกษียณแล้ว แต่เอาประวัติของตัวเองมาหากิน เพราะอยากได้เงิน - คนที่มีกล้ามต้นแขน 21 นิ้วคนแรกของโลก ( ไม่ขอเอ่ยชื่อ - เขาถูกประกาศในนิตยสาร Muscle Power Magazine เมื่อ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2496 ( ค.ศ. November ,1953 ) ว่าเป็นคนที่มีกล้ามต้นแขน 21.25 นิ้วคนแรกของโลก ) ปัจจุบันมีอายุมากแล้ว แกตั้งร้านขายอาหารเสริม และโฆษณาขายสเตอรอยด์อ่ย่างโจ๋งครึ่ม แล้วบอกว่า สมัยประเกวดเมื่อเกือบ 70 ปีที่แล้ว แขนแกใหญ่ 21 นิ้วเป็นคนแรกของโลก ก็ด้วยสเตอรอยด์ / แต่คุณลองคิดดูนะครับว่า ถ้าสมัยนั้น มันใช้สเตอรอยด์ได้จริง มันก็ต้องมีนักเพาะกายที่มีแขน 21 นิ้วออกมาเป็นร้อยคนแล้ว เพราะทุกคนก็หาซื้อสเตอรอยด์ได้หมด

       สิ่งที่เป็นความจริงก็คือ สมัยก่อน เขาสร้างกล้ามแขน 21 นิ้ว ได้ด้วยความอุตสาหะจริงๆ และคนๆนี้ ก็ได้การยอมรับอย่างเป็นทางการว่า มีต้นแขน 21 นิ้วมาจากการเพาะกาย เป็นคนแรกของโลกจริงๆ ซึ่งเขาก็คงจะภูมิโจกับชื่อเสียบอันนี้เป็นอันมาก

       แต่ต่อมา พอแก่ตัวลง ไม่มีลูกหลานเลี้ยง ก็เลยขายสเตอรอยด์เสียเลย เพราะกำไรดี แล้วก็เอา "ความภาคภูมิใจในอดีต" ของตัวเองมาเป็นจุดขายสเตอรอยด์เสียอย่างนั้น ด้วยความอยากได้เงิน ทั้งๆที่มันไม่จริง และเป็นการทำให้วงการเพาะกายเสื่อมเสีย แต่ก็อย่างว่าล่ะ คนมันต้องใช้เงินในการซื้ออาหารกิน ชื่อเสียง ความยอมรับนับถือ มันกินไม่ได้ นี่นา


        นักเพาะกายที่เกษียณไปแล้ว "แบบที่ 2" - คือคนที่เอาประวัติการแข่งขันขอบตัวเอง ไปใช้ในการ "สร้างกำลังใจ" ให้ผู้อื่น พวกนี้น่านับถือมาก ให้คุณไปดูตัวอย่างได้ที่ คุณ ลี เฮนีย์ ที่ลิงก์  http://www.tuvayanon.net/L-nm9-001001A-570604-2134.html

       จะเห็นได้ว่า ลี เฮนีย์ มีประวัติการแข่งขันที่ดีเหมือนๆกับนักเพาะกายที่เกษียณไปแล้ว แบบที่ 1 ( พวกนักเพาะกายที่เกษียณไปแล้ว แบบที่ 1 ที่ผมพูดไว้ คือพวกที่ เพี้ยน ,เบลอ และพวกที่อยากได้เงิน ) แต่ความแตกต่างกันก็คือ ลี เฮนีย์ เอาสิ่งนั้น ( ผลการแข่งขันที่ดี ) มาการันตีตัวเอง ให้น่าเชื่อถือ  /  แล้วนำความน่าเชื่อถือนั้น ไปสร้างกำลังใจ สร้างความเชื่อมั่นให้คนอื่น - นี่สิครับ ถืงจะทำให้วงการเพาะกายของเราเจริญ


       คุณต้องมั่นใจในกีฬาเพาะกายของเรา ผมเป็นตำรวจ เวลาจะฟังอะไรแล้ว ต้องอิงจากหลักฐาน และความที่ผมเป็นคนนิสัยอย่างนี้ ( คืออิงหลักฐาน ) กีฬานี้ ก็ยังทำให้ผมเชื่อมั่นมาได้ถึง 36 ปี

       ถ้าผมระแคะระคายว่า กีฬาเพาะกายนี้ มันต้องอิงการใช้สเตอรอยด์จริงๆ ผมคงเลิกศึกษาไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้หลายสิบปีแล้วล่ะครับ เพราะมันเป็นเสียเวลาสำหรับผม เอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า ดีกว่ามาโดนแหกตาอยู่อย่างนี้

       แต่สิ่งที่ทำให้ผมเชื่อมั่นในวงการเพาะกายมาได้ถึง 36 ปีแบบนี้ ก็เพราะ คนที่ไม่ได้ใช้สเตอรอยด์แล้วฝึก แล้วได้ผลดีนั้น มันมีอยู่จริงๆ ส่วนใครจะใช้สเตอรอยด์ก็ใช้ไป แต่ผม และเพื่อนสมาชิกที่เชื่อมั่นในตัวผม เชื่อมั่นในวงการเพาะกาย เขาไม่สั่นคลอนหรอกครับ พวกเรามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมอยู่แล้ว เพราะเรามีเหตุผล และวิเคราะห์ได้เองว่า อันไหนแหกตา อันไหนไม่แหกตา คุณอย่ามาพูดว่า ในการเพาะกายสำหรับการประกวด ต้องใช้สเตอรอยด์เท่านั้น เพื่อหวังการขายสเตอรอยด์ให้บุคคลอื่นอยู่เลยครับ แม้ว่ามันจะทำกำไรดีให้คุณ แต่มันทำให้วงการเพาะกายเสื่อมเสียไปเปล่าๆ

       คุณต้องมองตามความเป็นจริงว่า นักเพาะกายที่เกษียณแล้ว "มีตั้งกี่พันคน" จะให้คำพูดของนักเพาะกายเกษียณแล้วแค่ "4 คน" ( คือคนที่ "เพี้ยนๆ" ,คนที่ "เบลอๆ" และคนที่เอาประวัติตัวเองมาขายสเตอรอยด์ ) ทำให้คุณขาดความเชื่อมั่นในวงการเพาะกายได้เชียวหรือ? ( ถ้าอยากรู้ว่า "4 คน" นี้มีใครบ้าง ผมใส่ไว้ที่ Comment ด้านล่างแล้วครับ )

       ถ้าพวกที่ขายสเตอรอยด์ บอกว่า ระดับแข่งขัน ( หมายถึงรายการใหญ่ๆ ) เขาใช้สเตอรอยด์กันทั้งนั้น ทำไมคุณไม่ใช้สเตอรอยด์ แล้วขึ้นไปเอาตำแหน่งดีๆ ในรายการประกวดใหญ่ๆ อย่างมิสเตอร์โอลิมเปีย และ อาร์โนลด์ คลาสสิค มาให้ผมดูหน่อยล่ะครับ มันติดขัดตรงไหนหรือ? ก็พูดเองไม่ใช่หรือว่า วงการนี้ ใช้สเตอรอยด์กันทั้งนั้น

       ผมไม่ได้บอกว่า ใช้สเตอรอยด์แล้วกล้ามไม่ใหญ่นะครับ มันก็ใหญ่นั่นแหละ แต่มันจะตามมาด้วยมะเร็งในเม์ดเลือดขาว ตับโต ฯลฯ มันไม่คุ้ม เมื่อเอาความใหญ่ของกล้ามเนื้อไปแลกกับชีวิตที่สั้นลง

       คุณทำให้ถูกต้อง ตรงๆ ไม่ต้องใช้สเตอรอยด์ก็กล้ามใหญ่ได้เหมือนกัน เหมือนกับพวกนักเพาะกายตัวใหญ่ๆในรายการดังๆเช่น โอลิมเปีย และอาร์โนลด์ คลาสสิค

       หรือถ้าคุณไม่ได้เข้าโหมดการแข่งขัน จะเพาะกายเพื่อสุขภาพและบุคลิคตัวเองก็ได้ เพราะคนที่ได้รับประโยชน์จากการเพาะกาย มันไม่ใช่เฉพาะคนที่ต้องประกวดเท่านั้นหรอกครับ มันใช้ได้ทั้ง ...

* * * คนป่วย - ที่ต้องการฟื้นตัวเอง

* * * คนอายุมาก - ที่วิ่งไม่ไหว เล่นกีฬาอื่นไม่ไหว

* * * คนที่ยังไม่ป่วย และอายุยังไม่มาก "แต่" ทำตัวให้ห้พร้อมสำหรับการรับสภาพนั้น คือเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า สำหรับการป่วย และการมีอายุมาก ด้วยการออกกำลังเอาไว้ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงตลอดเวลา

* * * เจ้านายที่ต้องการมีบุคคลิดี - ทำให้ลูกน้องเชื่อมั่น / ไม่ใช่เจ้านายที่พุงป่อง แล้วลูกน้องก็มา "นินทาลับหลัง" ว่า ขนาดร่างกายของตัวเอง ยังไม่ดูแลเลย แล้วจะมาสั่งอย่างโน้นอย่างนี้

* * * หนุ่มๆที่อยากใหสาวเหลียวมอง ไม่ใช่ สาวๆ "มองข้ามหัว" ไปเลย ไม่สนใจ

* * * เด็กรูปร่างกุ้งแห้ง ขี้โรค ที่ถูกเพื่อนแกล้งบ่อยๆ


       กีฬาเพาะกาย เป็นกีฬาที่ "ไม่เยอะเกินไป" เหมือนกีฬาอื่น ( เช่น ฟิตเนส ) เพราะไม่จำเป็นต้องควบคุมอาหารการกินไปเสียทุกอย่าง คนเราทำงานเหนือยมา มันก็ต้องกินของดีๆ ของอร่อยๆ ไม่ใช่กินแต่อาการที่จืดชืด และอย่างที่คุณลี ฮาเน่ พูดไว้เป็นประโยคเด็ดว่า คนเรา ฝึกอย่างม้า จะให้กินอย่างนก ได้อย่างไร? ( หมายถึงฝึกหนัก แต่กินน้อย - ซึ่งมันผิด )

       นอกาจากกีฬาเพาะกายจะ "ไม่เยอะเกินไปแล้ว" ก็ยัง "ไม่หย่อนเกินไป" คือ ไม่ถึงกับอนุญาตให้ตัวเอง กินเหล้า กินเบียร์ได้

       กีฬาเพาะกาย มีความพอดีๆ อยู่ตรงกลาง ในเมื่อนักเพาะกายสมัยก่อน สมัย 50 ปีที่แล้ว เช่น แฟรงค์ เซน ,อาร์โนลด์ ชวาลเซเนกเกอร์ เขายังทำกล้ามตัวเองให้สวยได้ โดยที่เน้นเรืองการฝึก และความมีวินัยอย่างเดียว "ไม่เยอะเกินไป" เหมือนนักเพาะกายสมัยนี้ ที่ต้องกินแบบนั้น แบบนี้ ต้องปั่นจักรยานวันละเยอะๆ อะไรแบบนั้น  /  ดังนั้น คุณก็ต้องทำแบบคุณ แฟรงค์ เซน ,อาร์โนลด์ ชวาลเซเนกเกอร์ ได้เช่นกัน เพราะมันไม่ยากเกินไปสำหรับเรา ในการทำตามวิทยาการเมื่อ 50 ปีที่แล้ว

       การฝึกแบบนักเพาะกายเมื่อ 50 ปีก่อน ที่ "ไม่เยอะเกินไป" จะทำให้คุณมีเวลาเหลือในชีวิต มากพอที่จะไปทำอย่างอื่นได้ และมีความสุขกับชีวิตได้ ไม่ใช่ทุ่มเวลาทั้งหมดไปกับโรงยิม และการกินอาหารแบบเคร่งครัด ซึ่งสักวัน ก็จะทำให้คุณเบื่อ ไม่ช้าก็เร็ว เชื่อผมเถอะ


- END -