Saturday, October 24, 2020

Hadi Choopan

 

Hadi Choopan

ฮาดี ชูแปน


ชื่อภาษาต่างประเทศ : Hadi Choopan  

ชื่อภาษาไทย : ฮาดี  ชูแปน   

นามแฝง หรือ ฉายา : หมาป่าแห่งอิหร่าน ( Iranian Wolf ) 

วันเดือนปีที่เกิด : 26 กันยายน พ.ศ.2530  /  Sebtember 26, 1987

สถานที่เกิด : Abnow , Sepidan County , Fars Province , Iran อิหร่าน 

ที่อยู่ปัจจุบัน : Shiraz , Iran 


ความสูง : 169 เซนติเมตร  /  5 ฟุต 7 นิ้ว

น้ำหนัก : 90-100 กก. ( 200 - 220 ปอนด์ ) 


1  >  2  >  3  


Monday, October 19, 2020

Evan Centopani - หน้า 2 -

 

Evan Centopani



ชื่อภาษาต่างประเทศ : Evan Centopani   อีกชื่อหนึ่ง คือ : Evan Michael Centopani 

ชื่อภาษาไทย : อีวาน  เซนโตปานี  

นามแฝง หรือ ฉายา : the Ox  

วันเดือนปีที่เกิด : 7 เมษายน 2525  /  April 7, 1982 

สถานที่เกิด : Bridgeport , Connecticut , United States 


ความสูง : 182 เซนติเมตร  /  5 ฟุต 11.7 นิ้ว

น้ำหนัก : ช่วงฤดูการแข่งขัน 120 กก. ( 260 ปอนด์ )  /  ช่วงนอกฤดูการแข่งขัน 136 กก. ( 300 ปอนด์ )


ได้ใบรับรองเป็นนักเพาะกายอาชีพ : จากการประกวดในรายการ  2007 NPC National Bodybuilding & Fitness Championships  ( ขณะที่อายุ 25 ปี )


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ประวัติโดยสังเขป :  

       อีวาน  มีปัญหาน้ำหนักเกินในวัยเด็กจากการรับประทานขนมและอาหารแปรรูป เมื่ออายุ 12 ปีเขามีน้ำหนักถึง 99 กิโลกรัม เมื่อเขาอายุ 15 ปีเขาต้องการมีรูปร่างที่ดีขึ้นจึงเริ่มออกกำลังกานในยิมและศึกษาความรู้จากเพื่อนๆและหนังสือ เขาคำนึงถึงผลของอาหารต่อร่างกาย และปรับแผนการทานใหม่

       ปี พ.ศ. 2548 เขาเข้าแข่งขันรายการแรกโดยไม่ได้หวังว่าจะติดอันดับ แต่ผลปรากฏว่าเขาได้แชมป์ heavyweight และ overall รายการ 2005 amateur Bev Francis Atlantic States tournament

       เขาได้ใบประกาศเป็นนักเพาะกายอาชีพ ปี 2007 หลังชนะรายการ NPC National Bodybuilding & Fitness Championships


โภชนาการ 

       เขาจะเตรียมอาหารล่วงหน้า 1 วันก่อนรับประทานอาหารโดยเก็บไว้ในภาชนะแต่ละใบในตู้เย็น ด้วยการทำเช่นนี้ทำให้เขาสามารถหลีกเลี่ยงความยุ่งยากในการเตรียมอาหารหลังกลับจากการออกกำลังกาย

       ในช่วงนอกฤดูกาลแข่งขัน Evan ชอบทดลองรับประทานอาหารใหม่ๆ และเขาเปิดโอกาสรับแคลอรี่สูงๆได้ ทำให้เขามีความสนุกในช่วงเพิ่มน้ำหนัก เขาปรุงอาหารเช่น ไก่ย่างกับราพินีกระเทียม มันฝรั่งต้มโรสแมรี่ พาสต้ากับมีทบอล และสเต็ก

       การรับประทานอาหารเพื่อการแข่งขันของ อีวาน นั้นเข้มงวดกว่ามาก เขาจะรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและควบคุมการทานคาร์โบไฮเดรต โดยเขาชอบกินไข่เป็นจำนวนมากเป็นอาหารเช้าจากนั้นก็รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่นไก่และสเต็กไม่ติดมัน


ตัวอย่างอาหารในช่วงแข่งขันของ อีวาน 

มื้อที่ 1 : ไข่ทั้งฟอง 6 ฟอง

มื้อที่ 2 : ไก่ 8 oz, แมคคาเดเมีย 1/3 ถ้วย

มื้อที่ 3 : Isolateเวย์ 50g, peanut butter 2 ช้อนโต๊ะ 

มื้อที่ 4 : ไก่ 8 oz, แมคคาเดเมีย 1/3 ถ้วย

มื้อที่ 5 : สเต็ก 8 oz, บล็อคโครี่ 2 ถ้วย, น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ 

มื้อที่ 6 : Isolateเวย์ 50 g, peanut butter 2 ช้อนโต๊ะ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

รายการประกวดที่ผ่านมา :

พ.ศ. 2548  /  ค.ศ.2005 Bev Francis Atlantic States tournament, 1st and overall

พ.ศ. 2549  /  ค.ศ.2006 NPC Junior Championships, 1st and overall

พ.ศ. 2550  /  ค.ศ.2007 NPC National Bodybuilding & Fitness Championships, 1st and overall

พ.ศ. 2552  /  ค.ศ.2009 New York Pro, 1st

พ.ศ. 2554  /  ค.ศ.2011 Flex Pro, 1st
พ.ศ. 2554  /  2011 IFBB Los Angeles Pro competition, 1st
พ.ศ. 2554  /  2011 Arnold Classic, 4th

พ.ศ.2555  /  ค.ศ.2012 Arnold Classic, 3rd
พ.ศ.2555  /  2012 Mr. Olympia, 8th

พ.ศ. 2556  /  ค.ศ.2013 IFBB Tampa Pro, 1st
พ.ศ. 2556  /  2013 Mr. Olympia, 13th

พ.ศ.2557  /  ค.ศ.2014 Arnold Classic, 5th
พ.ศ.2557  /  2014 IFBB Australia Pro Grand Prix, 1st

- END - 


Saturday, October 10, 2020

Baitollah Abbaspour - หน้า 2 -

 

Baitollah Abbaspour



ชื่อภาษาต่างประเทศ : Baitollah Abbaspour 

ชื่อภาษาไทย : ไบโตลา  แอบบาสเพอ   

นามแฝง หรือ ฉายา : Baito 

วันเดือนปีที่เกิด : 10  มีนาคม พ.ศ.2523  /  March 10, 1980

สถานที่เกิด : Tehran, ประเทศอิหร่าน  

ที่อยู่ปัจจุบัน : Mahdast, Karaj, ประเทศอิหร่าน  


ความสูง : 165 เซนติเมตร  /  5 ฟุต 5 นิ้ว

น้ำหนัก : ช่วงฤดูการแข่งขัน 95 กก. ( 209 ปอนด์ )  /  ช่วงนอกฤดูการแข่งขัน 105 กก. ( 231 ปอนด์ )


ได้ใบรับรองเป็นนักเพาะกายอาชีพ : จากการประกวดในรายการ  2003 World Bodybuilding Championships in India ( ขณะที่อายุ 33 ปี ) 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ประวัติโดยสังเขป :  

       Baito เริ่มเล่นฟุตบอลในวัยหนุ่ม จากนั้นก็เปลี่ยนความสนใจมาเป็นการเล่นกล้ามแทน

       เขาเริ่มเล่นกล้ามครั้งแรกในปี ค.ศ.1996 ในตอนที่อายุ 26 ปี โดยมีผู้ฝึกคือพี่ชายของเขาเอง  /  และหลังการฝึกเพียงแค่ปีเดียว ในปีรุ่งขึ้น ( หลังจากเริ่มฝึก ) เขาก็จะเป็นแชมป์อันดับ 1 ในรายการ Karaj Championship

       เขาขึ้นประกวดเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ใบประกาศนักเพาะกายอาชีพในปี ค.ศ.2003 ในขณะที่เขาอายุ 33 ปี

       รายการประกวดที่สำคํญก็ได้แก่ IFBB World Amateur Championships and Asian Amateur Championships ,รายการ 2013 the IFBB Nordic Pro ( Finland ) , และ 2 ครั้งในรายการประกวดมิสเตอร์โอลิมเปีย ปี ค.ศ.2012 และปี ค.ศ.2013

       Baito ให้ความสำคัญกับ 2 อย่างในชีวิต นั่นคือเรื่องครอบครัว และเรื่องการเล่นกล้าม

       เขาทำธุรกิจเปิดยิม และเป็นผู้ฝึกส่วนตัวให้กับลูกค้า ทุกอย่างไปด้วยดี เพราะเขาได้เล่นกล้ามที่เขารักไปพร้อมกับการทำธุรกิจหาเงินเข้าครอบครัวด้วย 

       นอกจากนี้ เขายังมีปริญญาตรีสาขากฏหมายอีกด้วย พูดได้ว่าชีวิตของเขาสมบูรณ์แบบแล้ว ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่านี้อีกแล้ว 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

รายการประกวดที่ผ่านมา : ( นับถึงปี พ.ศ.  ( ค.ศ.  ) )

1997 – Karaj Championships

2003 – IFBB World Amateur Championships (WW)

2007 – IFBB Asian Amateur Championships (L-MW)

2008 – IFBB Asian Amateur Championships (MW)
2008 – IFBB World Amateur Championships (L-MW)

2013 – IFBB Nordic Pro Championships


- END -



Thursday, October 1, 2020

Shawn Rhoden - หน้า 2 -

 

Shawn Rhoden



ชื่อภาษาต่างประเทศ : Shawn Rhoden    

ชื่อภาษาไทย : ชอว์น โรเดน  

นามแฝง หรือ ฉายา : Flexatron 

วันเดือนปีที่เกิด : 2 เมษายน พ.ศ.2518  /  April 2, 1975

สถานที่เกิด : Kingston ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจาไมกา  

ที่อยู่ปัจจุบัน : Marryland , สหรัฐอเมริกา  


ความสูง : 178 เซนติเมตร  /  5 ฟุต 10 นิ้ว

น้ำหนัก : ช่วงฤดูการแข่งขัน 109 กก. ( 240 ปอนด์ )  /  ช่วงนอกฤดูการแข่งขัน 118 กก. ( 260 ปอนด์ )


ข้อมูลที่น่าสนใจ : เขาเป็นมิสเตอร์โอลิมเปียที่อายุมากที่สุดในประวัตศาสตร์ คือ เป็นมิสเตอร์โอลิมเปีย ค.ศ.2018 ขณะที่อายุ 43 ปี 5 เดือน  


ได้ใบรับรองเป็นนักเพาะกายอาชีพ : จากการประกวดในรายการของ IFBB 2010  ( ขณะที่อายุ 35 ปี )


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ประวัติโดยสังเขป :  

       ตอนต้นของช่วงวัยรุ่น โรเดน เป็นนักกีฬาฟุตบอลที่มีอนาคตไกล แต่ในที่สุด หลังจากมีแรงบันดาลใจจากการได้พบปะกับนักเพาะกายรุ่นเก๋า อดีตมิสเตอร์ยูนิเวอร์ส ชื่อ Yohnnie Shambourger ชอว์น ก็เริ่มเพาะกายตอนอายุ 17 ปี ( คือเริ่มเพาะกายเมื่อ ค.ศ.1992 )

       ด้วยหลักการสร้างกล้ามเนื้อของนักเพาะกายรุ่นเก๋านั้น ( เพิ่มปริมาณเนื้อก่อน แล้วมาสกัดเอารูปทรงทีหลัง ) ทำให้ชอว์น เพิ่มน้ำหนักจาก 70 กก. ( 155 ปอนด์ ) ไปเป็นนักเพาะกายรุ่นน้ำหนักสูงขึ้น และหลังจากตัดเอาส่วนเกิน ( ไขมัน ฯลฯ ) ออกแล้ว จึงเหลือมัดกล้ามล้วนๆอยู่กับตัวของชอร์นในน้ำหนัก 118 กก. ( 260 ปอนด์ ) 

       ขณะที่ชีวิตนักเพาะกายของชอว์น กำลังไปด้วยดีอยู่นั้น ก็มีเหตุให้เขาต้องออกจากวงการไปช่วงหนึ่ง เนื่องจากเขาได้ประสบอุบัติเหตุทำให้เส้นเอ็น 9 เส้นที่มือขวาของเขาขาดออกทั้งหมด ซึ่งชอว์นพูดให้ฟังเกี่ยวกับช่วงเหตุการณ์เลวร้ายนี้ว่า เขาไม่สามารถแม้แต่จะเขียนหนังสือ ,ใช้ฆ้อน ,เล่นเปียโน หรือยกลูกน้ำหนักใดๆได้เลย  /  แต่หลังจาก 14 เดือนนับจากอาการบาดเจ็บ ก็ปรากฏว่าเขาสามารถชนะรายการประกวด Natural Eastern Classic in Newjersey ได้

       และเหตุการณ์แย่ๆอีกเหตุการณ์หนึ่ง ก็คือเมื่อปี ค.ศ.2002 ขณะอายุ 27 ปี ชอว์นเตรียมตัวจะขึ้นประกวดในรายการระดับชาติ ปรากฏว่าพ่อของชอว์น มีอาการป่วยหนักจากโรคมะเร็ง ทำให้ชอว์นต้องออกจากวงการอีกครั้งเพื่อไปดูแลรักษาพ่อ โดยเขาไปเฝ้าอาการของพ่อเขาทุกวัน จนท้ายที่สุดพ่อของเขาก็จากไป ซึ่งส่งผลให้กับชอว์นต้องเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เพราะพ่อของชอว์นสนับสนุนทุกเรื่องที่ชอว์นทำ ซึ่งนั่นทำให้สองพ่อลูกคู่นี้มีความผูกพันกันเป็นอันมาก 

       ชอว์น ได้เป็นนักเพาะกายอาชีพ เมื่ออายุ 34 ปี ด้วยการชนะรายการประกวดของ IFBB ในปี 2009 จากนั้น เขาได้เอาใบรับรองการเป็นนักเพาะกายอาชีพนั้น ไปเข้าประกวดในรายการ Europa Supershow ซึ่งชอร์นได้เพียงอันดับที่ 16  /  ความพ่ายแพ้ครั้งนั้น ชอร์นนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการเพิ่มพลังการฝึกของเขา และในปีถัดมา เขาก็ก้าวขึ้นที่ 3 ในรายการเดิมได้สำเร็จ


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

รายการประกวดที่ผ่านมา :

* * * ช่วงเป็นนักเพาะกายอาชีพ ( ข้างล่างนี้ )

2018 Mr. Olympia - 1st 

2017 Mr. Olympia - 5th

2016 Mr. Olympia - 2nd
2016 Kuwait Pro Men's Bodybuilding - 3rd place

2015 EVL's Prague Pro - 3rd
2015 Mr. Olympia - 3rd

2014 IFBB San Marino Pro - 1st
2014 EVL's Prague Pro - 3rd
2014 Dubai Pro - 2nd
2014 IFBB Arnold Classic Europe - 2nd
2014 Mr. Olympia - 3rd
2014 IFBB Australian Pro - 1st
2014 IFBB Arnold Classic - 2nd

2013 IFBB Arnold Classic Europe - 4th
2013 Mr. Olympia - 4th

2012 IFBB EVL's Prague Pro - 2nd
2012 IFBB British Grand Prix - 1st
2012 IFBB Arnold Classic Europe - 1st
2012 Mr. Olympia - 3rd
2012 IFBB Dallas Europa Supershow - 1st
2012 IFBB PBW Tampa Pro - 1st
2012 NPC Dexter Jackson Classic - NP
2012 IFBB Arnold Classic - 8th
2012 IFBB FLEX Pro - 4th

2011 Mr. Olympia - 11th
2011 IFBB Dallas Europa Super Show - 3rd

2010 IFBB Dallas Europa Super Show - 6th


* * * ช่วงเป็นนักเพาะกายสมัครเล่น ( ข้างล่างนี้ )

2009 IFBB North American Championships - 1st
2009 NPC Delaware Open Bodybuilding - 1st 

2001 NPC Team Universe Championships - 2nd

2000 NPC Team Universe Championships - 4th

- END - 





Tuesday, September 22, 2020

Phil Heath -หน้า 2-

 

Phil Heath



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

ชื่อภาษาต่างประเทศ : Phil Heath    อีกชื่อหนึ่ง คือ : Phillip Jerrod Heath 

ชื่อภาษาไทย : ฟิล ฮีธ 

นามแฝง หรือ ฉายา : The Gift 

วันเดือนปีที่เกิด : 18 ธันวาคม พ.ศ.2522  /  December 18, 1979


สถานที่เกิด : Seattle, Washington, USA 

ที่อยู่ปัจจุบัน : Arvada, CO, USA 


ความสูง : 175 เซนติเมตร  /  5 ฟุต 9 นิ้ว

น้ำหนัก : ช่วงฤดูการแข่งขัน 109 กก. ( 240 ปอนด์ )  /  ช่วงนอกฤดูการแข่งขัน 125 กก. ( 275 ปอนด์ )

สัดส่วน : ต้นแขน 22 นิ้ว ( 56 ซม. )  /  ต้นขา 31.89 นิ้ว ( 81 ซม. )  / น่อง 20 นิ้ว ( 51 ซม. )  /  คอ 22.44 นิ้ว ( 57 ซม. )  /  เอว 29.13 นิ้ว ( 74 ซม. )


ข้อมูลที่น่าสนใจ :  

* * * เขาฝึกซ้อมที่ Armbrust Pro Gym โรงยิมใน Wheat Ridge Arvada รัฐโคโลราโด

* * * เขาเล่นบาสเก็ตบอลระหว่างเรียนที่มหาวิทยาลัยเดนเวอร์ 

* * * หลังจากเล่นไปแล้ว 66 เกมเขาเลิกเล่นบาสเก็ตบอลและเริ่มให้ความสนใจกับการเพาะกาย

* * * ในปี 2003 เขาเข้าร่วมในการแข่งขันเพาะกายครั้งแรก

* * * เขาได้รับรางวัล Mr. Mr. Olympia 7 ครั้ง ( ค.ศ.2011 - ค.ศ.2017 )

* * * เขาได้รับรางวัลชื่อ Mr. Olympia เป็นครั้งแรกในปี 2011 หลังจากชนะ Jay Cutler (  ชนะรางวัล Mr. Olympia ในปี 2006, 2007, 2009, 2010 )

* * * ในฐานะนักเพาะกายเขากินวันละ 6 ถึง 7 ครั้ง แต่อาหารของเขาถูก จำกัด เมื่อเขาเคยเป็นนักบาสเก็ตบอล เขากินวันละ 3 ครั้งเท่านั้น


ได้ใบรับรองเป็นนักเพาะกายอาชีพ : จากการประกวดในรายการ Colorado Pro Championships 2006 ( ขณะที่อายุ 27 ปี )


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ประวัติโดยสังเขป :  

       Phillip Jerrod Heath เกิดใน Seattle, Washington, USA เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมเรเนียร์บีชในซีแอตเติลซึ่งเขาเป็นกัปตันทีมและตำแหน่ง shooting guard ในทีมบาสเกตบอลโรงเรียน เขาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเดนเวอร์ในกีฬาทุนการศึกษาวิชาเอกบริหารธุรกิจในขณะที่เล่นตำแหน่ง shooting guard ให้กับทีมบาสเกตบอลของมหาวิทยาลัย

       ฟิล ฮีธ มีส่วนเกี่ยวข้องกับกีฬามาตั้งแต่เด็ก ตอนที่เขาเริ่มออกกำลังกาย เขาหนัก 84 กิโลกรัม ในช่วงเพิ่มน้ำหนักตัวสำหรับการแข่งขันครั้งแรก เขาสามารถหนักได้มากถึง 97 กิโลกรัม ในที่สุดน้ำหนักการแข่งขันของเขาที่ NPC ( National Physique Committee ) ในปี 2003 คือ 87 กิโลกรัม ในการแข่งขันครั้งนี้เขาได้รับรางวัลที่หนึ่งในประเภทน้ำหนักของเขาและยังได้รับรางวัลโดยรวม ภายใต้ชื่อเล่น“ The Gift” และเติมพลังด้วยความสำเร็จของการแข่งขันครั้งแรกเขายืนอยู่บนเวทีการแข่งขันอีกครั้งเพียง 8 สัปดาห์ต่อมา เขาสูญเสียชัยชนะโดยรวมแค่หนึ่งคะแนน อย่างไรก็ตามเขาตระหนักว่าเขาแพ้การแข่งขันเนื่องจากความเชื่อมั่นโอนเอียงไปทางพันธุกรรมของเขาและเขาก็เริ่มฝึกฝนอย่างชาญฉลาดมากขึ้น ฟิล สำเร็จการศึกษาในสองสาขา: เทคโนโลยีสารสนเทศและบริหารธุรกิจ การตัดสินใจที่จะเริ่มเพาะกายแทนบาสเก็ตบอลในที่สุดก็เป็นประโยชน์ต่อเขา ดังนั้นให้ดูที่โปรแกรมการฝึกและแผนการควบคุมอาหารของเขาเพื่อดูว่าเขาจัดการ เพื่อสร้างปรากฎการณ์ที่ชนะได้เจ็ดครั้งติดต่อกันได้อย่างไร

       ฮีธ ไม่ได้เข้าแข่งขันการประกวด Mr. Olympia ปี 2019 แต่ยังคงทำงานในโครงการอื่น ๆ ทั้งในและนอกวงการเพาะกาย


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

รายการประกวดที่ผ่านมา : ( นับถึงปี พ.ศ.2561 ( ค.ศ. 2018 ) )

2003 Northern Colorado State, Novice, Light-Heavyweight 1st and overall
2003 NPC Colorado State, Light-Heavyweight, 1st 

2004 NPC Colorado State, Heavyweight, 1st and Overall

2005 NPC Junior Nationals, HeavyWeight, 1st and Overall 
2005 NPC USA Championships, HeavyWeight, 1st and Overall

2006 Colorado Pro Championships, 1st 
2006 New York Pro Championship, 1st 

2007 Arnold Classic, 5th

2008 IFBB Iron Man, 1st 
2008 Arnold Classic, 2nd  
2008 Mr. Olympia, 3rd  

2009 Mr. Olympia, 5th

2010 Arnold Classic, 2nd 
2010 Mr. Olympia, 2nd

2011 Mr. Olympia, 1st 
2011 Sheru Classic, 1st

2012 Mr. Olympia, 1st
2012 Sheru Classic, 1st 

2013 Mr. Olympia, 1st 
2013 Arnold Classic Europe, 1st

2014 Mr. Olympia, 1st

2015 Mr. Olympia, 1st

2016 Mr. Olympia, 1st

2017 Mr. Olympia, 1st

2018 Mr. Olympia, 2nd


- END - 

Tuesday, September 15, 2020

Roland Kickinger

 

( หน้าเว็บนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงครับ )

Sunday, September 13, 2020

Confuse

 

Confuse

เทคนิคฝึก ชื่อ "ความสับสน"

     ในร่างกายมนุษย์ จะมียีนอยู่แบบหนึ่งที่มีไว้สำหรับการทำให้ชีวิตมนุษย์อยู่รอด  คือว่าเจ้ายีนตัวนี้จะทำให้ร่างกายมีการพยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ( จากภายนอก ) ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย   /  ซึ่งการปรับตัวที่ว่านั้น ก็คือการทำให้ร่างกายเกิดความ "เคยชิน" กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  /  ซึ่งเมื่อร่างกายเกิดความ "เคยชิน" แล้ว ก็จะทำให้ร่างกายนั้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้โดยไม่ลำบาก

       ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. เคยทานอาหารวันละ 3 มื้อ คือเช้า กลางวัน และเย็น  ซึ่งร่างกายก็จะตั้งระบบไว้ว่า เมื่อถึงเวลาอาหารทั้ง 3 มื้อนั้นแล้ว  น้ำย่อยก็จะมารออยู่ที่กระเพาะอาหารเลย  ถ้ายังไม่ยอมทานอาหารตามเวลา ร่างกายก็จะหิวมาก และน้ำย่อยก็อาจจะกัดกระเพาะอาหารจนเกิดเป็นแผลได้

       ต่อมา เมื่อ นาย ก.ไปบวชเป็นพระในศาสนาพุทธ ซึ่งจำเป็นต้องตัดอาหารมื้อเย็นออก   การตัดอาหารมื้อเย็นออก ก็คือการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันไป ซึ่งร่างกาย "เคยชิน" กับกิจวัตรประจำวันแบบนี้มานาน ( คือการทานอาหารมื้อเย็นทุกวัน )

       เมื่อมีการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน ( คือการตัดอาหารมื้อเย็นออก ) ก็จะทำให้ร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน

       เมื่อร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน  เพราะไม่ได้ทานอาหารเย็น ร่างกายก็จะมีอาการ Aleart ,ตื่นตัว ตามมา  


      อาการ Aleart ,ตื่นตัว ที่ว่านั้น ก็คือการมีอาการกระวนกระวาย ,นอนไม่หลับ ,รู้สึกหิวเป็นอย่างมากในช่วงมื้อเย็น ,หน้ามืดบ่อยๆ

       ซึ่งอาการที่ว่านี้ ( กระวนกระวาย ,นอนไม่หลับ ฯลฯ ) ก็คืออาการที่แสดงออกมาเพื่อให้ร่างกายรับรู้ว่าตอนนี้มีสภาวะไม่ปกติเกิดขึ้นแล้ว ( คือสภาวะที่ร่างกายไม่ได้ทานอาหารมื้อเย็น )

       ซึ่ง นาย ก. ก็ต้องทนกับสภาวะที่ไม่ปกติ ( คือ สภาวะ Aleart ,ตื่นตัว ) แบบนี้ไปเรื่อยๆด้วยความลำบาก  เพราะสิ่งที่เขาต้องทนนี้ คือสิ่งที่ต้องแลกมากับการเข้ามาบวชเป็นพระ ( คือถ้าไม่อยากทนสภาวะ Aleart ,ตื่นตัว นี้  ก็ต้องสึกออกไป - แต่ นาย ก.เลือกที่จะไม่สึก )

       เมื่อร่างกายของ นาย ก. ตกอยู่ในสภาวะ Aleart ,ตื่นตัว ซึ่งทำความลำบากให้กับระบบต่างๆในร่างกายของ นาย ก. เป็นอย่างมาก  /  ณ.ตอนนี้เอง ที่ยีนในร่างกายเข้ามามีส่วนสำคัญในการปรับสมดุลให้กับร่างกาย นาย ก.  ซึ่งก็คือการที่

       เมื่อถึงเวลาที่จะต้องทานอาหารเย็น แล้วมีน้ำย่อยมารออยู่ในกระเพาะเป็นจำนวนมากนนั้น  ร่างกายก็จะ "ปรับตัวใหม่" โดยไม่ให้มีน้ำย่อยมารอในกระเพาะในช่วงอาหารเย็นอีก


       ระบบการเผาผลาญอาหารจะช้าลง เพราะว่า แต่ก่อน ทานครบ 3 มื้อ จึงมีระบบเผาผลาญอาหารที่เร็ว เพื่อจะเผาผลาญอาหารทั้ง 3 มื้อให้เป็นพลังงานทั้งหมด แต่ ณ.ตอนนี้ เหลือการทานแค่ 2 มื้อ จึงไม่จำเป็นต้องมีระบบเผาผลาญที่รวดเร็วเหมือนเมื่อตอน ทาน 3 มื้อ


      จากการที่ร่างกายปรับตัวใหม่ ( คือลดน้ำย่อยในช่วงมื้อเย็น และลดอัตราการเผาผลาญอาหารลง ) ก็เลยทำให้ร่างกายของ นาย ก. กลับไปสู่สภาวะ "เคยชิน" อีกครั้งหนึ่ง

       คำว่าสภาวะ "เคยชิน" ที่ว่านี้ ก็คือการที่ นาย ก. มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ โดยที่ไม่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร และไม่รู้สึกอ่อนเพลีย เหมือนช่วงที่ร่างกาย Aleart ,ตื่นตัว ในช่วงแรกๆของการบวชเป็นพระ


      จากที่อ่านมาในตอนต้น เราได้รู้จักกับยีนพิเศษในร่างกายของ "คนปกติทุกคน" แล้วว่า ยีนตัวนี้ จะพยายามทำให้ร่างกาย "หลีกหนี" จากการ เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน ( ซึ่งการ เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน ที่ว่านี้ จะส่งผลเป็นลูกโซ่จนทำให้ร่างกายเกิดอาการ Aleart ,ตื่นตัว ในภายหลัง ) ได้ด้วยการทำให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆในร่างกาย  ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราจะตัดมื้ออาหารเย็นไปตลอดชีวิต  ไอ้เจ้ายีนพิเศษตัวนี้ ก็จะทำการลดน้ำย่อย ลดกรดในกระเพาะอาหารในช่วงเย็น , และยังลดอัตราการเผาผลาญอาหารในช่วงก่อนมื้อเย็นให้ช้าลง ฯลฯ

       เอาล่ะ 
คราวนี้ เรามาดูกันว่า เราจะนำการทำหน้าที่ของยีนพิเศษตัวนี้ มาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเพาะกายของเราได้อย่างไร? มาดูกันครับ

       สมมติว่ากล้ามเนื้อไบเซบของคุณ มีศักยภาพในการยกดัมเบลล์ในท่า Concentration Curls  ได้ด้วยการใช้ดัมเบลล์ขนาด 6 กก. เท่านั้น สมมตินะครับ )

       ถ้าคุณยกดัมเบลล์ด้วยท่านี้ ( คือ Concentration Curls ) โดยใช้ดัมเบลล์น้ำหนัก 6 กก. ไปตลอดชีวิต กล้ามเนื้อไบเซบของคุณก็จะไม่เติบโตขึ้น ไม่ใหญ่ขึ้น

       เหตุที่กล้ามไบเซบของคุณไม่ใหญ่ขึ้น ( เมื่อคุณยกด้วยท่า Concentration Curls โดยใช้ดัมเบลล์หนัก 6 กก.ไปตลอดชีวิต ) ก็เพราะว่า ร่างกายคุณ "เคยชิน" กับการยกดัมเบลล์ในขนาด 6 กก. ด้วยท่า Concentration Curls นี้นั่นเอง

       คราวนี้ สมมติว่าคุณเพิ่มน้ำหนักดัมเบลล์ที่ใช้ขึ้นมาสัก 2 กก. คือใช้น้ำหนักดัมเบลล์เป็น 8 กก.ในการบริหารท่าเดียวกันนี้ ( คือ Concentration Curls ) มาดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น

       ในตอนเริ่มแรก ( สมัยตอนที่ยังใช้ดัมเบลล์ขนาด 6 กก. อยู่ ) เซลล์กล้ามเนื้อใน กล้ามไบเซบ ของคุณ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการยกดัมเบลล์ขนาด 6 กก. ในท่า Concentration Curls  /  คือหมายความว่า ความแข็งแรงของเซลล์กล้ามเนื้อคุณมี "ลิมิต" อยู่แค่การรองรับดัมเบลล์ขนาด 6 กก.ในการยกท่า Concentration Curls นี้

       คราวนี้ พอคุณไปยกดัมเบลล์ขนาด 8 กก. ในท่าเดียวกันนี้เข้า ( คือท่า Concentration Curls ) เซลล์กล้ามเนื้อไบเซบของคุณก็เลยฉีกขาด เกิดการบาดเจ็บในระดับเซลล์ ( Micro Trauma ) ( ไม่ได้ฉีกขาดในระดับใหญ่ คือไม่ได้ฉีกขาดในระดับเส้นใยกล้ามเนื้อฉีกขาด ( ซึ่งต้องเข้าโรงพยาบาล ) หรอกนะครับ ) เพราะว่ามันเกิน "ลิมิต" ที่เซลล์กล้ามเนื้อไบเซบของคุณจะรับไหว

       เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบเกิดการฉีกขาด เกิดการบาดเจ็บในระดับเซลล์  ไอ้เจ้ายีนพิเศษ ( ที่ผมพูดให้ฟังไว้ก่อนหน้านี้ ) ก็เลยรีบมาบริหารจัดการการฉีกขาดนี้ทันที

       วิธีบริหารจัดการกับการฉีกขาดที่เซลล์กล้ามเนื้อไบเซบนี้ ก็คือการที่ยีนตัวนี้ จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย เป็นต้นว่า เกิดการไปดึงเอาสารอาหาร ,เลือด ฯลฯ มาซ่อมแซมเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบที่ฉีกขาดไปนั้นก่อน  จากนั้น ก็จะเพิ่มปริมาณเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบขึ้น เพื่อ "รองรับ" การที่จะต้องใช้กล้ามไบเซบในการยกดัมเบลล์ขนาด 8 กก. นี้ในอนาคต ( คือหมายความว่า ถ้าในอนาคต ร่างกายต้องยกดัมเบลล์ขนาด 8 กก. ในท่า Concentration Curls นี้อีก เซลล์กล้ามเนื้อก็จะไม่ฉีกขาดมากมายนัก เพราะว่ามีปริมาณเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบมากขึ้นแล้ว ( ด้วยการเสริมสร้างเซลล์ไบเซบเพิ่มเข้าไปนี้เอง ) )

       พูดง่ายๆว่า ระบบเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะมี 5 ขั้นตอนคือ

       ขั้นตอนแรก - คือ กล้ามไบเซบมี "ความเคยชิน" กับการใช้ดัมเบลล์ขนาด 6 กก. ในการบริหารท่า Concentration Curls นี้อยู่  /  ซึ่ง "ความเคยชิน" นี้ ก็เลยทำให้กล้ามไบเซบไม่เติบโตขึ้น


       ขั้นตอนที่สอง - คือ เราทำลาย "ความเคยชิน" ด้วยการเปลี่ยนน้ำหนักดัมเบลล์ที่ใช้ให้หนักขึ้นเป็น 8 กก. ในท่า Concentration Curls นี้ ( แต่ก่อนใช้ 6 กก. )

       เมื่อใช้น้ำหนักดัมเบลล์ที่หนักขึ้น ก็เลยทำให้เซลล์กล้ามเนื้อไบเซบ เกิดการฉีกขาด เกิดการบาดเจ็บในระดับเซลล์

       พอเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบ เกิดการฉีกขาด เกิดการบาดเจ็บในระดับเซลล์ ร่างกายก็ เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน  เพราะระบบปฏิกิริยาอัตโนมัติของร่างกาย กลัวว่าร่างกายจะ "ตาย" ด้วยเหตุแห่งการบาดเจ็บ ( ในระดับเซลล์ ) นั้น


       ขั้นตอนที่สาม - คือเมื่อร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน ขึ้นมา ร่างกายก็มีอการ Aleart ,ตื่นตัว ตามมา


       ขั้นตอนที่สี่ - เมื่อร่างกายมีอาการ Aleart ,ตื่นตัว  เพราะกลัวว่าจะ "ตาย" จากอาการบาดเจ็บ ( ในระดับเซลล์ ) นั้น ได้เจ้ายีนพิเศษจึงต้องออกมาบริหารจัดการ เพื่อ "ลดอาการ"  Aleart ,ตื่นตัว ลง

       ซึ่งวิธีบริหารจัดการของยีนตัวนั้นก็คือ การทำให้ร่างกายทำการซ่อมแซมเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบที่ฉีกขาดนั้น และพยายามเสริมสร้างเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบใหม่ๆขึ้นมา เพื่อป้องกันการฉีกขาดอีกในอนาคต

       จนเมื่อร่างกายมีเซลล์ไบเซบที่ซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว และมีเซลล์ไบเซบสำรองเพิ่มมากขึ้น ( เพื่อรองรับการใช้ดัมเบลล์ขนาด 8 กก. ) ร่างกายก็จะ "ลดอาการ" Aleart ,ตื่นตัว ลง คล้ายๆกับการปิดไฟฉุกเฉินในร่างกายลง


       ขั้นตอนที่ห้า - คือเมื่อร่างกาย "ลดอาการ" Aleart ,ตื่นตัว ลงแล้ว  ร่างกายก็จะกลับสู่สภาวะ "เคยชิน" อีกครั้ง

       เมื่อร่างกายกลับสู่สภาวะ "เคยชิน" แล้ว ก็จะกลับไปสู่ขั้นตอนแรกใหม่อีกครั้ง คือหมายความว่า ถ้าคุณยกดัมเบลล์ขนาด 8 กก. ไปตลอดชีวิต กล้ามไบเซบคุณก็จะไม่เติบโตขึ้นไปกว่านี้  


       ในระหว่างที่คุณกำลังใช้ดัมเบลล์ขนาด 8 กก.อยู่นั้น ( หมายถึงว่า คุณยังไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักดัมเบลล์เป็น 10 กก.ได้ เพราะถ้าคุณ "ด่วน" เพิ่มน้ำหนักดัมเบลล์เป็น 10 กก.ในการยกท่า Concentration Curls นี้ กล้ามไบเซบของคุณอาจจะบาดเจ็บในระดับใหญ่ได้ คือกล้ามเนื้อไบเซบอาจจะฉีกขาด จนต้องเข้าโรงพยาบาลผ่าตัดไปเลย ) สักพัก ร่างกายก็จะเกิด "ความเคยชิน" อีก ทำให้กล้ามไบเซบไม่พัฒนาขึ้น ไม่โตขึ้น

       ในเมื่อร่างกายคุณเกิด "ความเคยชิน" แล้วคุณจะทำให้ร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน ได้อย่างไร? ในเมื่อคุณยังไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักดัมเบลล์เป็น 10 กก.ได้

       คำตอบก็คือว่า คุณสามารถทำให้ร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน ได้ด้วยการเปลี่ยนจำนวนเซท ,เปลี่ยนจำนวน Reps ,เปลี่ยนระยะเวลาพักระหว่างเซท ,จัดลำดับท่าบริหารไบเซบใหม่ ( สมมติว่าในตารางฝึก มีท่าบริหารไบเซบอยู่ 3 ท่า โดยท่า Concentration Curls อยู่ในท่าบริหาร ท่าที่ 2 ก็ให้คุณเลื่อนท่า Concentration Curls มาบริหารเป็น ท่าแรก  /  หรือเลื่อนลงไปบริหารเป็น ท่าที่ 3 ก็ได้ )  /


สรุปว่า - หลักการเรื่องการพยายามทำให้ร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน นั้น ถือเป็นหลักที่ต้องใช้ควบคู่ไปการเพาะกายไปตราบนานเท่านานเลยครับ  /  อาจกล่าวได้ว่าหน้าที่ของนักเพาะกายก็คือ การพยายามทำให้ร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน อยู่บ่อยๆ ร่างกายจะได้พัฒนาดีขึ้น

       และสำหรับการทำให้ร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน ( เพื่อหลีกหนี "ความเคยชิน) นั้น เพื่อนสมาชิกสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การเพิ่มปริมาณน้ำหนักที่ใช้ หรือเปลี่ยนจำนวนเซท ,เปลี่ยนจำนวน Reps ,เปลี่ยนระยะเวลาพักระหว่างเซท ,จัดลำดับท่าบริหารใหม่ 

- END - 

Saturday, September 12, 2020

Popcorn

 

Popcorn

ข้าวโพดคั่ว 


      
ข้าวโพดคั่ว หรือ ป็อปคอร์น ( อังกฤษ: Popcorn ) หรือ ตอกคง ในภาษาไทยถิ่นใต้[1] เป็นอาหารว่างอย่างหนึ่ง ผลิตจากเมล็ดข้าวโพด ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหลายชนชาติ ต้นกำเนิดข้าวโพดคั่วนั้นอยู่ในดินแดนของอินเดียแดงในทวีปอเมริกา ตั้งแต่เมื่อประมาณ 5,600 ปีที่ผ่านมา 

       นักโบราณคดีพบหลักฐานเกี่ยวกับข้าวโพดคั่วในซากเมืองโบราณหลายแห่ง เช่น เมืองอินคาทางอเมริกาใต้ เมืองมายาในอเมริกากลาง และเมืองอัซเตกในเม็กซิโก ต่างพบการใช้ข้าวโพดจำนวนมากมาเป็นเวลานานก่อนสมัยที่โคลัมบัสมาเยือนโลกใหม่ ข้าวโพดที่คั่วจนพองขาวแล้วชาวอินเดียแดงในอเมริกาเหนือจะนำมารับประทาน และร้อยสายด้วยหญ้า ทำเป็นเครื่องประดับสำหรับหัวหน้าเผ่าหรือนักรบ รูปเคารพเทพเจ้าฝนของชาวอัซเตก และเทพเจ้าข้าวโพด บางครั้งก็ประดับด้วยข้าวโพด และในบางแห่งของเม็กซิโกในปัจจุบันวันนี้ บางครั้งก็มีการใช้พวงข้าวโพดคั่วประดับเทวรูป 

       เมื่อนักล่าอาณานิคมชาวอังกฤษสมัยแรกๆ ได้จัดงานขอบคุณพระเจ้าครั้งแรกขึ้น ชาวอินเดียแดงนามว่า เควเดอควีนา ได้นำอาหารมาในงานเลี้ยง นั่นคือข้าวโพดคั่ว ใส่ถุงหนังกวางขนาดใหญ่ ผู้เข้าร่วมในงานได้ ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นส่วนสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ในวิถีชีวิตแบบอเมริกา 


ข้าวโพดคั่วอินเดียแดง

       ชาวอินคาจะใช้หม้อดินปั้นเป็นพิเศษสำหรับคั่วข้าวโพด ( ภาชนะพบได้ในซากปรักหักพังสมัยโบราณของอเมริกาใต้ ) โดยฝังหม้อในทรายที่ร้อนจัด โรยเมล็ดข้าวโพดลงไป แล้วปิดฝา หรือใช้หม้ออีกใบมาครอบ ความร้อนจากทรายจะทำให้ข้าวโพดแตก กลายเป็นข้าวโพดคั่วได้

       ข้าวโพดและข้าวโพดคั่วค่อยๆ ปรากฏแพร่หลายไปทั่วอเมริกา ในฐานะพืชเกษตรกรรมทั่วไป และเริ่มปรากฏความสำคัญจนถือเป็นพืชเกษตรกรรมในตลาด เมื่อราว ค.ศ. 1890 นี้เอง ซึ่งมีความนิยมสูง และเริ่มผลิตในเชิงการค้า โดยมีการผลิตเครื่องทำข้าวโพดคั่วขนาดมหึมา ใช้เตาน้ำมันเบนซิน กลายเป็นอุปกรณ์ที่คุ้นตาในงานแห่และงานเทศกาล และเมื่อในปี ค.ศ. 1893 ในงานแสดงสินค้าโลกที่ชิคาโก ก็มีการผลิตข้าวโพดคั่วแบบใหม่ เรียกว่า เครเกอร์แจ็ค ( Cracker Jack ) อันเป็นส่วนผสมของข้าวโพดคั่ว น้ำอ้อย และถั่วลิสง


ข้าวโพดคั่วในโรงภาพยนตร์

       จากความเติบโตของธุรกิจภาพยนตร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบ และการเปิดโรงภาพยนตร์จำนวนนับไม่ถ้วน ทำให้ข้าวโพดคั่วกลายเป็นส่วนหนึ่งของความบันเทิงแบบใหม่ ในช่วงต้น เครื่องผลิตข้าวโพดคั่วมักจะอยู่นอกโรงภาพยนตร์ ผู้ควบคุมเครื่องมักจะต้องเช่าสถานที่จากเจ้าของโรงภาพยนตร์ สมัยที่เป็นหนังเงียบ บางครั้งมีเสียงดนตรีคลอ ในช่วงบรรเลงดนตรีนั้น ยังมีเสียงกรุบกรับของผู้ชมที่สนุกกับข้าวโพดคั่วพอๆ กับความสนุกกับภาพยนตร์ 

       เครื่องผลิตข้าวโพดคั่วแบบไฟฟ้าเสร็จสมบูรณ์และนำออกจำหน่ายประมาณปี ค.ศ. 1925 เป็นเครื่องแก้วมันวาวและเครื่องไฟฟ้าสีโครเมียม ทำให้ข้าวโพดคั่วได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นไปอีก 

       มีสถิติว่า ในปี ค.ศ. 1922 สหรัฐอเมริกาเพาะปลูกข้าวโพดสำหรับใช้ทำข้าวโพดคั่วประมาณ 15,000 เอเคอร์ เมื่อมีเครื่องผลิตข้าวโพดคั่วแบบไฟฟ้า ข้าวโพดคั่วนำรายได้มาสู่ผู้ปลูกพอสมควร จนได้รับสมญานามว่า "ทิวทองแห่งท้องทุ่ง" (prairie gold) และเมื่อปี ค.ศ. 1967 ผลผลิตต่อปีของข้าวโพดมีค่าประมาณ 432 ล้านปอนด์ รัฐอินเดียนา ไอโอวา อิลลินอยส์ โอไฮโอ และเคนตั้กกี้ เป็นผู้นำในการผลิตข้าวโพดคั่วของสหรัฐอเมริกา 

       เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 เมื่อโทรทัศน์แพร่หลายมากขึ้น ข้าวโพดคั่วไม่ได้นิยมรับประทานเฉพาะในโรงภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังแพร่หลายไปรับประทานกันหน้าจอโทรทัศน์ และเริ่มมีการโฆษณาข้าวโพดคั่วในช่วงโฆษณาของรายการ ในบางพื้นที่มีข้าวโพดคั่วขายในห่อฟอยล์ ซึ่งใช้คั่วแล้วทิ้งได้


กลไกเบื้องหลังข้าวโพดคั่ว

       กลไกเบื้องหลังข้าวโพดคั่ว ก็คือ เมล็ดข้าวโพดนั้นมีความชื้นอยู่ภายใน เมื่อได้รับความร้อน จะเกิดไอน้ำขึ้นภายในเมล็ด และเกิดแรงดันผลักให้เมล็ดแตกบานออก แรงดันในฉับพลันนั้นก็ดันเมล็ดภายในออกมา

       วิธีการคั่วข้าวโพดมีอยู่สองวิธี คือคั่วแห้ง และคั่วเปียก

* * * วิธีคั่วแห้ง ทำได้โดยนำข้าวโพดใส่ตะกร้าสานแล้วเขย่าเหนือถ่านหินร้อน กระทั่งเมล็ดเต้นและแตกพองอยู่ในตะกร้าสาน จากนั้นเทข้าวโพดลงชาม และ เติมเครื่องปรุงรส จำพวกเกลือและเนย 


* * * วิธีคั่วเปียกนั้น เป็นวิธีที่นิยมใช้ทุกวันนี้ โดยการคั่วข้าวโพดในภาชนะก้นหนา ใส่น้ำมันเล็กน้อย เมล็ดข้าวโพดเมื่อถูกเขย่าจะเคลือบน้ำมัน ทำให้ความร้อนถึงจุดที่แตกตัว ในเครื่องทำข้าวโพดคั่วมักจะใช้น้ำมันมะพร้าว แต่น้ำมันปรุงอาหารชนิดอื่นๆ ก็ใช้ได้เหมือนกัน


ประโยชน์อันหลากหลาย

       นอกเหนือจากการใช้เป็นอาหารแล้ว ข้าวโพดคั่วยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย เช่นการนำมาใช้เป็นวัสดุกันกระแทกในการขนส่งสินค้าเปราะบาง ซึ่งได้ผลดีมากกว่ากระดาษลูกฟูก จากการทดลองบรรจุขวดแก้วลงในหีบ ซึ่งหีบหนึ่งใช้ข้าวโพดคั่วรอง และอีกหีบใช้กระดาษลูกฟูก เมื่อโยนหีบดังกล่าวจากหลังคาโกดังลงบนพื้นยางมะตอยด้วยความสูง 50-60 ฟุต ขวดที่บรรจุในหีบบุข้าวโพดคั่วนั้นไม่แตก ขณะที่อีกหีบมีขวดแตกไปเกือบหนึ่งในสาม

       นอกจากนี้ยังมีการทดลองนำไปปรับใช้ทำอาหารตำรับต่างๆ เช่น ข้าวโพดคั่วกับเครื่องเทศ น้ำมะนาว และน้ำผึ้ง และรับประทานกับครีมเป็นอาหารว่าง หากผสมกับหัวหอม ผักชี และเครื่องปรุงรสอื่นๆ จะนำไปยัดไส้ไก่ได้ ไม่ต่างกับเครื่องปรุงขนมปังหรือขนมปังข้าวโพดเลย

       ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังหาวิธีต่างๆ ที่จะใช้ประโยชน์จากข้าวโพดคั่วนี้ นับเป็นเส้นทางอันยาวนานไกลจากถิ่นฐานชาวอินคาเมื่อหลายศตรรษก่อน ผู้รู้จักคั่วข้าวโพดด้วยวิธีง่ายๆ ในหม้อดิน ไปสู่ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อันซับซ้อนในปัจจุบัน


เกร็ด

* * * มีการขายข้าวโพดทั่วในโรงภาพยนตร์ตั้งแต่ ค.ศ. 1912  

* * * ข้าวโพดคั่วเนยมียอดการขายสูงกว่าข้าวโพดคั่วธรรมดา

* * * อุณหภูมิในการคั่วข้าวโพดนั้น อยู่ที่ประมาณ 175 องศาเซลเซียส ( 347 องศาฟาเรนไฮต์ )

* * * เครื่องคั่วข้าวโพดเครื่องแรก ประดิษฐ์โดยนายชาลส์ เครเตอส์ ในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1885 

* * * ข้าวโพดคั่วสามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ 

- END -

Squash

 

Squash

      สควอซ ( Squash ) เป็นพืชผักกลุ่ม ฟักทอง ฟักและแฟง แตงชนิดต่างๆ มะระ ซูกินี  /  คอร์เกตต์ ( Zucchini  /  Courgette ) ชะโยเต ( Chayote ) บวบและน้ำเต้า 

       ซูกินี  /  คอร์เกตต์ เป็น summer squash มีชนิดสีเหลืองและเขียว ทั้งสองชนิดมีรสชาติไม่แตกต่างกัน ผู้คนแถบสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์และอัฟริกาใต้ นิยมเรียกผักนี้ว่า คอร์เกตต์ ในขณะที่ทางอเมริกาเหนือและออสเตรเลียเรียกคอร์เกตต์ชนิดสีเขียวว่าซูกินี ส่วนที่เราเห็นเป็นผลนั้น แท้จริงแล้วมันเป็นส่วนของรังไข่(ที่อยู่ในดอก)พองออกมา

       เราสามารถนำซูกินีมาทำอาหารทานทั้งแบบดิบๆ โดยใช้เป็นผักในสลัด หรือปรุงสุก แต่มันเก็บได้ไม่นานเท่าไร หากเกินสามวันแม้ในตู้เย็นก็จะดูไม่งามและเนื้อข้างในจะนุ่มเกินไป ซูกินีมีแคลอรีต่ำแต่อุดมไปด้วย สารโฟเลต โปแตสเซียม วิตามินเอ และแมงกานีส

       เนื่องจากต้องการทานผักที่หลากหลาย เมื่อไปเดินใน supermarket ส่วนที่ขายผักของโครงการหลวง จึงอดไม่ได้ที่จะซื้อผักชนิดนี้ หลายครั้งแล้วที่นำมาย่างแล้วทาด้วยน้ำมันมะกอกหรือเนย ทานเป็นจานเคียงกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ บางทีก็นำมาเสียบไม้สลับกับเห็ดออรินจิแล้วย่าง ทานกับน้ำจิ้มรสจัด เห็นคนไทยที่อยู่ต่างแดน นิยมนำมาผัดกับไข่แทนบวบด้วย 

- END - 


Malt - O - Meal

 

Malt - O - Meal 


( หน้าเว็บนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงครับ )  


Phytochemicals

 

พฤกษาเคมี 
Phytochemicals

      พฤกษาเคมี ( PhytoChemical ) คือสารเคมีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในผัก ผลไม้ เป็นสารที่ทำให้เกิด สี กลิ่น รส ในผัก ผลไม้ มีประโยชน์ต่อร่างกายในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีหลายชนิดและจะมีสีสันที่แตกต่างกันไป ลองมารู้จักพวกเขาอย่างง่าย ๆ ดูประโยชน์ที่จะได้รับกัน เช่นชนิดสีแดง ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งชนิดต่าง ๆ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคปอด และโรคระบบทางเดินปัสสาวะ

       มีไฟโตนิวเตรียนท์ ( Phytonutrient ): 
ไลโคพีน ( Lycopene ) เช่น มะเขือเทศ , แตงโม , เกรฟฟรุทสีชมพู ( Pink Grapefruit )ชนิดสีม่วง ช่วยลดการจับตัวกันของลิ่มเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตัน ช่วยในการมองเห็น ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม

       มีไฟโตนิวเตรียนท์ ( Phytonutrient ): 
แอนโธไซยานิน ( Anthocyanins ) เช่น องุ่น, บลูเบอรี่ , สตอเบอร์รี่ , หัวบีท , มะเขือม่วงชนิดสีส้ม ช่วยป้องกันผิวจากการทำลายของอนุมูลอิสระและช่วยซ่อมแซมดีเอ็นเอ ( DNA ) ช่วยในการมองเห็นตอนกลางคืน

       มีไฟโตนิวเตรียนท์ ( Phytonutient ): 
แอลฟาและเบต้าแคโรทีน เช่น แครอท , มะม่วง , แคนตาลูป , มันเทศชนิดสีเหลืองส้ม ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยเซลล์ในร่างกายในการสื่อประสาท ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน

       มีไฟโตนิวเตรียนท์ ( Phytonutrient ): 
Beta Cryptothanxin เช่น ส้ม, พีช, มะละกอชนิดสีเหลืองเขียว ช่วยลดความเสี่ยงโรคต้อกระจก ช่วยป้องกันหลอดเลือดหนาตัว เสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน

       มีไฟโตนิวตรียนท์ ( Phytonutrient ): 
Lutein, Zeaxanthine เช่น ผักขม , ข้าวโพด, อะโวคาโด , แตงฮันนีดิวชนิดสีเขียว ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง

       มีไฟโตนิวเตรียนท์ ( Phytonutrient ): 
ซัลโฟราเฟน ( Sulforaphane ), ไอโซไซยาเนท ( Isocyanate ), อินโดล ( Indoles ) เช่น บรอคโคลี, กะหล่ำปลี , ผักกาดหอมฝรั่ง , บรัสเซลส์สเปราท์ชนิดสีเขียวขาว ช่วยป้องกันมะเร็ง

       มีไฟโตนิวเตรียนท์ ( Phytonutrients ): 
Quercetin, Kaempferol, Allicin เช่น กระเทียม , หอม , ซีเรอลี , ลูกแพร์ผักผลไม้หลายชนิดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะกลุ่มไฟโตนิวเตรียนท์ บางชนิดราคาสูง หาทานได้ไม่ง่ายหรือสะดวกนัก อยากจะทานให้ครบ ๆ คงต้องหาทานกัน เพื่อสุขภาพ

- END - 

Friday, September 11, 2020

Lumbar

 

Lumbar 

กระดูกสันหลัง ส่วนบั้นเอว

ภาพบน ) Lumbar คือส่วนที่เป็น สีส้ม ในภาพข้างบนนี้

กระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว ( Lumber vertebrae )

       มี 5 ชิ้น อยู่ในช่วงเอว และมีขนาดใหญ่เพื่อรองรับน้ำหนักของร่างกายท่อนบน และมีส่วนเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อที่เป็นผนังทางด้านหลังของช่องท้องอีกด้วย  

- END - 

Cervical

 Cervical

( หน้าเว็บนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงครับ )

Monday, September 7, 2020

Dennes Wolf - หน้า 2 -

 

Dennis Wolf 



ชื่อภาษาต่างประเทศ :  Dennes  Wolf  

ชื่อภาษาไทย : เดนนิส  วูล์ฟ  

นามแฝง หรือ ฉายา : The Big Bad Wolf 

วันเดือนปีที่เกิด : 30 ตุลาคม พ.ศ.2521  /  October 30, 1978

สถานที่เกิด : Tokmok, Soviet Union ( ปัจจุบันคือ Kyrgyzstan ) 


ความสูง : 180 เซนติเมตร  /  5 ฟุต 11 นิ้ว

น้ำหนัก : ช่วงฤดูการแข่งขัน 120 กก. ( 260 ปอนด์ )  /  ช่วงนอกฤดูการแข่งขัน 140 กก. ( 300 ปอนด์ )

สัดส่วน : ต้นแขน 22 นิ้ว ( 56 ซม. )  /  หน้าอก 56 นิ้ว ( 142 ซม.)  /  เอว 29 นิ้ว ( 74 ซม.)  /  ต้นขา 31 นิ้ว ( 79 ซม.)  /  น่อง 17 นิ้ว ( 43 ซม.) 


ได้ใบรับรองเป็นนักเพาะกายอาชีพ : จากการประกวดในรายการ  World Amateur Championships 2006 ( ขณะที่อายุ 28 ปี )


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ประวัติโดยสังเขป :  

จุดเริ่มต้นที่ต่ำต้อย

       เดนนิส  วูล์ฟ เกิดเมื่อปี 1978 ในครอบครัวเยอรมัน แต่อาศัยอยู่ในประเทศโซเวียต เขาเติบโตในส่วนอุตสาหกรรมของ Tokmog ประเทศคีร์กีซสถาน

       เมื่อเติบโตในอดีตสหภาพโซเวียต ชีวิตเป็นเรื่องยากสำหรับเดนนิสตอนเด็ก เขาอาศัยอยู่กับพ่อแม่ในอพาร์ตเมนต์เล็ก ๆ โดยมีอาหารไม่เพียงพอที่จะดำรงชีวิต 

       เมื่อนึกถึงจุดเริ่มต้นที่ต่ำต้อยของเขาเดนนิสกล่าวว่า “พ่อของฉันทำงานหนัก แต่เขาไม่ได้รับค่าตอบแทนมากนัก” 

       ในขณะที่เดนนิสชอบเล่นกีฬาและกระตือรือร้นตั้งแต่ยังเป็นเด็ก การเรียนและงานบ้านทำให้เขามีเวลาว่างเพียงเล็กน้อยในการทำกิจกรรมที่เขาโปรดปราน


ย้ายไปเยอรมนี

       ในปี 1992 เดนนิสย้ายไปอยู่ที่เยอรมนีพร้อมกับครอบครัวซึ่งเขาถูกบังคับให้เรียนภาษาอย่างรวดเร็วและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ของเขา

       หลังจากเรียนมัธยมเดนนิสเริ่มทำงานเป็นช่างทาสีบ้านและช่างติดตั้งหน้าต่าง เป็นงานทางกายภาพที่มีความต้องการสูงซึ่งเดนนิสทำงานเป็นเวลา 12 ชั่วโมงต่อวัน 6 วันต่อสัปดาห์  

       แม้ว่าเขาจะมีเวลาว่างเพียงเล็กน้อย แต่เดนนิสก็ยังสามารถฝึกฝนบทเรียนคิกบ็อกซิ่งและเล่นกีฬากับเพื่อน ๆ ได้ กิจกรรมเหล่านี้เป็นรากฐานของการเดินทางออกกำลังกายของเดนนิสซึ่งเขาได้ลงมือทำในหลายเดือนต่อมา 


จุดเริ่มต้นของการเพาะกาย

       การเดินทางของเดนนิสเริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาอายุ 18 ปีเขาเห็นภาพของไอคอนการเพาะกายในตำนานอย่าง Arnold Schwarzenegger และหลงใหลในรูปลักษณ์ของเขาทันที  

       หลังจากนั้นไม่นานเดนนิสก็เข้าร่วมศูนย์ออกกำลังกายในท้องถิ่นร่วมกับเพื่อนอีกสองคน 

       หลังจากทดลองยกน้ำหนักและบาร์เบลได้สามสัปดาห์เพื่อนของเดนนิสก็ลาออกจากโรงยิม แต่เดนนิสไม่ทำ

       “พวกเขาไม่ชอบมันมากนัก แต่ฉันชอบมัน แม้ในเดือนแรกฉันแข็งแรงขึ้นและร่างกายของฉันก็ใหญ่ขึ้นเล็กน้อย ไม่มีทางที่ฉันจะเลิก” เดนนิสกล่าว  


กลายเป็นผู้ร่วมแข่งขัน

       ในขณะที่การเพาะกายเป็นเพียงงานอดิเรกสำหรับเดนนิสในตอนแรกความก้าวหน้าทางร่างกายที่น่าทึ่งของเขาเป็นสิ่งที่ทำให้เขาเชื่อมั่นในการเพาะกายเป็นอาชีพในที่สุด

       ในไม่ช้าเดนนิสก็ตัดสินใจหาโค้ชและเริ่มเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันเพาะกายครั้งแรกของเขา การเปิดตัวของเขาเกิดขึ้นในปี 1999 ในการแข่งขัน NRW Newcomer Championships เดนนิสทำได้ดีเป็นพิเศษในการแข่งขันคว้าอันดับ 2 ในคลาสเฮฟวี่เวท  

       ในปีต่อมาในปี 2000 เดนนิสได้รับรางวัลเพาะกายครั้งแรกของเขา คว้าถ้วยรางวัลทั้งรุ่นเฮฟวี่เวตและถ้วยรางวัลรวมในการแข่งขัน NRW International Championships กลับบ้าน 

       ณ จุดนี้เดนนิสมีความคิดที่ชัดเจน – เขาต้องการเป็นนักเพาะกายมืออาชีพและหาเลี้ยงชีพจากความหลงใหล


เปลี่ยนระดับเป็น Pro

       หลังจากกว่าห้าปีของการแข่งขันในฐานะมือสมัครเล่นและการแข่งขันเพาะกาย 14 ครั้ง ในที่สุดเดนนิสก็ได้รับรางวัล Pro Card ที่หามาได้ยากในการแข่งขัน IFBB World Championships ปี 2005 โดยได้รับรางวัลที่ 1 ทั้งในระดับน้ำหนักและโดยรวม 

       ด้วยชัยชนะครั้งนี้เดนนิสได้รับตำแหน่งของเขาท่ามกลางนักเพาะกายที่เก่งที่สุดในโลก  


ชีวิตของเดนนิสขณะได้ Pro

       ระหว่างช่วงปี 2006-2015 เดนนิสเข้าร่วมการแข่งขันเพาะกาย 29 รายการ ในช่วงเวลานี้เดนนิสสร้างชื่อให้กับตัวเองในวงการเพาะกาย

       ชัยชนะที่โดดเด่นที่สุดของเขาในช่วงนี้ ได้แก่ ; 2007 Keystone Pro Classic ( ชัยชนะครั้งแรกของ Dennis ) , 2012 EVLS Prague Pro และ 2014 Arnold Classic Europe

       เดนนิสยังติดอันดับสูงในการแข่งขันมิสเตอร์โอลิมเปียหลายรายการ ผลงานที่ดีที่สุดบางส่วนของเขาในการประกวดคืออันดับ 4 ในปี 2008 อันดับ 3 ในปี 2013 และอันดับ 4 ในปี 2015


ชีวิตปัจจุบัน

       ด้วยความสำเร็จมากมายภายใต้เข็มขัดของเขาเดนนิสได้ทำให้สถานะของเขาเป็นหนึ่งในนักเพาะกายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุค 2000 และ 2010

       เขายังคงเติบโตอย่างมีอิทธิพลและเป็นที่ยอมรับโดยมุ่งมั่นที่จะคว้าถ้วยรางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในกีฬาเพาะกาย

       ปี 2019 เดนนิสบาดเจ็บ ต้องผ่าตัดไหล่ เขาจะลดน้ำหนักเนื่องจากการผ่าตัดและเห็นว่าตัวเองตัวเล็กลงซึ่งจะรู้สึกอึดอัดเล็กน้อย แต่ดูเหมือนว่าเขาจะยอมรับในสิ่งนั้นได้ดี 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

รายการประกวดที่ผ่านมา : ( นับถึงปี พ.ศ.2561 ( ค.ศ. 2018 ) )

1999 Multipowerpokal ( IFBB ) – 4th place heavyweight
1999 Newcomer ( IFBB ) – 2nd place heavyweight
1999 NRW-Landesmeisterschaft ( IFBB ) – 4th place heavyweight

2000 Internationale Deutsche Meisterschaft ( IFBB ) – 4th place heavyweight
2000 NRW-Landesmeisterschaft ( IFBB ) – 1st place heavyweight and overall winner

2002 Cross Dresser Challenge
2002 Mr. Universum ( WPF ) – Vice World Champion heavyweight
2002 Belgium Grand Prix – 1st place

2004 Deutsche Meisterschaft ( Germering ) ( IFBB ) – 2nd place
2004 NRW-Landesmeisterschaft ( IFBB ) – 1st place heavyweight and overall winner

2005 46 Deutsche Meisterschaft ( IFBB ) – 1st place heavyweight and overall winner
2005 IFBB World Championship – 1st place and overall winner
2005 Int. Hessischer Heavyweight Champion-Pokal – 2nd place
2005 NRW-Landesmeisterschaft ( IFBB )–- 1st place heavyweight and overall winner
2005 WM-Qualifikation ( IFBB ) – 1st place

2006 Europa Supershow – 7th place
2006 Grand Prix Spain – 3rd place
2006 Montreal Pro Championships – 5th place
2006 Mr. Olympia – 16th place

2007 Keystone Pro Classic – 1st place
2007 Mr. Olympia – 5th place
2007 New York Pro – 3rd place

2008 Mr. Olympia – 4th place

2009 Mr. Olympia – 16th place

2010 Mr. Olympia – 5th place
2010 NY Pro – 3rd place

2011 Arnold Classic – 2nd place
2011 Australian Pro – 1st place
2011 Flex Pro – 4th place
2011 Mr. Olympia – 5th place
2011 Sheru Classic – 5th place

2012 Arnold Classic – 2nd place
2012 Arnold Classic Europe 2012 – 2nd place
2012 EVLS Prague Pro – 1st place
2012 Mr. Olympia – 6th place

2013 Arnold Classic Europe – 3rd place
2013 Mr. Olympia – 3rd place

2014 Arnold Classic Europe – 1st place
2014 EVLS Prague Pro – 1st place
2014 Mr. Olympia – 4th place

2014 San Marino Pro – 2nd place
2014 Arnold Classic – 1st place

2015 EVL's Prague Pro – 4th place
2015 Mr. Olympia – 4th place

2018 Arnold Classic – 12th place


- END -






Tuesday, September 1, 2020

Dexter Jackson - หน้า 2 -

 

- หน้า 2 

1  <  2

        บุรุษเหล็ก ผู้ยังคงประกวดอยู่ แม้อยู่ในวัย 50 ปีแล้วก็ตาม และรายการที่ยังประกวดอยู่นั้น ก็เป็นรายการประกวดอันดับ 1 ของโลก คือรายการมิสเตอร์โอลิมเปีย

       ในรายการมิสเตอร์โอลิมเปียที่ประกวดอยู่นั้น เขาได้แข่งขันในเวทีประกวดเดียวกับนักเพาะกายคนอื่นที่อายุน้อยกว่าเขาถึง 20 - 25 ปี อีกด้วย  


       คุณ เด็กซ์เตอร์  แจ็กสัน เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2512  /  November 25 ,1969 ( อ้างอิงจาก Wikipedia ) นั่นก็หมายความว่า ถ้าเขาขึ้นเวทีประกวดมิสเตอร์โอลิมเปียในปี พ.ศ.2562 ( ค.ศ.2019 ) เขาก็จะมีอายุ 50 ปี ( มาจาก พ.ศ.2562 "ลบด้วย" พ.ศ.2512 )

       เรามาดูหลักฐานการขึ้นประกวดในปี พ.ศ.2562 ( ค.ศ.2019 ) กันครับ ข้างล่างนี้ ....

ดูจากเอกสารการให้คะแนนของกรรมการ

ในการประกวดรายการมิสเตอร์โอลิมเปีย ปี พ.ศ.2562 ( ค.ศ.2019 )

ข้างล่างนี้ )


ภาพบน ) ข้างบนี้คือใบให้คะแนนของกรรมการประกวดเพาะกาย





      ( ภาพบน ) ตรงที่ ลูกศรสีส้ม-เหลือง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ บอกไว้ว่าเป็นการให้คะแนนในรายการประกวด มิสเตอร์โอลิมเปีย ปี 2019 ( หรือ พ.ศ.2562 นั่นเอง )

       และเมื่อดูตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน-ฟ้า ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ก็จะเห็นได้ว่ามีคุณเด็กซ์เตอร์  แจ็กสัน เข้าประกวดอยู่จริงๆ

       จากใบให้คะแนนของกรรมการ ที่ให้คะแนนกับนักเพาะกายใน ปี 2019 ( หรือ พ.ศ.2562 ) นี้ ก็คือหลักฐานยืนยันว่าคุณ เด็กซ์เตอร์  แจ็กสัน ได้เข้าประกวดในรายการนี้จริงๆ 

ให้ Search ที่กูเกิ้ล ด้วยคำว่า

"Dexter jackson at Mr.Olympia 2019 stage"


ข้างล่างนี้ )

ภาพบน ) ภาพ เด็กซ์เตอร์  แจ็กสัน ที่มีอายุ 50 ปี

ที่ปรากฏอยู่บนเวทีประกวด มิสเตอร์โอลิมเปีย ค.ศ.2019 
 


      ( ภาพบน ) ในเมื่อเรารู้ว่า เด็กซ์เตอร์  แจ็กสัน เกิดปี ค.ศ.1969 นั่นก็หมายความว่า ถ้าเขาปรากฏตัวบนเทวีมิสเตอร์โอลิมเปีย ค.ศ.2019 เขาก็จะมีอายุ 50 ปี ( คือมาจาก 2019 - 1969 )

       ดังนั้น ถ้าเราอยากรู้ว่า นักเพาะกายที่ชื่อ เด็กซ์เตอร์  แจ็กสัน ที่มีอายุ 50 ปี จะมีรูปร่าง "เป๊ะ" ขนาดไหน เราก็ Search ที่กูเกิ้ล ด้วยคำว่า "Dexter jackson at Mr.Olympia 2019 stage" เราก็จะได้เห็นภาพของ เด็กซ์เตอร์  แจ็กสัน ที่มีอายุ 50 ปี ที่อยู่บนเวที มิสเตอร์โอลิมเปีย ได้อย่างชัดเจน 


ภาพบน ) :ผลการ Search ที่กูเกิ้ล ด้วยคำว่า

"Dexter jackson at Mr.Olympia 2019 stage


      ( ภาพบน ) เพื่อนสมาชิกอาจจะคิดว่า เป็นไปได้หรือ ที่คนอายุ 50 ปีแล้ว ยังจะประกวดเพาะกายอยู่ แล้วยังมีรูปร่าง "เป๊ะ" อย่างนี้ ตัดต่อภาพหรือเปล่า? หรือว่าโกงอายุหรือเปล่า?
 
       ถ้าคุณสงสัยเช่นนั้น ก็สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการ Search ที่กูเกิ้ล ตามที่ผมบอกเลยนะครับ แล้วคุณก็จะได้เห็นภาพของจริง ที่เป็นหลักฐานชัดเจนเช่นนี้ 


ภาพถ่ายตอนอายุ 44 ปี กับอีก 10 เดือน

ข้างล่างนี้ )





     ( ภาพบน ) 2 ภาพข้างบนนี้ คือภาพถ่ายของคุณ เด็กซ์เตอร์  แจ็กสัน ในวัย 44 ปี กับอีก 10 เดือน ในตอนที่ขึ้นประกวด มิสเตอร์โอลิมเปีย ค.ศ. 2014 ครับ

       คุณเด็กซ์เตอร์  เกิดปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2512 ( ค.ศ.1969 ) ส่วนการประกวด มิสเตอร์โอลิมเปีย ปี 2014 จัดระหว่างวันที่ 18 - 2 1 กันยายน พ.ศ.2557 ( ค.ศ.2014 )  /  นั่นก็หมายความว่า ณ.วันที่ประกวดมิสเตอร์โอลิมเปีย ( คือวันที่คุณเด็กซ์เตอร์  ถ่ายภาพข้างบนนี้ ) ก็คือภาพตอนที่เขาอายุ 44 ปีกับอีก 10 เดือน นั่นเองครับ )

       ดูเอาแล้วกันว่า คนอายุ มีหุ่น "เป๊ะ" ขนาดไหน ลองเทียบกับตัวคุณเองสิครับ คุณอายุเท่าไร? หุ่นสู้คุณ เดกเทอร์ แจ็คสัน ในภาพนี้ได้ไหม?  


- END -

1  <  2

Sunday, August 23, 2020

การนับด้วยวิธีของ ฌอน เรย์

 
การนับด้วยวิธีของ ฌอน เรย์ 


บริหารด้วยแขนพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง แต่สลับซ้ายและขวา 


       ที่มาของเทคนิคนี้ก็คือว่า เมื่อเราตั้งใจจะบริหารเซทละ 12 Reps  /  เวลาที่เราบริหารไปถึง Reps ที่ 10 เราจะรู้สึกเหนื่อยมาก จนไม่อยากทำ Reps ที่ 11 และ 12 ต่อเลย

       ฌอน  เรย์ จึงแนะนำว่า ให้แบ่งกลุมจำนวน Reps ทั้งหมดนั้น เป็นกลุ่มย่อยๆ 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 Reps

       หมายถึงว่า ถ้าเราบริหาร 12 Reps ตามปกติเราจะนับ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 , 9 , 10 , 11 , 12 แต่เมื่อเราแบ่งกลุ่มใหม่ ให้นับเป็นกลุ่มละ 4 Reps เราก็จะนับใหม่ว่าเป็น 1 , 2 , 3 , 4 , 1 , 2 , 3 , 4 , 1 , 2 , 3 , 4

       คือหมายความว่า ตอนที่ทำ Reps ที่ 5 เราก็นับว่าเป็น 1  /  ตอนที่ทำ Reps ที่ 6 เราก็นับว่าเป็น 2  /  ตอนที่ทำ Reps ที่ 7 เราก็นับว่าเป็น 3  /  ตอนที่ทำ Reps ที่ 8 เราก็นับว่าเป็น 4  / ตอนที่ทำ Reps ที่ 9 เราก็นับว่าเป็น 1  /  ตอนที่ทำ Reps ที่ 10 เราก็นับว่าเป็น 2  /  ตอนที่ทำ Reps ที่ 11 เราก็นับว่าเป็น 3  /  ตอนที่ทำ Reps ที่ 12 เราก็นับว่าเป็น 4

       นั่นก็หมายความว่าถ้าเราใช้เทคนิคการนับของ ฌอน เรย์ เวลาที่เราบริหารใน Reps ที่ 10 แทนที่เราจะนับว่า 10  ก็เป็นการนับว่า "2 /  ซึ่งการที่เรานับว่า "2" นั้น ใน "จิตใต้สำนึก" ของเรา ก็จะบอกเราว่า ตอนนี้เราพึ่งทำที่ Reps ที่ 2 เท่านั้น เราจะไม่รู้สึกเหนื่อยมาก


* * * ยกตัวอย่างในการบริหารท่าข้างบนนี้ ซึ่งก็คือท่า Alternating Dumbbell Curl - Standing  /  เมื่อเราใช้เทคนิคของ ฌอน  เรย์ และเราตั้งใจจะบริหารเซทละ 12 Repsขึ้นไป เราก็จะ "หาร 3" เป็น 3 กลุ่มย่อย , เช่นถ้าจะบริหาร 12 Reps เราก็แบ่งเป็นกลุ่มละ 4 Reps  

       คือให้นับในใจว่า "1,1" "2,2" "3,3" "4,4" "1,1" "2,2" "3,3" "4,4" "1,1" "2,2" "3,3" "4,4" 


* * * ถ้าเราตั้งใจจะบริหารเซทละ 10 Repsลงมา เราก็จะ "หาร 2" , เช่นถ้าจะบริหาร 10 Reps เราก็แบ่งเป็นกลุ่มละ 5 Reps  

       คือให้นับในใจว่า "1,1" "2,2" "3,3" "4,4" "1,1" "2,2" "3,3" "4,4" "1,1" "2,2" "3,3" "4,4" 



       ถ้าจะบริหาร 8 Reps เราก็แบ่งเป็นกลุ่มละ 4 Reps  

       คือให้นับในใจว่า "1,1" "2,2" "3,3" "4,4" "1,1" "2,2" "3,3" "4,4"



- END -


Monday, August 10, 2020

Gustavo Badel

 
Gustavo Badell

- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ชื่อภาษาต่างประเทศ : Gustavo Badell    

ชื่อภาษาไทย : กุสตาโว บาเดล  

นามแฝง หรือ ฉายา : The Freakin’ Rican 

วันเดือนปีที่เกิด : 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2515  / November 3 , 1972

สถานที่เกิด : Maracaibo, Venezuela 

ที่อยู่ปัจจุบัน : Las Vegas, Nevada, USA  


ความสูง : 173 ซม.( 5 ฟุต 8 นิ้ว )

น้ำหนัก : ช่วงฤดูการแข่งขัน 109 กก. ( 240 ปอนด์ )  /  ช่วงนอกฤดูการแข่งขัน 120 กก. ( 260 - 265 ปอนด์ )

สัดส่วน : ต้นแขน 21.5 นิ้ว ( 55 ซม. ) 

ได้ใบรับรองเป็นนักเพาะกายอาชีพ : จากการประกวดในรายการ 1997 Caribbean Championships  ( ขณะที่อายุ 25 ปี )


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ประวัติโดยสังเขป :  

       Badell เกิดในเวเนซุเอลา แต่ครอบครัวของเขาย้ายไปเปอร์โตริโกเมื่อเขาอายุ 5 ปี เขาเริ่มยกน้ำหนักเมื่ออายุ 15 ปีเพื่อเพิ่มน้ำหนักตัวสำหรับการชกมวย และร่างกายของเขาพัฒนากล้ามเนื้อได้เร็วอย่างน่าอัศจรรย์

       เมื่อเขาอายุ 19 ปี เขาชนะการแข่งขันเพาะกายครั้งแรก รายการ 1991 Junior Caribbean Bodybuilding Championships

       เขาใช้เวลาฝึกเพียง 6 ปี ก็ได้ใบประกาศเป็นนักเพาะกายอาชีพ หลังชนะรายการ 1997 Caribbean Championships

       ต่อมาเขาเข้าแข่งขันรายการที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังทำอันดับได้ไม่ดีนัก โดยเข้าแข่งขัน Mr. Olympia ครั้งแรกในปี 2002 โดยได้อันดับที่ 24 ต่อมาเขาได้รับการฝึกจาก Milos Sarcev ในปี 2003 และร่ายกายของเขาก็พัฒนาขึ้นไปในระดับสุดยอดและได้อันดับที่ 3 Mr. Olympia ถึง 2 ปีติดกันในปี 2004, 2005 ( เป็นรองเพียง Ronnie Coleman และ Jay Cutler เท่านั้น )


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

รายการประกวดที่ผ่านมา :

พ.ศ.2534  /  ค.ศ.1991
       1991 Junior Caribbean Championships, overall winner

พ.ศ.2540  / ค.ศ.1997
       1997 Caribbean Championships, overall winner (received pro card)
       1997 World Amateur Championships Heavyweight, 10th 

พ.ศ.2541  / ค.ศ.1998
       1998 Grand Prix Germany, 9th 

พ.ศ.2542  / ค.ศ.1999
       1999 Grand Prix England, 17th 
       1999 Night of Champions, DNP
       1999 World Pro Championships, 14th

พ.ศ.2543  / ค.ศ.2000
       2000 Ironman Pro Invitational, 18th 
       2000 Night of Champions, Did Not Place 
       2000 Toronto Pro Invitational, Did Not Place 
       2000 World Pro Championships, 11th 

พ.ศ.2544  / ค.ศ.2001
       2001 Grand Prix England, Did Not Place 
       2001 Ironman Pro Invitational, 16th 
       2001 San Francisco Pro Invitational, 11th 

พ.ศ.2545  / ค.ศ.2002
       2002 Ironman Pro Invitational, 13th
       2002 Night of Champions, 10th
       2002 Mr. Olympia, 24th 
       2002 Southwest Pro Cup, 6th
       2002 Toronto Pro Invitational, 3rd 

พ.ศ.2547  / ค.ศ.2004
       2004 Arnold Classic, 7th 
       2004 Ironman Pro Invitational, 3rd
       2004 San Francisco Pro Invitational, 4th
       2004 Show of Strength Pro Championship, 3rd
       2004 Mr. Olympia, 3rd

พ.ศ.2548  / ค.ศ.2005
       2005 Arnold Classic, 3rd 
       2005 Ironman Pro Invitational, 1st 
       2005 Mr. Olympia, 3rd

พ.ศ.2549  / ค.ศ.2006
       2006  Arnold Classic, 4th
       2006 San Francisco Pro Invitational, 1st
       2006Mr. Olympia, 6th

พ.ศ.2550  / ค.ศ.2007
       2007 Arnold Classic, 4th 
       2007 Mr. Olympia 8th 

พ.ศ.2551  / ค.ศ.2008 Ironman Pro Invitational, 2nd 
       2008 Arnold Classic, 6th
       2008 Mr. Olympia, 10th 

พ.ศ.2552  / ค.ศ.2009
       2009 IFBB Olympia, 13th 
       2009 IFBB Atlantic City Bodybuilding, Fitness & Figure Championships, 1st 
       2009 IFBB Arnold Classic, 11th


- END -

Saturday, July 25, 2020

ถามเรื่องจำนวน Reps


ถาม : จำนวนครั้งที่เราใช้ยก มีผลมากน้อยแค่ใหนในการพัฒนากล้ามเนื้อครับ ทั้งจำนวนครั้ง จำนวนเซท / แต่โดยส่วนตัว ชอบเล่นน้ำหนักที่ไม่หนักมาก แล้วยกสัก12-15 ครั้ง สัก 5-6เซท กำลังดี มันโฟกัสกล้ามเนื้อ ได้ดี รู้สึกว่ากล้ามเนื้อได้ทำงานเต็มที่ 


ตอบ : ก่อนอื่น ขอพูดถึงคำว่า "จำนวนครั้ง" ก่อนนะครับ คือโดยส่วนตัว ผมจะเรียกว่า Reps ( แต่เพื่อนสมาชิกจะเรียกว่า "จำนวนครั้ง" ก็ไม่เป็นไรครับ ไม่ได้ว่าอะไร ) สาเหตุที่ผมเรียกว่า Reps ผมทำคำอธิบายไว้ที่ลิงก์นี้แล้ว   http://www.tuvayanon.net/R-ep6-001001B-591127-1718.html 

       เอาล่ะครับ คราวนี้ก็มาเข้าเรื่องกันได้แล้ว

       หลักของ Reps ที่ใหญ่ที่สุด ครอบคลุมทั้งหมดก็คือ กล้ามเนื้อส่วนที่เล็ก จะต้องบริหารด้วยจำนวน Reps ต่อเซท ที่มากกว่ากล้ามเนื้อส่วนที่ใหญ่ ประมาณ 20%

       ถามว่าตัวเลข 20% นี้มาจากไหน? คำตอบก็คือ ตัวเลขนี้ มาจากการดูตารางฝึกของแชมป์ต่างๆ ในรอบ 35 ปีของผมนั่นเองครับ อาจจะมีส่วนน้อยที่ไม่ใช่อย่างที่ผมสังเกตุ แต่อีก 99% ที่เหลือ เป็นอย่างที่ผมสังเกตุ ( อย่างที่ผมสังเกตุ หมายถึง การที่แชมป์เขาบริหาร กล้ามเนื้อส่วนที่เล็ก จะมีจำนวน Reps ต่อเซท มากกว่ากล้ามเนื้อส่วนที่ใหญ่ ประมาณ 20% ) 

       ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณบริหารกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ 8 Reps ต่อเซท ล่ะก็ กล้ามเนื้อชิ้นเล็ก เช่น แขน ( ทั้งไบเซบ และไทรเซบ ) ก็จะบริหาร 10 Reps ต่อเซท  /  ก็คือ กล้ามแขน จะบริหารด้วยจำนวน Reps ต่อเซท มากกว่ากล้ามอก 20% หรือ 2 ครั้งนั่นเอง ไม่ งง นะครับ

       ถ้าคุณบริหารกล้ามหน้าอก 10 Reps ต่อเซท ล่ะก็ กล้ามเนื้อชิ้นเล็ก เช่น แขน ก็จะบริหาร 12 Reps ต่อเซท ( คือ มันมากกว่า 20% นิดหน่อย แต่ก็ไม่ไปซีเรียสครับ ตีเป็น 20% นั่นแหละ )  

       คำว่ากล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ในที่นี้คือ อก ปีก ต้นขา บ่า

       คำว่ากล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ในที่นี้คือ ไบเซบ ไทรเซบ

* * * ในที่นี้ คำว่า กล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ผม "ไม่รวม" กล้ามท้อง ,กล้ามหลังส่วนล่าง ,น่อง ( และ แขนทอนปลาย นะครับ  /  ที่ผมใส่แขนท่อนปลายเอาไว้ใน "วงเล็บ" เพราะตามปกติ "ไม่ต้อง" บริหารกล้ามแขนท่อนปลายนะครับ แต่ถ้าเพื่อนสมาชิกอยากบริหาร ก็ตามใจนะครับ ผมก็เลยใส่ไว้ใน "วงเล็บ" เพื่อที่จะจัดหมวดหมู่ว่า ถ้าเพื่อนสมาชิกจะบริหารแขนท่อนปลายล่ะก็ แขนท่อนปลายนั้น ไม่ถือว่าเป็นกล้ามเนื้อชิ้นเล็กในความหมายของผมนะครับ  /   แขนท่อนปลาย ( ถ้าบริหาร ) ก็จะอยู่ในหมวดของ กล้ามท้อง ,กล้ามหลังส่วนล่าง และ น่อง ครับ ) 


* * * คือหมายความว่า ถ้าคุณบริหารหน้าอก 8 Reps ต่อเซท ก็ไม่ใช่ว่าคุณจะบริหารกล้ามท้อง แค่ 10 Reps ต่อเซท ( คือตัวเลข 20% ) เพราะถือว่า กล้ามท้องเป็นกล้ามเนื้อชิ้นเล็กนะครับ ( เพราะผมไม่ได้รวม กล้ามท้อง ,กล้ามหลังส่วนล่าง และน่อง อยู่ในความหมายของคำว่า "กล้ามเนื้อชิ้นเล็ก" ของผม  /  คำว่ากล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ในที่นี้คือ ไบเซบ ไทรเซบ )  

       ที่ถูกคือ ไม่ว่าคุณจะบริหารหน้าอก ( คือกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ) 8 Reps ต่อเซท หรือ 10 Reps ต่อเซท ก็ตาม มันก็ไม่เกี่ยวกับ กล้ามท้อง ,กล้ามหลังส่วนล่าง และน่อง

       คือ คุณก็ต้องบริหาร กล้ามท้อง ,กล้ามหลังส่วนล่าง และน่อง ในจำนวน 15 Reps ต่อ เซท ขึ้นไป ( ไม่ว่าจะบริหารกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ 8 Reps ต่อเซท หรือ 10 Reps ต่อเซท - เพราะมันไม่เกี่ยวกัน ) 


สรุปส่วน "หลัก" นี้ก่อนว่า

* * * ถ้าบริหารอก ( คือกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ) 8 Reps ต่อเซท ก็จะต้องบริหารไบเซบ ( คือกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ) 10 Reps ต่อเซท 


* * * ถ้าบริหารอก ( คือกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ) 10 Reps ต่อเซท ก็จะต้องบริหารไบเซบ ( คือกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ) 12 Reps ต่อเซท    


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

       ข้างบนนี้ คือ "หลัก" ทั่วไปเกี่ยวกับจำนวน Reps ที่ผมต้องการจะสื่อสารกับเพื่อนสมาชิกนะครับ คราวนี้ ผมจะพูดถึง "ส่วนย่อย" ของจำนวน Reps นะครับ

       นักเพาะกายบาบคน จะมีโหมดการฝึก 2 แบบคือ  


* * * โหมด 1. - บริหารด้วยน้ำหนัก "มาก" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "น้อย" 

* * * และ โหมด 2. - บริหารด้วยน้ำหนัก "น้อย" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "มาก"

       ( บางคน ก็ไม่มี 2 โหมดแบบนี้นะครับ คือบริหารไปตามปกติเรื่อยๆ แต่บางคนก็มี 2 โหมดแบบนี้ - แล้วแต่ความชอบ )

       สองโหมดนี้ จะ "สลับกันไปมา" 

       บางคนสลับกันทุก 6 เดือน ,บางคนสลับกันทุก 3 อาทิตย์ ( เป็นความนิยม พอๆกันครับ - เท่าที่ผมสังเกตุดูจากตารางฝึกของแชมป์ ( แต่ต้องขอบอกก่อนว่า แชมป์บางคน จะเล่นไปตามปกติ ไม่มี 2 โหมดนี้ )  /  คำพูดของผมที่บอกว่า "เป็นความนิยม พอๆกัน" หมายถึง การที่บางคนสลับกันทุก 6 เดือน ,บางคนสลับกันทุก 3 อาทิตย์ ครับ ว่าสองอย่างนี้ มีความนิยมพอๆกัน บางคนก็สลับกันทุก 6 เดือน ,บางคนก็สลับกันทุก 3 อาทิตย์ )

* * * ถ้าคุณอยู่ในโหมดบริหารด้วยน้ำหนัก "มาก" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "น้อย" ก็หมายถึงว่า คุณจะบริหารหน้าอก แค่ 8 Reps ต่อเซท ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่า คุณจะบริหารกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก เช่น ไบเซบ 10 Reps ต่อเซท ตามหลัก 20% ที่ผมพูดมาก่อนหน้านี้


* * * ถ้าคุณอยู่ในโหมดบริหารด้วยน้ำหนัก "น้อย" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "มาก" ก็หมายถึงว่า คุณจะบริหารหน้าอก 10 Reps ต่อเซท ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่า คุณจะบริหารกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก เช่น ไบเซบ 12 Reps ต่อเซท ตามหลัก 20% ที่ผมพูดมาก่อนหน้านี้ 


       สรุปส่วน "ย่อย" นี้ว่า

       นักเพาะกายบางคน จะแบ่งการฝึกเป็น 2 โหมด

* * * โหมด 1. - บริหารด้วยน้ำหนัก "มาก" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "น้อย"  /  ก็คือ การบริหารอก ( คือกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ) 8 Reps ต่อเซท แล้วบริหารไบเซบ ( คือกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ) 10 Reps ต่อเซท


* * * โหมด 2. - บริหารด้วยน้ำหนัก "น้อย" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "มาก"  / ก็คือ การบริหารอก ( คือกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ) 10 Reps ต่อเซท แล้วบริหารไบเซบ ( คือกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ) 12 Reps ต่อเซท


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

       คราวนี้ มาดูในคำถามของเพื่อนสมาชิกที่บอกว่า ชอบบริหารเซทละ 12 - 15 ครั้ง ( หรือ Reps ) แต่ไม่ได้บอกว่าสำหรับกล้ามเนื้อชิ้นไหน? 

       คืออาจหมายถึงว่า บริหารหน้าอก ( ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ) ก็ 12 - 15 Reps ต่อเซท  /  บริหารแขน ( ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก ) ก็ 12 - 15 Reps ต่อเซท 

       ความหมายของเพื่อนสมาชิกคือว่า เพื่อนสมาชิกชอบบริหารด้วยตัวเลขนี้ คือ 12 - 15 Reps ต่อเซท "เป็นหลัก" คือใช้กับการบริหารทุกกล้ามเนื้อ ( ทั้งใหญ่และเล็ก )

       จริงๆแล้ว เพื่อนสมาชิกจะบริหารอย่างไรก็ได้ "แต่" ถ้าถามผม ผมก็จะใช้หลักการสังเกตุจากตารางของแชมป์มาพูดให้ฟังนะครับ คือ

* * * การบริหาร 12 - 15 Reps ต่อเซท ควรจะใช้กับกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก เช่น ไบเซบ และไทรเซบ  


* * * ถ้าคุณบริหารไบเซบ 12 Reps ต่อเซท คุณก็ควรบริหารหน้าอก 10 Reps ต่อเซท


* * * ถ้าคุณบริหารไบเซบ 15 Reps ต่อเซท คุณก็ควรบริหารหน้าอก 12 Reps ต่อเซท ( ไม่ควรเกินนี้ คือไม่ควรเกิน 12 Reps นี้ ) ( จริงๆแล้ว ตามหลัก 20% คือ ถ้าคุณบริหารไบเซบ 15 Reps ต่อเซท แล้ว คุณควรบริหารหน้าอก 13 Reps ต่อเซท - แต่ผมแนะนำว่า กล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ทั่วร่างกาย ไม่ควรบริหารเกิน 10 Reps ต่อเซท หรืออย่างมากสุดก็ 12 Reps ต่อเซท  /  ไม่ว่าคุณจะอยู่โหมดไหนก็ตาม )


* * * ที่ผมแนะนำว่า กล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ไม่ควรบริหารเกิน 10 Reps ต่อเซท หรืออย่างมากสุด ก็ได้แค่ 12 Reps ต่อเซท นั้น นับว่ามากที่สุดแล้ว คือถึงลิมิตของมันแล้ว ( คือกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ทั่วร่างกาย มีลิมิตว่า ไม่ควรบริหารเกิน 10 Reps ต่อเซท หรืออย่างมากสุดก็ 12 Reps ต่อเซท  /  ไม่ว่าคุณจะอยู่โหมดไหนก็ตาม ) 


* * * "ถ้า" คุณบริหารกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ 15 Reps ต่อเซท นั่นคือการ Burn


* * * การ Burn เป็นของกีฬาฟิตเนส "ไม่ใช่เพาะกาย" น่ะครับ คนละตำรากัน ดังนั้น "ไม่ควรทำ"


* * * แต่บริหารกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก 15 Reps ต่อเซท "ได้ครับ" ยังถือว่าเป็นการเพาะกาย  /  แต่ถ้าบริหารกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ 15 Reps ต่อเซท มันเป็นฟิตเนสไปแล้ว เพราะมันเป็นการ Burn ไปแล้ว 


* * * ถ้าคุณบริหารไบเซบ 15 Reps ต่อเซท นั่นแปลว่า คุณกำลังอยู่ในโหมด 2.คือ โหมดบริหารด้วยน้ำหนัก "น้อย" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "มาก"  /  ดังนั้น ข้อแนะนำคือ พอครบ 6 เดือน ( หรือทุกๆ 3 อาทิตย์ก็ได้ )  คุณควรสลับไปใช้ โหมด 1.คือ โหมดบริหารด้วยน้ำหนัก "มาก" แต่จำนวน Reps ต่อเซท "น้อย"


* * * ยกตัวอย่างเช่น ณ.วันที่คุณบริหาร ไบเซบ 15 Reps ต่อเซท ( ซึ่งคุณก็จะต้องบริหารหน้าอก 12 Reps ต่อเซท ) พออีก 6 เดือนข้างหน้า ( หรือ 3 อาทิตย์ข้างหน้า ) ก็ให้คุณบริหารไบเซบ 10 Reps ต่อเซทเท่านั้น ( ซึ่งคุณก็จะต้องบริหารหน้าอก 8 Reps ต่อเซท - ไม่ งง นะครับ คือตามหลัก 20% ที่ผมพูดไว้ก่อนหน้านี้ ) 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

       ข้อแนะนำเพิ่มเติม - คือ เรื่อง "น้ำหนักที่ใช้"  

       ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า คุณควรใช้น้ำหนักกี่ กิโลกรัม สำหรับบริหาร หน้าอก ปีก ไบเซบ  /   แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า คุณกำหนด จำนวน Reps ต่อเซท สำหรับกล้ามเนื้อชิ้นนั้นไว้เท่าไรต่างหาก อธิบายได้ดังนี้

* * * ถ้าคุณกำหนดว่า เซทนี้ คุณจะบริหาร 12 Reps ( สมมติว่าเป็นการเล่นไบเซบ ) นั่นก็หมายความว่า คุณจะบริหาร Reps ที่ 13 ไม่ได้  /  ถ้าคุณบริหาร Reps ที่ 13 ได้ นั่นแสดงว่า น้ำหนักที่ใช้ "เบาไป" ต้องเพิ่มน้ำหนักแล้ว 


* * * ถ้าคุณกำหนดว่า เซทนี้ คุณจะบริหาร 12 Reps ( สมมติว่าเป็นกล้ามเนื้อชิ้นเดิม คือ ไบเซบ ) แล้วคุณทำได้แค่ 11 Reps ไม่สามารถทำ Reps ที่ 12 ( ตามที่กำหนดไว้ ) นั่นแสดงว่า น้ำหนักที่ใช้ "หนักไปแล้ว" คุณต้องลดน้ำหนักที่ใช้ลงแล้ว 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

* * * ถ้า งง ก็ให้กลับไปยอ้นอ่านจากตอนเริ่มต้นอีกทีครับ


- END -


Wednesday, July 22, 2020

Roy Callender


Roy Callender


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ชื่อภาษาต่างประเทศ : Roy Callender 

ชื่อภาษาไทย : รอย คอลเลนเดอร์  

นามแฝง หรือ ฉายา : Mr. Universe Roy Callender ,  Barbados Bomber 

วันเดือนปีที่เกิด : 31 ตุลาคม พ.ศ.2487  /  October 31, 1944 

สถานที่เกิด : Brigetown , BARBADOS 

ที่อยู่ปัจจุบัน : Montreal , CANADA 


ความสูง : 173 เซนติเมตร  /  5 ฟุต 8 นิ้ว

น้ำหนัก : 100 กก. ( 220 ปอนด์ ) 


ได้ใบรับรองเป็นนักเพาะกายอาชีพ : จากการประกวดในรายการ IFBB Mr. International 1977 ( ขณะที่อายุ 33 ปี ) 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ประวัติโดยสังเขป :  

       Callender เกิดในบาร์เบโดสกับคู่รักนักวิชาการ ความสนใจในการเพาะกายของเขาเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 8 ขวบและหลังจากย้ายไปอังกฤษเพื่อเรียนกฎหมายและตั้งแต่ปี 1967 เขาก็เริ่มแข่งขันและได้รับตำแหน่ง Mr Southeast Britain ในปีเดียวกัน เขากลายเป็น Mr. United Kingdom ในปี 1968 หลังจากจบอันดับสองในระดับความสูงปานกลางใน NABBA Amateur Universe ในปี 1967 , 1969 และ 1971 คาลเลนเดอร์ก็ย้ายไปแคนาดาซึ่งเขาชนะการประกวด Mr. Canada หลังจากนั้นเขาวางมือจากการแข่งขันเพาะกายและมีบทบาทสั้น ๆ ในหนังตลกร้ายแนวทดลองของ Dušan Makavejev


มวยปล้ำอาชีพ

       คาลเลนเดอร์เริ่มอาชีพนักมวยปล้ำอาชีพในปี 1974 เปิดตัวครั้งแรกกับนักฆ่าทิมบรูคส์ในมอนทรีออล เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งด้วยฉายา "Mr. Universe" ในอาชีพการงานของเขาและได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็น Stampede Wrestling คาลเลนเดอร์เกษียณในตอนท้ายของปี 1976 ในการแข่งขันกับ Keith Hart ใน Calgary


กลับไปเพาะกาย

       Callender ติดต่อเจ้าของโรงยิมและ Jimmy Caruso ช่างภาพเพื่อเตรียมเขาให้พร้อมสำหรับการกลับมาแข่งขันเพาะกายและในวันที่ 10 กันยายน 1977 , Callender แข่งขันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1971 ชนะการแข่งขัน Canadian Championships ใน Calgary เขาเป็นผู้ชนะใน IFBB Pro Universe ในปี 1979 หลังจากแข่งขันมิสเตอร์โอลิมเปียสี่ครั้งและประสบความสำเร็จแตกต่างกันไปเขากลับไปที่บาร์เบโดสในปี 1982 หลังจากโอลิมเปียครั้งที่ 5 ในปี 1984 เขามีช่วงว่างสามปีในประเทศบ้านเกิดของเขาและหลังจากได้อันดับที่ 7 ที่ IFBB Grand Prix ในเมือง Essen เขาก็เกษียณในปี 1987


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

รายการประกวดที่ผ่านมา : ( นับถึงปี พ.ศ. 2530 ( ค.ศ. 1987 ) )

1967
Mr Southeast Britain, Winner
Mr Universe - NABBA, Medium, 2nd

1968
Mr Southeast Britain, 2nd
Mr United Kingdom, Winner
Universe - IFBB, 6th
Mr World - IFBB, Medium, 2nd

1969
Mr Universe - NABBA, Medium, 2nd

1970
Mr World - IFBB, Medium, 2nd

1971
Mr Universe - NABBA, Medium, 2nd

1977 
Canadian Championships - CBBF, Medium, 1st
Canadian Championships - CBBF, Overall Winner
Mr International - IFBB, HeavyWeight, 1st  
Universe - IFBB, MiddleWeight, 1st

1978
Night of Champions - IFBB, 2nd 
Olympia - IFBB, HeavyWeight, 2nd
Olympia - IFBB, 3rd 
Professional World Cup - IFBB, 3rd 
Universe - Pro - IFBB, Overall Winner

1979
Best in the World - IFBB, Professional, 2nd
Canada Diamond Pro Cup - IFBB, Winner
Canada Pro Cup - IFBB, Did not place
Florida Pro Invitational - IFBB, 6th 
Grand Prix Pennsylvania - IFBB, 2nd 
Grand Prix Vancouver - IFBB, Winner
Olympia - IFBB, HeavyWeight, 4th 
Pittsburgh Pro Invitational - IFBB, 4th 
Universe - Pro - IFBB, Winner 
World Pro Championships - IFBB, Winner  

1980 
Grand Prix Pennsylvania - IFBB, 3rd
Night of Champions - IFBB, 3rd
Olympia - IFBB, 7th 
Pittsburgh Pro Invitational - IFBB, 3rd 

1981  
Grand Prix California - IFBB, 2nd 
Grand Prix Louisiana - IFBB, 3rd
Grand Prix Washington - IFBB, 2nd
Olympia - IFBB, 4th

1982
World Pro Championships - IFBB, 5th

1984
Olympia - IFBB, 5th 

1987 
Grand Prix Germany (2) - IFBB, 7th
Night of Champions - IFBB, Did not place 
World Pro Championships - IFBB, 12th 

- END -