Sunday, September 13, 2020

Confuse

 

Confuse

เทคนิคฝึก ชื่อ "ความสับสน"

     ในร่างกายมนุษย์ จะมียีนอยู่แบบหนึ่งที่มีไว้สำหรับการทำให้ชีวิตมนุษย์อยู่รอด  คือว่าเจ้ายีนตัวนี้จะทำให้ร่างกายมีการพยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ( จากภายนอก ) ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย   /  ซึ่งการปรับตัวที่ว่านั้น ก็คือการทำให้ร่างกายเกิดความ "เคยชิน" กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  /  ซึ่งเมื่อร่างกายเกิดความ "เคยชิน" แล้ว ก็จะทำให้ร่างกายนั้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้โดยไม่ลำบาก

       ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. เคยทานอาหารวันละ 3 มื้อ คือเช้า กลางวัน และเย็น  ซึ่งร่างกายก็จะตั้งระบบไว้ว่า เมื่อถึงเวลาอาหารทั้ง 3 มื้อนั้นแล้ว  น้ำย่อยก็จะมารออยู่ที่กระเพาะอาหารเลย  ถ้ายังไม่ยอมทานอาหารตามเวลา ร่างกายก็จะหิวมาก และน้ำย่อยก็อาจจะกัดกระเพาะอาหารจนเกิดเป็นแผลได้

       ต่อมา เมื่อ นาย ก.ไปบวชเป็นพระในศาสนาพุทธ ซึ่งจำเป็นต้องตัดอาหารมื้อเย็นออก   การตัดอาหารมื้อเย็นออก ก็คือการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันไป ซึ่งร่างกาย "เคยชิน" กับกิจวัตรประจำวันแบบนี้มานาน ( คือการทานอาหารมื้อเย็นทุกวัน )

       เมื่อมีการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน ( คือการตัดอาหารมื้อเย็นออก ) ก็จะทำให้ร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน

       เมื่อร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน  เพราะไม่ได้ทานอาหารเย็น ร่างกายก็จะมีอาการ Aleart ,ตื่นตัว ตามมา  


      อาการ Aleart ,ตื่นตัว ที่ว่านั้น ก็คือการมีอาการกระวนกระวาย ,นอนไม่หลับ ,รู้สึกหิวเป็นอย่างมากในช่วงมื้อเย็น ,หน้ามืดบ่อยๆ

       ซึ่งอาการที่ว่านี้ ( กระวนกระวาย ,นอนไม่หลับ ฯลฯ ) ก็คืออาการที่แสดงออกมาเพื่อให้ร่างกายรับรู้ว่าตอนนี้มีสภาวะไม่ปกติเกิดขึ้นแล้ว ( คือสภาวะที่ร่างกายไม่ได้ทานอาหารมื้อเย็น )

       ซึ่ง นาย ก. ก็ต้องทนกับสภาวะที่ไม่ปกติ ( คือ สภาวะ Aleart ,ตื่นตัว ) แบบนี้ไปเรื่อยๆด้วยความลำบาก  เพราะสิ่งที่เขาต้องทนนี้ คือสิ่งที่ต้องแลกมากับการเข้ามาบวชเป็นพระ ( คือถ้าไม่อยากทนสภาวะ Aleart ,ตื่นตัว นี้  ก็ต้องสึกออกไป - แต่ นาย ก.เลือกที่จะไม่สึก )

       เมื่อร่างกายของ นาย ก. ตกอยู่ในสภาวะ Aleart ,ตื่นตัว ซึ่งทำความลำบากให้กับระบบต่างๆในร่างกายของ นาย ก. เป็นอย่างมาก  /  ณ.ตอนนี้เอง ที่ยีนในร่างกายเข้ามามีส่วนสำคัญในการปรับสมดุลให้กับร่างกาย นาย ก.  ซึ่งก็คือการที่

       เมื่อถึงเวลาที่จะต้องทานอาหารเย็น แล้วมีน้ำย่อยมารออยู่ในกระเพาะเป็นจำนวนมากนนั้น  ร่างกายก็จะ "ปรับตัวใหม่" โดยไม่ให้มีน้ำย่อยมารอในกระเพาะในช่วงอาหารเย็นอีก


       ระบบการเผาผลาญอาหารจะช้าลง เพราะว่า แต่ก่อน ทานครบ 3 มื้อ จึงมีระบบเผาผลาญอาหารที่เร็ว เพื่อจะเผาผลาญอาหารทั้ง 3 มื้อให้เป็นพลังงานทั้งหมด แต่ ณ.ตอนนี้ เหลือการทานแค่ 2 มื้อ จึงไม่จำเป็นต้องมีระบบเผาผลาญที่รวดเร็วเหมือนเมื่อตอน ทาน 3 มื้อ


      จากการที่ร่างกายปรับตัวใหม่ ( คือลดน้ำย่อยในช่วงมื้อเย็น และลดอัตราการเผาผลาญอาหารลง ) ก็เลยทำให้ร่างกายของ นาย ก. กลับไปสู่สภาวะ "เคยชิน" อีกครั้งหนึ่ง

       คำว่าสภาวะ "เคยชิน" ที่ว่านี้ ก็คือการที่ นาย ก. มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ โดยที่ไม่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร และไม่รู้สึกอ่อนเพลีย เหมือนช่วงที่ร่างกาย Aleart ,ตื่นตัว ในช่วงแรกๆของการบวชเป็นพระ


      จากที่อ่านมาในตอนต้น เราได้รู้จักกับยีนพิเศษในร่างกายของ "คนปกติทุกคน" แล้วว่า ยีนตัวนี้ จะพยายามทำให้ร่างกาย "หลีกหนี" จากการ เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน ( ซึ่งการ เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน ที่ว่านี้ จะส่งผลเป็นลูกโซ่จนทำให้ร่างกายเกิดอาการ Aleart ,ตื่นตัว ในภายหลัง ) ได้ด้วยการทำให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆในร่างกาย  ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราจะตัดมื้ออาหารเย็นไปตลอดชีวิต  ไอ้เจ้ายีนพิเศษตัวนี้ ก็จะทำการลดน้ำย่อย ลดกรดในกระเพาะอาหารในช่วงเย็น , และยังลดอัตราการเผาผลาญอาหารในช่วงก่อนมื้อเย็นให้ช้าลง ฯลฯ

       เอาล่ะ 
คราวนี้ เรามาดูกันว่า เราจะนำการทำหน้าที่ของยีนพิเศษตัวนี้ มาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเพาะกายของเราได้อย่างไร? มาดูกันครับ

       สมมติว่ากล้ามเนื้อไบเซบของคุณ มีศักยภาพในการยกดัมเบลล์ในท่า Concentration Curls  ได้ด้วยการใช้ดัมเบลล์ขนาด 6 กก. เท่านั้น สมมตินะครับ )

       ถ้าคุณยกดัมเบลล์ด้วยท่านี้ ( คือ Concentration Curls ) โดยใช้ดัมเบลล์น้ำหนัก 6 กก. ไปตลอดชีวิต กล้ามเนื้อไบเซบของคุณก็จะไม่เติบโตขึ้น ไม่ใหญ่ขึ้น

       เหตุที่กล้ามไบเซบของคุณไม่ใหญ่ขึ้น ( เมื่อคุณยกด้วยท่า Concentration Curls โดยใช้ดัมเบลล์หนัก 6 กก.ไปตลอดชีวิต ) ก็เพราะว่า ร่างกายคุณ "เคยชิน" กับการยกดัมเบลล์ในขนาด 6 กก. ด้วยท่า Concentration Curls นี้นั่นเอง

       คราวนี้ สมมติว่าคุณเพิ่มน้ำหนักดัมเบลล์ที่ใช้ขึ้นมาสัก 2 กก. คือใช้น้ำหนักดัมเบลล์เป็น 8 กก.ในการบริหารท่าเดียวกันนี้ ( คือ Concentration Curls ) มาดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น

       ในตอนเริ่มแรก ( สมัยตอนที่ยังใช้ดัมเบลล์ขนาด 6 กก. อยู่ ) เซลล์กล้ามเนื้อใน กล้ามไบเซบ ของคุณ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการยกดัมเบลล์ขนาด 6 กก. ในท่า Concentration Curls  /  คือหมายความว่า ความแข็งแรงของเซลล์กล้ามเนื้อคุณมี "ลิมิต" อยู่แค่การรองรับดัมเบลล์ขนาด 6 กก.ในการยกท่า Concentration Curls นี้

       คราวนี้ พอคุณไปยกดัมเบลล์ขนาด 8 กก. ในท่าเดียวกันนี้เข้า ( คือท่า Concentration Curls ) เซลล์กล้ามเนื้อไบเซบของคุณก็เลยฉีกขาด เกิดการบาดเจ็บในระดับเซลล์ ( Micro Trauma ) ( ไม่ได้ฉีกขาดในระดับใหญ่ คือไม่ได้ฉีกขาดในระดับเส้นใยกล้ามเนื้อฉีกขาด ( ซึ่งต้องเข้าโรงพยาบาล ) หรอกนะครับ ) เพราะว่ามันเกิน "ลิมิต" ที่เซลล์กล้ามเนื้อไบเซบของคุณจะรับไหว

       เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบเกิดการฉีกขาด เกิดการบาดเจ็บในระดับเซลล์  ไอ้เจ้ายีนพิเศษ ( ที่ผมพูดให้ฟังไว้ก่อนหน้านี้ ) ก็เลยรีบมาบริหารจัดการการฉีกขาดนี้ทันที

       วิธีบริหารจัดการกับการฉีกขาดที่เซลล์กล้ามเนื้อไบเซบนี้ ก็คือการที่ยีนตัวนี้ จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย เป็นต้นว่า เกิดการไปดึงเอาสารอาหาร ,เลือด ฯลฯ มาซ่อมแซมเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบที่ฉีกขาดไปนั้นก่อน  จากนั้น ก็จะเพิ่มปริมาณเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบขึ้น เพื่อ "รองรับ" การที่จะต้องใช้กล้ามไบเซบในการยกดัมเบลล์ขนาด 8 กก. นี้ในอนาคต ( คือหมายความว่า ถ้าในอนาคต ร่างกายต้องยกดัมเบลล์ขนาด 8 กก. ในท่า Concentration Curls นี้อีก เซลล์กล้ามเนื้อก็จะไม่ฉีกขาดมากมายนัก เพราะว่ามีปริมาณเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบมากขึ้นแล้ว ( ด้วยการเสริมสร้างเซลล์ไบเซบเพิ่มเข้าไปนี้เอง ) )

       พูดง่ายๆว่า ระบบเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะมี 5 ขั้นตอนคือ

       ขั้นตอนแรก - คือ กล้ามไบเซบมี "ความเคยชิน" กับการใช้ดัมเบลล์ขนาด 6 กก. ในการบริหารท่า Concentration Curls นี้อยู่  /  ซึ่ง "ความเคยชิน" นี้ ก็เลยทำให้กล้ามไบเซบไม่เติบโตขึ้น


       ขั้นตอนที่สอง - คือ เราทำลาย "ความเคยชิน" ด้วยการเปลี่ยนน้ำหนักดัมเบลล์ที่ใช้ให้หนักขึ้นเป็น 8 กก. ในท่า Concentration Curls นี้ ( แต่ก่อนใช้ 6 กก. )

       เมื่อใช้น้ำหนักดัมเบลล์ที่หนักขึ้น ก็เลยทำให้เซลล์กล้ามเนื้อไบเซบ เกิดการฉีกขาด เกิดการบาดเจ็บในระดับเซลล์

       พอเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบ เกิดการฉีกขาด เกิดการบาดเจ็บในระดับเซลล์ ร่างกายก็ เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน  เพราะระบบปฏิกิริยาอัตโนมัติของร่างกาย กลัวว่าร่างกายจะ "ตาย" ด้วยเหตุแห่งการบาดเจ็บ ( ในระดับเซลล์ ) นั้น


       ขั้นตอนที่สาม - คือเมื่อร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน ขึ้นมา ร่างกายก็มีอการ Aleart ,ตื่นตัว ตามมา


       ขั้นตอนที่สี่ - เมื่อร่างกายมีอาการ Aleart ,ตื่นตัว  เพราะกลัวว่าจะ "ตาย" จากอาการบาดเจ็บ ( ในระดับเซลล์ ) นั้น ได้เจ้ายีนพิเศษจึงต้องออกมาบริหารจัดการ เพื่อ "ลดอาการ"  Aleart ,ตื่นตัว ลง

       ซึ่งวิธีบริหารจัดการของยีนตัวนั้นก็คือ การทำให้ร่างกายทำการซ่อมแซมเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบที่ฉีกขาดนั้น และพยายามเสริมสร้างเซลล์กล้ามเนื้อไบเซบใหม่ๆขึ้นมา เพื่อป้องกันการฉีกขาดอีกในอนาคต

       จนเมื่อร่างกายมีเซลล์ไบเซบที่ซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว และมีเซลล์ไบเซบสำรองเพิ่มมากขึ้น ( เพื่อรองรับการใช้ดัมเบลล์ขนาด 8 กก. ) ร่างกายก็จะ "ลดอาการ" Aleart ,ตื่นตัว ลง คล้ายๆกับการปิดไฟฉุกเฉินในร่างกายลง


       ขั้นตอนที่ห้า - คือเมื่อร่างกาย "ลดอาการ" Aleart ,ตื่นตัว ลงแล้ว  ร่างกายก็จะกลับสู่สภาวะ "เคยชิน" อีกครั้ง

       เมื่อร่างกายกลับสู่สภาวะ "เคยชิน" แล้ว ก็จะกลับไปสู่ขั้นตอนแรกใหม่อีกครั้ง คือหมายความว่า ถ้าคุณยกดัมเบลล์ขนาด 8 กก. ไปตลอดชีวิต กล้ามไบเซบคุณก็จะไม่เติบโตขึ้นไปกว่านี้  


       ในระหว่างที่คุณกำลังใช้ดัมเบลล์ขนาด 8 กก.อยู่นั้น ( หมายถึงว่า คุณยังไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักดัมเบลล์เป็น 10 กก.ได้ เพราะถ้าคุณ "ด่วน" เพิ่มน้ำหนักดัมเบลล์เป็น 10 กก.ในการยกท่า Concentration Curls นี้ กล้ามไบเซบของคุณอาจจะบาดเจ็บในระดับใหญ่ได้ คือกล้ามเนื้อไบเซบอาจจะฉีกขาด จนต้องเข้าโรงพยาบาลผ่าตัดไปเลย ) สักพัก ร่างกายก็จะเกิด "ความเคยชิน" อีก ทำให้กล้ามไบเซบไม่พัฒนาขึ้น ไม่โตขึ้น

       ในเมื่อร่างกายคุณเกิด "ความเคยชิน" แล้วคุณจะทำให้ร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน ได้อย่างไร? ในเมื่อคุณยังไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักดัมเบลล์เป็น 10 กก.ได้

       คำตอบก็คือว่า คุณสามารถทำให้ร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน ได้ด้วยการเปลี่ยนจำนวนเซท ,เปลี่ยนจำนวน Reps ,เปลี่ยนระยะเวลาพักระหว่างเซท ,จัดลำดับท่าบริหารไบเซบใหม่ ( สมมติว่าในตารางฝึก มีท่าบริหารไบเซบอยู่ 3 ท่า โดยท่า Concentration Curls อยู่ในท่าบริหาร ท่าที่ 2 ก็ให้คุณเลื่อนท่า Concentration Curls มาบริหารเป็น ท่าแรก  /  หรือเลื่อนลงไปบริหารเป็น ท่าที่ 3 ก็ได้ )  /


สรุปว่า - หลักการเรื่องการพยายามทำให้ร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน นั้น ถือเป็นหลักที่ต้องใช้ควบคู่ไปการเพาะกายไปตราบนานเท่านานเลยครับ  /  อาจกล่าวได้ว่าหน้าที่ของนักเพาะกายก็คือ การพยายามทำให้ร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน อยู่บ่อยๆ ร่างกายจะได้พัฒนาดีขึ้น

       และสำหรับการทำให้ร่างกาย เกิดอาการ Confuse เกิดความสับสน ( เพื่อหลีกหนี "ความเคยชิน) นั้น เพื่อนสมาชิกสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การเพิ่มปริมาณน้ำหนักที่ใช้ หรือเปลี่ยนจำนวนเซท ,เปลี่ยนจำนวน Reps ,เปลี่ยนระยะเวลาพักระหว่างเซท ,จัดลำดับท่าบริหารใหม่ 

- END -