Saturday, April 11, 2020

Avocado


Avocado

อะโวคาโด หรือ ลูกเนย ( avocado ) เป็นผลไม้ที่มีเนื้อมันเป็นเนย เป็นต้นไม้พื้นเมืองของรัฐปวยบลาในประเทศเม็กซิโก[1] จัดเป็นพืชดอกในวงศ์ Lauraceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับอบเชย, กระวาน และเบย์ลอเรล ( bay laurel ) ผลของอะโวคาโดมีรูปทรงคล้ายสาลี่ รูปไข่ หรือรูปกลม มิชชันนารีชาวอเมริกันนำมาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกที่จังหวัดน่าน  ต่อจากนั้นจึงมีหน่วยงานต่าง ๆ นำอะโวคาโดมาปลูกมากขึ้น 

       อะโวคาโดเป็นไม้ยืนต้น ต้นโตเต็มที่สูงถึง 18 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน ผิวขรุขระ ใบสีเขียวสด ดอกขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลือง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งผลกลมรีหรือทรงลูกแพร์ มีทั้งพันธุ์เปลือกหนาและเปลือกบาง เนื้อสีเขียวออกเหลือง รสมัน เนื้อละเอียด ไม่มีกลิ่น มีเมล็ดเดียว มีรกหุ้มเมล็ด อะโวคาโดแบ่งเป็น 3 เผ่าคือ

* * * เผ่ากัวเตมาลา ผลสีเขียว ขั้วผลขรุขระ เมล็ดเรียบเล็กค่อนข้างกลม เนื้อหนา ไขมันสูง ชอบอากาศหนาวเย็นปานกลาง เช่น  พันธุ์แฮส ( Hass ) พันธุ์พิงค์เคอตัน ( Pinkerton )


* * * เผ่าอินดีสตะวันตก ผิวผลเรียบเป็นมัน สีเขียวอมเหลือง เปลือกหนา เมล็ดอยู่ในโพรงเมล็ดอย่างหลวม ๆ รสหวานอ่อน ไขมันน้อย ชอบอากาศร้อน เช่น พันธุ์ปีเตอร์สัน ( Peterson )


* * * เผ่าเม็กซิโก ผลเล็กเรียบ เมื่อแก่สีม่วง เปลือกบางกว่าอีก 2 เผ่า เปลือกหุ้มเมล็ดบาง เมล็ดใหญ่อยู่ในโพรงเมล็ดอย่างหลวม ๆ มีไขมันมากที่สุด ทนอากาศเย็นได้ดีที่สุด


       อะโวคาโดเป็นผักที่มีการค้าขายและเพาะปลูกในภูมิอากาศเขตร้อนทั่วโลก ( และบางส่วนในเขตอบอุ่น เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย ) มีผลสีเขียวทางลูกสาลี่ที่จะสุกหลังการเก็บเกี่ยว ต้นไม้สามารถถ่ายเรณูในต้นเดียวกันได้และบางครั้งการขยายพันธุ์จะใช้การติดตาตอนกิ่งเพื่อที่จะสามารถควบคุมคุณภาพและปริมาณของผลได้


        อะโวคาโดกินดิบไม่ได้เพราะมีแทนนินทำให้ขม กินมากจะปวดศีรษะ รับประทานได้แต่ผลสุก กินเป็นผลไม้สด หรือกินกับไอศกรีม น้ำตาล นมข้นหวาน สลัด เค้ก

       ชาวเม็กซิกันนิยมใช้เนื้ออะโวคาโดปรุงอาหารแทนเนย หรือนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในซอสกัวคาโมเล ( Guacamole ) ซึ่งนิยมนำมาทาบนแผ่นแป้งทอร์ทิลล่าส์ หรือขนมปัง นอกจากนี้ ชาวเม็กซิกันยังนิยมนำอะโวคาโดมาสกัดน้ำมันทำเครื่องสำอาง

       ใน ฟิลิปปินส์ บราซิล อินโดนีเชีย เวียดนาม และทางตอนใต้ของ อินเดีย ( โดยเฉพาะชายฝั่งเคราล่า ทมิฬนาดู และรัฐกรณาฏกะ ) อะโวคาโดมักนิยมนำมาใช้ปรุงเป็นนมปั่น ( Milkshake ) หรือใส่ในไอศกรีม และขนมต่าง ๆ นอกจากนี้ใน บราซิล เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย อะโวคาโดถูกนำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม โดยผสมกับน้ำตาล นมหรือน้ำ และอาจเพิ่มอะโวคาโดบด บางครั้งก็มักเติมซอสช็อกโกแลตลงไป ในมอร็อกโค เครื่องดื่มเย็นที่ทำมาจากอะโวคาโดและนมมักถูกเติมความหวานด้วยน้ำตาลไอซิ่ง และเพิ่มรสชาติด้วยน้ำจากดอกส้ม


       บางคนแพ้อะโวคาโด โดยแพ้ในรูปของละอองเกสร หรือหลังจากรับประทานอะโวคาโดเข้าไปที่เรียก latex-fruit syndrome[3] เพราะเกี่ยวข้องกับการแพ้ลาเท็กซ์[4] อาการที่ปรากฏได้แก่ ลมพิษ ผื่นคัน ปวดท้อง อาเจียน หรืออาจจะเสียชีวิตได้

       ใบ เปลือกต้น และเปลือกชั้นเอนโดคาร์บของอะโวคาโดเป็นพิษต่อสัตว์หลายชนิดทั้งแมว หมา แพะ กระต่าย หนู นก ปลา ไก่ และม้า[6] ผลเป็นพิษกับนกบางชนิด American Society for the Prevention of Cruelty to Animals (ASPCA) ได้ประกาศว่าอะโวคาโดเป็นพิษต่อสัตว์  อะโวคาโดเป็นส่วนผสมในอาหารสุนัข  และอาหารแมว ชนิด AvoDerm ซึ่ง ASPCA ปฏิเสธที่จะรับรองว่าปลอดภัยหรือไม่


- END -