Friday, April 17, 2020

Sweet Potato


Sweet Potato

มันเทศ 


       มันเทศ ( sweet potato ) เป็นพืชหัวเกรียนใต้ดินเถาเลื้อยราบไปบนพื้นดิน ปลูกเป็นพืชไร่ มีเนื้อสีหลายสีตามสายพันธุ์ ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น เถา ใบ หัว นิยมนำมารับประทานโดย ต้ม หรือ เผา ทำเป็นอาหารคาวหวาน ส่วนผสมของอาหารสำหรับเด็ก ใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น 


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

       มันเทศ เป็นพืชอายุยืน ไม่มีเนื้อไม้ รากแตกตามข้อและมีรากที่ขยายใหญ่เพื่อสะสมอาหาร มีรูปร่าง ขนาด จำนวนและสีของหัวต่างกัน ตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล สีแดง และสีม่วง ใบเดี่ยว ไม่มีหูใบ มีต่อมน้ำหวานสองต่อมตรงขั้วใบ ก้านใบด้านบนเป็นร่องลึก กลีบดอกรูปกรวยสีขาวหรือสีม่วงแดง กลีบดอกในส่วนที่เป็นหลอดมีสีม่วง รังไข่ล้อมรอบด้วยต่อมน้ำหวานสีส้มเป็นพู ยอดเกสรตัวเมียมี 2 พู สีขาวหรือสีม่วงอ่อน ผลเป็นแบบแคบซูล มันเทศที่หัวมีสีม่วงบางครั้งเรียกมันต่อเผือกด้วย


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ 

* * * อาณาจักร : Plantae 

* * * หมวด : Magnoliophyta 

* * * ชั้น : Magnoliopsida 

* * * อันดับ : Solanales 

* * * วงศ์ : Convolvulaceae 

* * * สกุล : Ipomoea 

* * * สปีชีส์ : I. batatas 


คุณค่าทางอาหาร

มันเทศดิบ

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ( 3.5 ออนซ์ ) 

* * * พลังงาน  -  359 kJ ( 86 kcal ) 


* * * คาร์โบไฮเดรต - 20.1 g 

       แป้ง - 12.7 g 

       น้ำตาล - 4.2 g 

       ใยอาหาร - 3 g 


* * * ไขมัน - 0.1 g 


* * * โปรตีน - 1.6 g 


* * * วิตามิน

       วิตามินเอ 709 μg ( 89% ) 

       บีตา-แคโรทีน 8509 μg ( 79% ) 

       ไทอามีน ( บี1 ) 0.078 มก. ( 7% ) 

       ไรโบเฟลวิน ( บี2 ) 0.061 มก. ( 5% ) 

       ไนอาซิน ( บี3 ) 0.557 มก. ( 4% ) 

       กรดแพนโทเทนิก ( บี5 ) 0.8 มก. ( 16% )

       วิตามินบี6 0.209 มก.( 16% ) 
 
       โฟเลต ( บี9 ) 11 μg ( 3% ) 

       วิตามินซี 2.4 มก. ( 3% ) 

       วิตามินอี 0.26 มก. ( 2% ) 


* * * แร่ธาตุ 

       แคลเซียม 30 มก. ( 3% ) 

       เหล็ก 0.61 มก. ( 5% ) 

       แมกนีเซียม 25 มก. ( 7% )

       แมงกานีส 0.258 มก. ( 12% ) 

       ฟอสฟอรัส 47 มก. ( 7% ) 

       โพแทสเซียม 337 มก. ( 7% ) 

       โซเดียม 55 มก. ( 4% ) 

       สังกะสี 0.3 มก. ( 3% )


หน่วยที่ใช้  μg = ไมโครกรัม  /  mg = มิลลิกรัม  /  IU = หน่วยสากล 



มันเทศอบไม่ใส่เกลือ

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ( 3.5 ออนซ์ ) 

* * * พลังงาน  -  378 kJ ( 90 kcal ) 


* * * คาร์โบไฮเดรต - 20.7 g 

       แป้ง - 7.05 g 

       น้ำตาล - 6.5 g 

       ใยอาหาร - 3.3 g 


* * * ไขมัน - 0.15 g 


* * * โปรตีน - 2.0 g 


* * * วิตามิน

       วิตามินเอ 961 μg ( 120% ) 

       ไทอามีน ( บี1 ) 0.11 มก. ( 10% ) 

       ไรโบเฟลวิน ( บี2 ) 0.11 มก. ( 9% ) 

       ไนอาซิน ( บี3 ) 1.5 มก. ( 10% ) 

       วิตามินบี6 0.29 มก.( 22% ) 
 
       โฟเลต ( บี9 ) 6 μg ( 2% ) 

       วิตามินซี 19.6 มก. ( 24% ) 

       วิตามินอี 0.71 มก. ( 6% ) 


* * * แร่ธาตุ 

       แคลเซียม 38 มก. ( 4% ) 

       เหล็ก 0.69 มก. ( 5% ) 

       แมกนีเซียม 27 มก. ( 6% )

       แมงกานีส 0.5 มก. ( 24% ) 

       ฟอสฟอรัส 54 มก. ( 8% ) 

       โพแทสเซียม 475 มก. ( 10% ) 

       โซเดียม 36 มก. ( 2% ) 

       สังกะสี 0.32 มก. ( 3% )


หน่วยที่ใช้  μg = ไมโครกรัม  /  mg = มิลลิกรัม  /  IU = หน่วยสากล 



ใบมันเทศดิบ

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ( 3.5 ออนซ์ ) 

* * * พลังงาน  -  175 kJ ( 42 kcal ) 


* * * คาร์โบไฮเดรต - 8.82 g 

       ใยอาหาร - 5.3 g 


* * * ไขมัน - 0.51 g 


* * * โปรตีน - 2.49 g 


* * * วิตามิน

       วิตามินเอ 189 μg ( 24% ) 

- - - - - - - -  บีตา-แคโรทีน 2217 μg ( 21% ) 

- - - - - - - -  ลูทีน ซีอาแซนทิน  14720 μg 

       ไทอามีน ( บี1 ) 0.156 มก. ( 14% ) 

       ไรโบเฟลวิน ( บี2 ) 0.345 มก. ( 29% ) 

       ไนอาซิน ( บี3 ) 1.13 มก. ( 8% ) 

       กรดแพนโทเทนิก ( บี5 ) 0.225 มก. ( 5% ) 

       วิตามินบี6 0.19 มก.( 15% ) 

       วิตามินซี 11 มก. ( 13% ) 

       วิตามินเค 302.2 μg  ( 288% ) 


* * * แร่ธาตุ 

       แคลเซียม 78 มก. ( 8% ) 

       เหล็ก 0.97 มก. ( 7% ) 

       แมกนีเซียม 70 มก. ( 20% )

       ฟอสฟอรัส 81 มก. ( 12% ) 

       โพแทสเซียม 508 มก. ( 11% ) 


หน่วยที่ใช้  μg = ไมโครกรัม  /  mg = มิลลิกรัม  /  IU = หน่วยสากล 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -


ตกลง "มันเทศ" ในภาษาอังกฤษ เค้าเรียกว่า "sweet potato" หรือ "yam" กันแน่?


* * * มันเทศคือ "sweet potato" 

       มันเทศรสหวานที่มีเนื้อสีม่วงบ้าง เหลืองบ้าง เอามานึ่งบ้าง เผาบ้างนั้น เป็นพืชในวงศ์เดียวกับผักบุ้งหรือเรียกเป็นทางการว่า Convolvulaceae

       มันเทศนั้นมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea batatas ( L. ) Lam. ส่วนที่เราบริโภคเป็นรากที่ทำหน้าที่สะสมอาหาร ( tuberous root ) ของมันเทศซึ่งมีรสชาติที่หวานแตกต่างจาก Irish potato หรือ potato ( ลำต้นใต้ดินที่ทำหน้าที่สะสมอาหารของมันฝรั่งหรือ tuber ) ที่ชาวตะวันตกคุ้นเคย ดังนั้นมันเทศจึงถูกเรียกกันโดยทั่วไปว่า "sweet potato" 


* * * แล้ว "yam" จริงๆ มันคืออะไร

       จริงๆ แล้ว yam เป็นพืชใบเลี่ยงเดี่ยวเหมือนพวกหญ้าพวกข้าว ตามหลักพฤกษศาสตร์เรียกวงศ์พืชวงศ์นี้ว่า Dioscoreaceae ซึ่งกลอยหรือ wild yam ( Dioscorea hispida Dennst. ) ที่เราคุ้นเคยก็เป็นหนึ่งในนั้น ( เราจะไม่คุ้นเคยได้อย่างไรในเมื่อ yam เป็นพืชประจำถิ่นแถบเอเชียและแอฟริกาตะวันตก ) 


แล้วเกิดอะไรขึ้นระหว่าง yam กับ sweet potato?

       ในอดีตอเมริกามี sweet potato สายแข็งอยู่ก่อน ( หมายถึงสายพันธุ์ที่พอเอาไปประกอบอาหารแล้วเนื้อข้างในยังแข็งอยู่ หรือเรียกว่า firm varieties )

       ต่อมามีการนำ sweet potato สายอ่อน ( หมายถึงสายพันธุ์ที่พอเอาไปประกอบอาหารแล้วเนื้อข้างในจะอ่อนนุ่มละมุนลิ้น หรือเรียกว่า soft varieties ) เข้ามาปลูกในทวีป  เผอิญชาวแอฟริกันที่ไป work and travel ในอเมริกา ( หมายถึงไปเป็นทาส ) เค้าเรียก sweet potato สายอ่อน ว่า "yam" เพราะพี่ท่านบอกว่า "ดูก่อน มันช่างละม้ายคล้ายกับ yam ที่บ้านเฮาเลย"

       ดังนั้นชาวอเมริกันจึงมีการเรียก sweet potato สายอ่อน ( มันเทศนั่นแหละ ) ว่า "yam" จากนั้นมา

       คราวนี้พอเทียบเคียงกับภาษาไทย "มันเทศ" จึงมีการแปลเป็น "sweet potato" บ้าง "yam" บ้างตามผู้แปลนั่นเอง 


วิธีซื้อในสหรัฐอเมริกา

* * * ถ้าต้องการซื้อมันเทศแบบอร่อยหรือ soft sweet potato ที่ผิวออกแดงๆ และเนื้อข้างในสีส้ม ให้บอกคนขายว่า "I'm looking for some yams actually. Do you have some?" 


* * * ถ้าต้องการมันเทศแบบแน่นหรือ firm sweet potato ที่ผิวออกน้ำตาลๆ และเนื้อข้างในออกขาวๆ นวลๆ ก็จงเรียก "sweet potato" ต่อไป


* * * ถ้าอยากทานกลอย จงเดินเข้าไปค้นใน international market แทน
 

- จบ -