Saturday, April 18, 2020

White Fish


White Fish

ปลาเนื้อขาว


      คำว่า White Fish เป็นคำกลางๆ เหมือนคำว่า สุนัข แมว  /  คือหมายควมว่า ในคำว่าสุนัขนั้น ยังแยกเป็นสุนัขพันธุ์ต่างๆได้ เช่น สุนัขบูลด๊อก , สุนัขร็อดไวเลอร์ ฯลฯ  /  คำว่าแมวนั้น ก็แยกเป็นแมวพันธุ์วิเชียรมาศ , แมวพันธุ์ขาวมณี ฯลฯ

       ดังนั้น ถ้านักเพาะกายบอกว่าในเมนูอาหารของเขา เขาทาน White Fish นั่นก็คือเขาไม่ได้เจาะจงชัดๆไปว่าเขาทานปลาพันธุ์อะไร  เพราะว่า ปลาค็อด ( Cod ) ก็เป็น White Fish , ปลาแฮดด็อก ( Haddock ) ก็เป็น White Fish เป็นต้น

       ในครั้งนี้ ผม ( Webmaster ) ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ White Fish เอามาให้เพื่อนสมาชิกได้อ่านกันนะครับ


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ อ้างอิงจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish


ชนิดของปลาเนื้อขาว

1.ชนิดที่มีเนื้อเต็ม ( Round Fish ) - ยกตัวอย่างเช่นปลาค็อด ( Cod ) และ แฮดด็อค ( Haddock )  /  ปลาพวกนี้ มีตาทั้งสอง อยู่คนละด้านของลำตัว ( คือมีตา เป็นปกติเหมือนสัตว์ทั่วไป )  /  พวกนี้ ว่ายน้ำไปด้วยครีบที่อยู่ด้านหลัง


2.ชนิดที่มีเนื้อแบน ( Flat Fish ) - ยกตัวอย่างเช่น ปลาพเลซ ( Plaice ) และปลาโซล ( Soles )  /  ปลาพวกนี้ มีตาทั้งสอง อยู่ที่ด้านเดียวกันของลำตัว  /  ผิวของปลาเนื้อแบนนี้ จะเป็น "ลายพราง"  /  ปลาชนิดนี้ อาศัยอยู่ในน้ำทะเลนิ่งๆ จึงเคลื่อนไหวน้อย และจากการที่มันเคลื่อนไหวน้อย ก็เลยมีกล้ามเนื้อน้อย และเนื่องจากการที่มันมีกล้ามเนื้อน้อย ก็เลยทำให้เวลาเราทานมัน ก็เลย "ย่อยได้ง่าย" นั่นเอง


สารอาหารจากปลาเนื้อขาว

       "ตับ" ของปลาเนื้อขาว มีน้ำมันที่มีคุณค่าทางโภชนาการอยู่อย่างเข้มข้น น้ำมันดังกล่าวจึงถูกนำมาใช้ทำเป็นอาหารเสริมมานานแล้ว ตัวอย่างเช่น น้ำมันตับปลาของปลาค็อด และน้ำมันตับปลาของปลาฮาลิบัต ( Halibut ) บางชนิด

       น้ำมันตับปลา ให้วิตะมิน A ซึ่งมีประโยชน์ต่อการมองเห็น , ให้วิตะมิน D ที่มีผลดีต่อการเจริญเติบโตชองร่างกาย และยังช่วยในการดูดซึมแคลเซียม , ให้วิตะมิน E ที่เป็นตัวต้านอนุมูลอิสระ และให้กรดไขมันโอเมก้า 3

       ปลาเนื้อขาวเหมาะกับการปรุงด้วยวิธี นึ่ง ( Steaming ) , ลวก ( Poaching ) และย่าง ( Grilling )


ปลาเนื้อขาวแต่ละตระกูล


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

บรีม ( Bream ) ( บรีม )  

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish  


       ( ภาพบน ) บรีม ( Bream ) - มีปลาตระกูลนี้เกือบ 200 สายพันธุ์อยู่ในโลก แต่พันธุ์ที่ดีที่สุดสำหรับการทานคือพันธุ์ Grilt-head และพันธุ์ Dorade ซึ่งสองพันธุ์นี้ มีรูปร่างสวยและมีเนื้อสีขาว ชุ่มฉ่ำ อีกด้วย

       ในท้องตลาด จะขายปลานี้ แบบทั้งตัว และแบบเป็นชิ้นๆ สำเร็จรูป ( Fillet - คือหั่นเป็นชิ้นๆ และเอาก้างออกแล้ว )

       การนำไปปรุงอาหาร จะต้องเอาเกล็ดออกก่อนปรุง 

       ปลาพันธุ์นี้ เป็นแหล่งที่ดีของ ไนอาซิน ( Neacin ) , และยังให้วิตามินบี ที่จะช่วยดึงพลังงานออกมาจากอาหารที่เราทาน , และยังให้วิตามินบี 12 อีกด้วย 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ข้างล่างนี้ คือข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/วงศ์ปลาจาน

       วงศ์ปลาจาน หรือ วงศ์ปลาอีคุด ( Sea bream , Porgie ) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็ง ในอันดับปลากะพง ( Perciformes ) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sparidae

       มีลักษณะโดยทั่วไป คือ ลำตัวค่อนข้างยาวแบนข้าง มีเกล็ดซิเลียเตดขนาดปานกลาง เกล็ดบนหัวเริ่มมีตั้งแต่บริเวณระหว่างตาหรือบริเวณหลังตา ส่วนหน้าของขากรรไกรมีฟันเขี้ยวหรือฟันตัด บริเวณของมุมปากมีฟันรูปกรวยหรือแบบฟันกราม ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ไปทางส่วนท้าย ไม่มีฟันบนกระดูกพาลาทีน ครีบหลังมีตอนเดียวมีก้านครีบแข็ง 11–12 ก้าน ก้านครีบอ่อนที่แตกปลาย 10–15 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแข็งที่ใหญ่และแข็งแรง ก้านครีบแข็งก้านที่สองยาวที่สุด

       เป็นปลาทะเล พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้เนื้อในการบริโภค และตกเป็นเกมกีฬา บางชนิดอาจพบได้ในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำจืด

       ในประเทศไทย ปลาที่อยู่ในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น ปลาอีคุด ( Acanthopagrus berda ) และปลาจานแดง หรือปลาอีคุดครีบยาว ( Argyrops spinifer )

       นอกจากนี้แล้ว ปลาในวงศ์นี้ยังมีการสืบพันธุ์เป็นกะเทยแบบเป็นลำดับ คือ การเป็นกะเทยแบบกลายเพศหรือเปลี่ยนเพศ คือเปลี่ยนจากเพศผู้ในระยะแรกและเป็นเพศเมียเมื่อปลาโตขึ้นได้ด้วย



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ค็อด ( Cod ) ( ค็อด )  

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish  


       ( ภาพบน ) ค็อด ( Cod ) - เนื้อปลาค็อด ได้รับความนิยมมาก เพราะมีเนื้อแน่นและชุ่มฉ่ำ

       ส่วนใหญ่จะขายเป็นชิ้นๆแบบสำเร็จรูป แต่ก็มีแบบทั้งตัวจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดด้วย

       ปลาค็อด เป็นแหล่งไอโอดีนที่ดีเยี่ยม ซึ่งมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน และเป็นแหล่ง โพแทสเซียม ที่มีประโยชน์


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ข้างล่างนี้ คือข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาหิมะ


       ปลาหิมะ ( sablefish , sable , black cod , butterfish , bluefish , candlefish , coal cod ; ギンダラ; / กิน-ดะ-ระ / ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anoplopoma fimbria ) เป็นชื่อทางการค้าที่เรียกปลาชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ปลาหิมะ ( Anoplopomatidae ) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Anoplopoma 

       ปลาหิมะ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำลึกประมาณ 300–3,500 เมตร บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือจนถึงทะเลญี่ปุ่นในแถบที่พื้นทะเลเป็นโคลน เป็นปลาที่เจริญเติบโตช้า วางไข่ได้เมื่ออายุ 10 ปี อายุยืน ความยาวสูงสุดที่พบประมาณ 2.2 เมตร น้ำหนัก 120 กิโลกรัม กินปลาหมึก , กุ้ง , ปู และปลาเป็นอาหาร 

       ปลาหิมะ เป็นปลาเนื้อสีขาว เนื้อนิ่ม รสชาติกลมกล่อม เนื้อมีลักษณะคล้ายเนื้อปลากะพงขาว แต่เนื้อปลาหิมะจะมีไขมันผสมอยู่สูงกว่า เนื้อของมันสามารถใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภทเช่น ต้ม , ย่าง , อบ , ทอด รวมถึง รับประทานสดเป็นซาชิมิ โดยเป็นเนื้อปลาที่มีราคาแพงในญี่ปุ่น

       คุณค่าทางสารอาหาร เนื้อปลาหิมะอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า เช่น กรดไขมันโอเมกา-3 ที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย  



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

แฮดด็อก ( Haddock ) ( แฮด - ดัค )  

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish  


       ( ภาพบน ) แฮดด็อก ( Haddock ) - เป็นสายพันธุ์ของปลาค็อด แต่่วามีขนาดเล็กกว่า และมีเนื้อนุ่มและละเอียดอ่่อนกว่า

       แฮดด็อกเป็นแหล่งไอโอดีนที่ดีเยี่ยม และมีโพแทสเซียม และวิตามินบี 6 ในปริมาณที่เป็นประโยชน์ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://fromnorway-th.com/seafood-from-norway/haddock/   


       ปลาที่สวยงามอยากรู้อยากเห็นและดีเยี่ยมต่อสุขภาพของคุณ เป็นเวลาเนิ่นนานแล้วที่ทุกคนรวมถึงสมาชิกในราชวงศ์ต่างยกนิ้วให้กับปลาแฮดด็อก 

       ปลาแฮดด็อกเป็นปลาที่สามารถสังเกตเห็นได้ค่อนข้างง่าย เพราะมันจะมีจุดสีดำสองจุดอยู่ตรงบริเวณคอ  /  เชื่อกันว่าเมื่อนักบุญปีเตอร์ซึ่งกำลังอยู่ในอารมณ์โกรธได้จับและบีบปลาแฮดด็อกบริเวณคอจึงทำให้เกิดจุดดังกล่าวขึ้น ในขณะที่บางคนก็เชื่อว่าน่าจะเป็นปีศาจร้ายเสียมากกว่าที่ทิ้งรอยไหม้ดังกล่าวเอาไว้ 

       แต่ไม่ว่ารอยนั้นจะเกิดจากนักบุญหรือซาตานก็ตาม จุดสีดำดังกล่าวนั้นก็เป็นที่มาของชื่อของปลาชนิดนี้ได้ เพราะคำว่า แฮดด็อกจะตรงกับคำว่า hyse ซึ่งจะหมายถึง “รอยไหม้” ในภาษานอร์สโบราณนั่นเอง 

       ด้วยท้องที่เป็นสีขาวราวหิมะ ลำตัวด้านข้างสีเงินแกมเทา และหลังที่มีสีม่วง ปลาแฮดด็อกจึงสะดุดตาผู้พบเห็นเสมอ

       ไม่เพียงแต่ความงดงามภายนอก แต่ยังมีความงดงามภายในอีกด้วย เนื้อของมันมีรสชาติโดดเด่นกว่าปลาทะเลชนิดอื่นๆ ทั่วไปที่มีสีขาว

       สำหรับเนื้อของปลาชนิดนี้นั้น เรียกได้ว่าเกือบจะโปร่งใสเลยทีเดียว และเมื่อถูกนำไปปรุง มันจะเปลี่ยนเป็นสีขาวที่ดูน่ารับประทานมากขึ้น

       อย่างไรก็ตาม สำหรับในนอร์เวย์ ปลาชนิดนี้อาจไม่ได้มีการจับ หรือทำประมงมากเท่าปลาค็อด หรือปลาพอลล็อค เนื่องจากในอดีตปลาชนิดนี้ มักถูกใช้ในโอกาสสำคัญๆ เสียมากกว่า เช่น ใช้ในวันเปิดกล่องของขวัญ เป็นต้น 


ความอยากรู้อยากเห็นทำให้ปลาแฮดด็อกถูกฆ่า

       ปลาแฮดด็อกนั้นเป็นปลาที่ฉลาด อยากรู้อยากเห็น และจับได้ยาก มันอยากรู้อยากเห็นมากกว่าปลาชนิดอื่นๆ มากเลยทีเดียว ทำให้มันชอบออกสำรวจไปในที่ที่มันไม่รู้จัก

       นักตกปลาที่มีประสบการณ์จะใช้คุณสมบัติข้อนี้ของมันให้เป็นประโยชน์ หนึ่งในวิธีหลอกล่อของพวกเขาก็คือ การทิ้งอุปกรณ์นำทางลงสู้ก้นทะเล เพื่อกวนโคลนให้เป็นวงขึ้นมา ในขณะที่ปลาชนิดอื่นส่วนใหญ่จะรู้สึกหวาดกลัวไม่กล้าเข้าไปยุ่ง แต่ปลาแฮดด็อกมักจะหยุดความอยากรู้ไม่ได้และต้องเข้าไปดูให้รู้แน่เสมอ

       อย่างไรก็ตาม การที่ปลาแฮดด็อกงับเหยื่อของคุณนั้น นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจับมันได้แล้ว เพราะบ่อยครั้งเหมือนกันที่ความแข็งแรงของมันก็สามารถทำให้มันดิ้นหลุดไปได้ 


เป็นพ่อแม่ที่ดี 

       แฮดด็อกมักถูกใช้กับเมนูที่ใช้เนื้อปลาบดเป็นส่วนประกอบ เช่น ใช้ทำลูกชิ้นปลา ไส้กรอก หรือกุนเชียงปลา เป็นต้น ซึ่งเนื้อของปลาชนิดนี้จะเหมาะกับเมนูในลักษณะดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมันมีโครงสร้างเนื้อที่ละเอียดทำให้มีคุณสมบัติการจับตัวที่ดี

       นอกจากนี้แล้วมันยังเป็นสัญลักษณ์ของการประหยัดอดออมอีกด้วยเคยมีเรื่องเล่าว่า  หลังจากความอดอยากหลายปีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กษัตริย์ฮากอนแห่งนอร์เวย์ ได้ตั้งจุดให้บริการลูกชิ้นปลาที่ทำจากเนื้อปลาแฮดด็อกขึ้นมา เพื่อถวายพระผู้ใหญ่ มอบให้เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้นำรัฐบาล 

       สำหรับปลาแฮดด็อกนั้น จะเต็มไปด้วยธาตุไอโอดีนที่สูงมาก รวมทั้งเกลือแร่ที่ช่วยในเรื่องฮอร์โมนที่ทำงานเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์อีกด้วย โดยฮอร์โมนดังกล่าวมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายด้วยี่

       เป็นที่ทราบกันดีว่า สำหรับหญิงที่เพิ่งคลอดใหม่ๆ นั้น มักจะขาดสารไอโอดีน และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงมักมีการเสิร์ฟปลาชนิดนี้ให้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตร

       อันที่จริงแล้วไม่ได้มีเพียงแต่มารดาที่เพิ่งคลอดบุตรเท่านั้นที่ต้องการไอโอดีน หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพประชาชนได้เตือนว่าทั่วไปแล้วระดับไอโอดีนในประชาชนมักจะอยู่ต่ำกว่าระดับปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิง และเพียงแค่การรับประทานเนื้อปลาสีขาวอย่างปลาแฮดด็อกสักสัปดาห์ละสองสามครั้ง คุณก็จะได้รับไอโอดีนที่เพียงพอ พร้อมไปกับการเสิรมสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายด้วย โดยปลาแฮดด็อกนับว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี แถมยังมีทั้งวิตามินบี 12 ไพริดอกซีน และเซเลเนียม นอกจากนี้ยังมีสารอาหารที่สำคัญนอกจากที่กล่าวมาอีก เช่น โซเดียมและโพแทสเซียม ซึ่งจำเป็นต่อการรักษาสมดุลของเหลวในร่างกายคนเรา 


การทำประมงปลาแฮดด็อก 

       ปลาแฮดด็อกเป็นปลาที่มีการทำประมงกันมาก ตามแนวชายฝั่งของประเทศนอร์เวย์ เรื่อยไปจนถึงทะเลเหนือ การทำประมงจะทำกันในช่วงฤดูร้อน โดยการใช้เบ็ดและอวนเป็นหลัก ซึ่งการทำประมงจะได้รับการดูแลและควบคุมเป็นอย่างดี เพื่อคงไว้ซึ่งปริมาณสำรองที่ยั่งยืน ในย่านทะเลแอตแลนติกเหนือ

       ชาวนอร์เวย์ส่วนใหญ่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับทอดมันปลา และลูกชิ้นปลาบนโต๊ะอาหาร ซึ่งนั่นเป็นอาหารประจำวันที่พบได้ง่าย และเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธได้

       เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องการเนื้อปลารสชาติดี และทุกคนในครอบครัวสามารถรับประทานได้ อีกทั้งง่ายต่อการปรุง เมื่อนั้นปลาแฮดด็อกก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีอีกอย่างหนึ่ง  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

เฮค ( Hake ) ( เฮค )  

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish  


       ( ภาพบน ) เฮค ( Hake ) - คือพันธุ์หนึ่งของปลาค็อด , ปลาเฮค เป็นปลาที่มีไขมันน้อย มีก้างน้อย

       การปรุงปลาเฮค ไม่ควรใช้ความร้อนมากเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อปลาแยกเป็นชิ้นๆ ( เป็นขุย )

       ปลาเฮคเป็นแหล่งฟอสฟอรัสที่ดี ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพฟันและกระดูก และเป็นแหล่งโพแทสเซียมที่มีประโยชน์ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.nature-via.com/hake-benefits-and-properties   


       ปลาเฮค มีขนาดลำตัวยาวประมาณหนึ่งศอก  เป็นปลาสีขาวซึ่งหมายความว่ามันเป็นอาหารที่แทบจะไม่ก่อให้เกิดไขมัน

       ปลาเฮค เป็นที่นิยมในการบริโคภ เทียบเท่ากับปลาแองโชวี่และโบนิโต 

       ปลาเฮคเป็นปลาที่เป็นของตระกูล Merlúcida และแม้ว่าฤดูกาลที่ดีที่สุดสำหรับนักตกปลา และการจับเพื่ออุตสาหกรรม ที่จะมีปลาชนิดนี้ให้จับ คือระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม  แต่ความจริงก็คือวันนี้เราสามารถพบมันได้ตลอดทั้งปี

       แม้ว่าจะมีเฮคที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่เฮคที่นิยมบริโภคกันมากที่สุดก็คือ Merluccius Merluccius 


คุณสมบัติทางโภชนาการของเฮค 

       ปลาเฮคเป็นปลาที่มีน้ำหนักน้อย ลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของมันคือมีไขมันน้อยมาก  /  ในปริมาณน้ำหนักตัว 100 กรัม จะมีไขมันทั้งตัว รวมกันแล้วแค่เพียง 1.8 กรัมเท่านั้น

       เนื่องจากลักษณะพิเศษที่มีไขมันต่ำนี้ มันจึงเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับการไดเอท โดยทำเป็นอาหารรูปแบบที่เรียกว่า hypocaloric ( แคลอรี่ต่ำ ) เพื่อการลดน้ำหนัก

       ปลาเฮคมีโปรตีนประมาณ 12 กรัม ซึ่งหมายความว่าเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพสูง

       นอกจากนี้ยังพบวิตามินในเนื้อปลาเฮค อันได้แก่วิตามินของกลุ่ม B ( เช่นวิตามิน B1 , B2 , B3 , B9 หรือกรดโฟลิก และ B12 ) และยังพบแร่ธาตุเช่น ฟอสฟอรัส , โพแทสเซียม , สังกะสี , แมกนีเซียม , ไอโอดีน และ เหล็ก อีกด้วย

       สรุปได้ว่า ปลาเฮค เหมาะสมที่สุดในการเป็นอาหารที่สร้างความสมดุลและทำให้มีสุขภาพดี เพราะมันแทบจะไม่ก่อให้เกิดไขมัน มิหนำซ้ำ มันยังมีโปรตีนคุณภาพสูง พร้อมทั้งให้วิตามินและแร่ธาตุอีกด้วย


สารอาหารที่ได้จากปลาเฮค 

* * * แคลอรี่ - 63 กิโลแคลอรี่


* * * โปรตีน - 11.8 กรัม


* * * คาร์โบไฮเดรต - 0.2 กรัม 


* * * ไขมันรวม - 1.8 กรัม 


* * * วิตามิน ( แยกได้ดังข้างล่างนี้ )

////////// วิตามิน B 1 - 0.09 มิลลิกรัม 


////////// วิตามิน B 2 - 0.09 มิลลิกรัม 


////////// วิตามิน B 3 - 6.1 มิลลิกรัม 


////////// วิตามิน B 9 - 12 ไมโครกรัม  


////////// วิตามิน B 12  - 1.10 ไมโครกรัม  



* * * แร่ธาตุ ( แยกได้ดังข้างล่างนี้ )

////////// เหล็ก - 1 มิลลิกรัม 


////////// ฟอสฟอรัส - 190 มิลลิกรัม 


////////// โพแทสเซียม - 270 มิลลิกรัม 


////////// แมกนีเซียม - 25 มิลลิกรัม  


////////// วิตะมิน - 18 มิลลิกรัม  


       ปลาเฮคยังโดดเด่นในการเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ซึ่งเป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางเดินอาหาร

       ในความสัมพันธ์กับวิตามินนั้น ปลาเฮคโดดเด่นสำหรับวิตามินบีชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ในเนื้อสัตว์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสตรีมีครรภ์ ที่มีความต้องการ วิตามินบี 9 หรือ กรดโฟลิก ให้ปริมาณสูง ( เนื่องจากวิตามินตัวนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในระหว่างตั้งครรภ์ )

       นอกจากนี้ ยกเว้นวิตามินบี 12 แล้ว วิตามิน B นอกนั้น ( ไม่รวม B 12 ) จะให้สารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งสำคัญเทียบเท่ากับ ไขมัน , โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต

       เกี่ยวกับแร่ธาตุ ปลาเฮค เป็นปลาที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น เช่น สังกะสี ซึ่งมีประโยชน์ในการรักษาระดับของโพแทสเซี่ยม ที่มีผลต่อการรักษาความสมดุลของน้ำภายในและภายนอกเซลล์

       และยังมีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับระบบประสาท ( เช่นฟอสฟอรัส ) และ ยังมีแมกนีเซียมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่ดีของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

แฮลิบัต ( Halibut ) ( แฮล - อิ - บัท )  

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     


      แฮลิบัต ( Halibut ) - แฮลิบัต มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา ชนิดที่มีเนื้อแบน ( Flat Fish ) ทั้งหมด  /  มีเนื้อแน่นและสามารถแห้งได้หากไม่ปรุงอย่างระมัดระวัง

       แฮลิบัด พันธุ์ที่มีขนาดเล็กหน่อย คือพันธุ์ chicken halibut ซึ่งผู้บริโภคมักจะซื้อไปปรุงอาหารแบบทั้งตัว  /  ส่วนพันธุ์ขนาดตัวใหญ่ จะหั่นเป็นชิ้นๆ ( Fillet ) จำหน่าย

       แฮลิบัต เป็นแหล่ง ไนอาซิน ( Niacin ) ที่ดี  /  ส่วนไข่ของปลา แฮลิบัด จะให้ วิตามินซี

       แฮลิบัด มีราคาสูงเพราะรสชาติของเนื้อที่หวาน สีของเนื้อที่ขาวจัดราวกับหิมะ และเนื้อที่แน่นอร่อย นอกจากนี้ยังอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ มีโปรตีน และแร่ธาตุสูงแต่แคลลอรี่ต่ำ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ปลาแฮลิบัต ( Halibut ) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกปลาในอันดับปลาซีกเดียว ในสกุล Hippoglossus ซึ่งอยู่ในวงศ์ Pleuronectidae รวมถึงปลาซีกเดียวชนิดอื่น ในวงศ์อื่นบางชนิดด้วย โดยคำว่า "แฮลิบัต" มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษกลางว่า haly ( ศักดิ์สิทธิ์ ) และ butt ( ปลาซีกเดียว ) เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในวันสำคัญทางศาสนาคริสต์คาทอลิก

       ปลาแฮลิบัตเป็นปลาซีกเดียวที่มีขนาดใหญ่ นับเป็นปลาซีกเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีความยาวเต็มที่ที่พบคือเกือบ 3 เมตร น้ำหนักกว่า 50 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางเหนือที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น ทั้งมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก 

       เนื้อของปลาแฮลิบัตมีสีขาว เนื้อแน่นคล้ายปลาหิมะ ไขมันต่ำ มีราคาแพง สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายรายการ เช่น ฟิชแอนด์ชิป นับเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง

       ปลาแฮลิบัตเป็นปลาที่หากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล ลักษณะเหมือนกับปลาซีกเดียวทั่วไป คือ ลำตัวด้านบนที่มีตา จะเป็นสีน้ำตาลหรือเขียว ด้านล่างจะราบแบนเป็นสีขาวสะอาด

       ในระยะที่เป็นปลาวัยอ่อน ตาทั้งสองข้างจะยังอยู่คนละซีกเหมือนปลาทั่วไป และว่ายน้ำเหมือนปลาแซลมอน จนกระทั่งอายุได้หกเดือนจึงจะกลับด้านมาอยู่ซีกเดียวกัน 

       กินอาหารตามพื้นทะเล ได้แก่ สัตว์ทะเลต่าง ๆ รวมถึงปลาแฮลิบัตหรือปลาซีกเดียวตัวอื่นๆ ด้วย และตกเป็นอาหารของสัตว์ทะเลนักล่า เช่น วาฬเพชฌฆาต , สิงโตทะเล , ปลาฉลามแซลมอน 


การจำแนก

สกุล Hippoglossus  แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด

* * * ปลาแฮลิบัตแอตแลนติก , H. hippoglossus 


* * * ปลาแฮลิบัตแปซิฟิก , H. stenolepis 


จำพวกอื่น

ที่อยู่ในวงศ์ Pleuronectidae 

* * * Atheresthes evermanni – ปลาแฮลิบัตฟันลูกศร 


* * * Eopsetta grigorjewi – ปลาแฮลิบัตสั้น 


* * * Reinhardtius hippoglossoides – ปลาแฮลิบัตกรีนแลนด์ 


* * * Verasper variegatus – ปลาแฮลิบัตจุด


ที่อยู่ในวงศ์ Paralichthyidae

* * * Paralichthys californicus – ปลาแฮลิบัตแคลิฟอร์เนีย 


* * * Paralichthys olivaceus – ปลาแฮลิบัตบาสตาร์ด 


ที่อยู่ในวงศ์ Psettodidae 

* * * Psettodes erumei – ปลาแฮลิบัตควีนส์แลนด์หรือปลาตาเดียว 


ที่อยู่ในวงศ์ Carangidae ( เป็นปลาหางแข็ง มิใช่ปลาซีกเดียว ) 

* * * Parastromateus niger – ปลาแฮลิบัตออสเตรเลียหรือปลาจะละเม็ดดำ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ปลาแฮลิบัต ( halibut ) เป็นสกุลของปลาในอันดับปลาซีกเดียว ในสกุล Hippoglossus ( /ฮิป-โป-กลอส-ซัส/ ) จัดอยู่ในวงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างขวา ( Pleuronectidae ) 

       เป็นปลาซีกเดียว หรือปลาลิ้นหมา ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อาศัยและหากินอยู่ตามพื้นทะเลในซีกโลกทางตอนเหนือ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

* * * ปลาแฮลิบัตแอตแลนติก ( H. hippoglossus ) 


* * * ปลาแฮลิบัตแปซิฟิก ( H. stenolepis ) 

       จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ เนื้อแน่นสีขาว มีไขมันต่ำ ใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด

       โดยที่คำว่า Hippoglossus นั้น มาจากคำภาษากรีกว่า hippos หมายถึง "ม้า" และ glossa หมายถึง "ลิ้น"



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ข้อมูลของปลาแฮลิบัด ข้างบนนี้ มาจากลิงก์ข้างล่างนี้

* * * https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish   

* * * https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาแฮลิบัต   

* * * https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาแฮลิบัต_(สกุล)  

* * * https://www.facebook.com/ThammachartSeafood/posts/996043087105600/ 




- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

จอห์น ดอรี่ ( John Dory ) ( จอห์น - ดอ - รี่ )  

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

 - - - - - - - - - - - - - -  

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish  


       ( ภาพบน ) จอห์น ดอรี่ ( John Dory ) - แม้ว่าในทางเทคนิคแล้วจะเป็น ลาชนิดที่มีเนื้อเต็ม ( Round Fish )  /  แต่ลำตัวของ จอห์น ดอรี่ นั้นบางมากจนดูเหมือน ปลาชนิดที่มีเนื้อแบน ( Flat Fish ) 

       เนื้อของปลาชนิดนี้ แน่นและชุ่มฉ่ำ

       จอห์น ดอรี่ เป็นแหล่งของฟอสฟอรัสที่ดี และเป็นแหล่งโพแทสเซียมที่มีประโยชน์ ซึ่งจำเป็นต่อการควบคุมความดันโลหิต


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://hilight.kapook.com/view/87368 


       ถ้าใครชอบกินปลาแล้วยังชอบเข้าร้านสเต็กด้วยล่ะก็ คงต้องเคยสั่ง "สเต็กปลาดอรี่" มาทานกันแน่เลย แหม...แค่ฟังชื่อ "ปลาดอรี่" ก็ดูเป็นอาหารจานหรูขึ้นมาแล้วเนอะ แถมพอตักเข้าปากก็ยังสัมผัสได้ถึงเนื้อนุ่ม หวาน อร่อย หอมกลิ่นเนยและเครื่องเทศสุด ๆ จนกลายเป็นสเต็กจานโปรดของใครหลายคนเลยใช่มะ พูดแล้วก็หิววว ><

       ว่าแต่คนชอบทานปลาดอร์รี่ทั้งหลายรู้กันไหมว่าเจ้าปลาชนิดนี้เป็นสายพันธุ์อะไร นำเข้ามาจากที่ไหน วันนี้มีข้อมูลมาบอกกัน

       สำหรับปลาดอรี่นั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ

       "จอห์น ดอรี่" ( John Dory ) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zenopsis conchifera อาศัยอยู่ในทะเลลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นปลาตัวกลม ๆ อ้วน ๆ เนื้อปลามีสีขาว เคยนำเข้ามาขายในประเทศไทยเมื่อนานมาแล้ว แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เพราะราคาสูง 

       ปลาในกลุ่ม "แพนกาเซียส" ( Pangasius ) หรือปลาสวายประเภทหนึ่ง ซึ่งมีปลาชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาบึก ปลาคัง ฯลฯ อยู่ในตระกูล Pangasius นี้ด้วย โดย Pangasius แปลว่าปลาสวายอยู่แล้ว แต่ถ้าพูดถึงปลาดอร์รี่ เราจะหมายถึง "ปลาแพนกาเซียส" ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "Pangasius Hypophthalmus" มีเนื้อสีขาว รสชาติใกล้เคียงกับปลาจอห์น ดอรี่ แต่ราคาถูกกว่า คนจึงนิยมทานปลาสายพันธุ์แพนกาเซียสดอรี่มากกว่า 

       ทั้งนี้ปลาแพนกาเซียสดอรี่นี้คนมักเรียกกันสั้น ๆ จนติดปากว่า "ปลาดอรี่" ซึ่งที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยนั้น นำเข้ามาจากฟาร์มเลี้ยงในเวียดนาม

       อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้มีข้อมูลระบุว่า จริง ๆ แล้วปลาดอรี่ที่เราทานกันอยู่นั้นไม่ใช่ปลาดอรี่จริง ๆ แต่เป็นปลาสวาย ซึ่งข้อมูลนี้มีบางส่วนไม่ถูกต้องจึงขอแก้ไขความเข้าใจเสียใหม่

       กล่าวคือ ปลาดอรี่นั้นมีอยู่ 2 สายพันธุ์ดังที่บอกไว้ข้างต้น แต่ที่คนไทยนิยมรับประทานคือสายพันธุ์ที่มีชื่อสากลว่า "แพนกาเซียสดอรี่" ซึ่งอยู่ในตระกูลปลาสวาย และก็ถือเป็นปลาดอรี่สายพันธุ์หนึ่งเช่นกัน 

       เรื่องนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาความเข้าใจผิดด้วยการออกหนังสือเรื่องแนวทางการแสดงฉลากเนื้อปลาสวายหรือเนื้อปลาในตระกูลแพนกาเซียสเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 โดยระบุให้ปรับแก้ไขการแสดงฉลากให้ถูกต้อง ภายในวันที่ 1 มกราคม 2555 ความว่า

       1.หากผู้ใดมีความประสงค์จะนำเข้าปลาสวายที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius Hypophthalmus เพื่อจำหน่าย ฉลากจะต้องแสดงชื่อภาษาไทยกำกับว่า "ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่" 


       2.หากผู้ใดมีความประสงค์จะนำเข้าปลาโมง หรือปลาเผาะ หรือปลาบึก ซึ่งเป็นปลาในตระกูล Pangasius เพื่อจำหน่าย ให้แสดงชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius spp ฉลากจะต้องแสดงชื่อภาษาไทยกำกับว่า "ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่"


       ทีนี้หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องนำเข้าปลาแพนกาเซียสดอร์รี่จากเวียดนามด้วย นั่นก็เพราะเนื้อปลาชนิดนี้ที่เวียดนามเลี้ยงมีคุณภาพดีกว่า เนื้อปลามีสีขาวดูน่ารับประทาน และยังมีรสชาติอร่อย ต่างจากปลาสวายที่ขายตามตลาดสดของไทยที่เนื้อมีสีเหลืองและมีรสชาติไม่ถูกปากนัก 

       ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ของเวียดนามเลี้ยงได้ในน้ำจืด เป็นปลาที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ทั้งกรดไขมันโอเมก้า-2 วิตามินบี 2 โปรตีน ทานแล้วดีต่อสุขภาพ ร้านอาหารหลายแห่งจึงยกเมนูปลาดอร์รี่เป็นอีกหนึ่งอาหารเพื่อสุขภาพอย่างไม่ต้องสงสัย 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

มังค์ฟิช ( Monkfish ) ( มังค์ - ฟิช ) 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish  


       ( ภาพบน ) มังค์ฟิช ( Monkfish ) - เป็นปลาที่มีลักษณะอัปลักษณ์ น่าเกลียด , มีขนาดหัวใหญ่ และมีลำตัวที่เล็ก 

       ทานได้เฉพาะตัวปลา ( ไม่ทานหัว ) , เวลาขายในท้องตลาด จะมีขายแบบทั้งตัว และมีขายแบบเป็นเนื้อชิ้นๆ ที่เอาก้างออกแล้ว

       เนื้อปลานี้ แน่น และมีรสชาติที่ยอดเยี่ยม 

       มังค์ฟิช เป็นแหล่งที่ดีของฟอสฟอรัส และให้โพแทสเซียม 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://cooking.kapook.com/view95998.html   


       ถ้าใครได้ดูรายการเชฟกระทะเหล็กที่ผ่านมา ก็จะได้รู้จักเจ้าปีศาจทะเล หรือปลาหน้าตาประหลาดที่ชื่อว่า ปลามังค์ฟิช วัตถุดิบชั้นยอดจากใต้ท้องทะเลลึก กลายเป็นที่สนใจในช่วงข้ามคืน เพราะใครจะไปเชื่อว่า ปลาทะเลน้ำลึกหน้าตาประหลาดพิลึกแบบนี้เนี่ย กลับมีเนื้อสัมผัสและรสชาติที่แสนอร่อยซึ่งดูขัดกับหน้าตาเป็นอย่างมาก จับมาปรุงเป็นเมนูอาหารได้น่ากินสุด ๆ 

       แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักปลามังค์ฟิชนี้ว่าคือ ปลาอะไร และสามารถนำไปใช้รังสรรค์เป็นเมนูอาหารอะไรได้บ้าง ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าปีศาจทะเลมังค์ฟิชตัวนี้กันเลยดีกว่า 


ปลามังค์ฟิชคืออะไร ? 

       มังค์ฟิช ( Monkfish ) เป็นปลาทะเลน้ำลึกที่มีรูปร่างหน้าตาประหลาด มีหัวขนาดใหญ่ แต่ลำตัวเรียวเล็ก ผิวขรุขระเป็นตะปุ่มตะป่ำไปทั้งตัว สีน้ำตาลเข้มค่อนไปทางดำ เวลาอ้าปากจะกว้างมาก และฟันซี่แหลมคม จะพบมากในทวีปยุโรป แถบประเทศสเปน และโปรตุเกส และยังพบได้ที่บริเวณใต้ท้องทะเลลึกแถบมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรแอตแลนติกอีกด้วย

       ปลามังค์ฟิช มักจะอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำตื้นไปจนถึงบริเวณน้ำที่มีความลึกถึง 1,000 เมตรเลยทีเดียว ถ้าเป็นปลามังค์ฟิชขนาดเล็ก จะอาศัยอยู่ในระดับความลึกประมาณ 150 เมตร แต่ถ้าเป็นมังค์ฟิชขนาดใหญ่ก็จะอยู่ลึกลงไปอีก แต่ถึงแม้ว่าเจ้าปลาประหลาดนี้จะอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึกก็ตาม แต่ก็จะมีบางครั้งที่จะสามารถพบปลามังค์ฟิชขึ้นมาหายใจอยู่เหนือผิวน้ำได้เช่นกัน 


ตำนานปลามังค์ฟิช

       มีบันทึกในตำนานโบราณของชาวโปแลนด์ว่า ในช่วงที่พวกเขาออกไปเดินเรือในมหาสมุทร ก็ได้พบกับปลายักษ์ชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่มาก มองไกล ๆ เหมือนกับบาทหลวงในสมัยโบราณที่กำลังนอนนิ่ง ๆ อยู่ในทะเล เลยจิตนาการไปว่า ปลาชนิดนี้เป็นบาทหลวงแห่งท้องทะเล จึงเรียกกันว่า มังค์ฟิช นั่นเอง

       บ้างก็ว่าได้รับการขนานนามมาจากนักตกปลา เมื่อศตวรรตที่ 16 ในขณะที่พวกเขาจับปลาชนิดนี้ขึ้นมาบนบก ก็มักจะได้ยินเสียงปลาชนิดนี้ร้องออกมาคล้ายกับเสียงของพระสวดอยู่ในโบสถ์ ก็เลยเป็นที่มาของชื่อ ปลามังค์ฟิช นั่นเอง แต่นั่นก็เป็นเพียงตำนานที่เล่าต่อ ๆ กันมาเท่านั้น 


เมนูอร่อยจากปลามังค์ฟิช

       อยากที่บอกว่า ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อล่ะที่ปลาปลามังค์ฟิชหน้าตาขี้เหร่ตัวนี้ สามารถนำมาปรุงอาหารได้อร่อยเลยทีเดียว แถมยังมีราคาแพงอีกด้วยนะจ๊ะ ซึ่งเชฟจากร้านอาหารหรู ๆ จึงนิยมนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารสุดหรูมากกว่าจะนำมาขายตามท้องตลาดทั่ว ๆ ไป โดยจะตัดหัวออกแล้วนำเนื้อในส่วนของลำตัวมาปรุงอาหารเท่านั้น โดยเฉพาะตับของปลามังค์ฟิชที่ใครได้ลองลิ้มชิมรสแล้วก็ต้องยกนิ้วให้ แถมเนื้อปลามังค์ฟิชยังมีไขมันน้อย โปรตีนสูงอีกด้วย

       ปลามังค์ฟิชสามารถนำมาทำเป็นเป็นเมนูอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สเต็กปลามังค์ฟิชย่าง ปลามังค์ฟิชทอด ปลามังค์ฟิชตุ๋น ปลามังค์ฟิชผัดน้ำมันมะกอก หรือว่าจะเป็นแกงปลามังค์ฟิช ก็น่าลิ้มลองด้วยกันทั้งนั้น

       สำหรับใครที่อยากจะลองลิ้มชิมรสเมนูอร่อยจากปลามังค์ฟิชให้เป็นบุญปาก ง่ายที่สุดก็คงต้องรอให้ถึงช่วงเทศกาลปลามังค์ฟิช ซึ่งโรงแรมดัง ๆ ก็นำปลามังค์ฟิชมาปรุงอาหารให้คุณได้ลองกินกันดู 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://fromnorway-th.com/seafood-from-norway/monkfish/  


ปลามังค์ฟิช

       ปีศาจทะเลลึกแห่งนอร์เวย์ มากับรสชาติดั่งสวรรค์ประทาน 

       ปลามังค์ฟิชมีหน้าตาน่ากลัว แต่มันกลับเป็นปีศาจร้ายใต้ทะเลลึก ที่เป็นเหมือนนางฟ้าในจานอาหาร และเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว ที่มันช่วยรักษาชีวิตคนเป็นโรคเบาหวาน 

       พูดตรงๆ ก็คือ ปลาชนิดนี้มีหน้าตาที่ไม่เชิญชวนเอาเสียเลย แถมยังชวนให้นึกถึงฝันร้ายเอาเสียด้วย และแน่นอนว่า ด้วยหน้าตาอันไม่น่าดูของมันนั่นเอง มันจึงมักถูกขนานนามว่า “ปีศาจแห่งท้องทะเล” อยู่เสมอ  /  เป็นเวลานานแล้ว ที่ชาวประมงที่จับมันได้จะปล่อยมันทิ้งลงไปในทะเลตามเดิม 

       ทว่าปลามังค์ฟิชก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มันดูน่าเกลียดเฉพาะชั้นผิวหนังเท่านั้น ลองให้โอกาสมันดูสักครั้ง แล้วคุณจะพบว่า เนื้อของมันอร่อยมาก อีกทั้งมีคุณค่าทางอาหาร และใช้ประโยชน์ได้หลากหลายจริงๆ

       ประชากรปลามังค์ฟิชในนอร์เวย์กำลังเพิ่มขึ้น และมีการจัดการด้วยความระมัดระวัง ดังนั้นถ้าคุณสามารถมองข้ามรูปลักษณ์ภายนอกของมันไปได้ คุณจะได้แหล่งอาหารที่อร่อยและยั่งยืนขึ้นมาในทันที


ขี้เกียจแต่เป็นนักล่าผู้ชาญฉลาด

       จะต้องไปเที่ยวหาอาหารทำไม ในเมื่อคุณสามารถทำให้มันว่ายลงท้องของคุณได้เอง นั่นคือวิธีของปลามังค์ฟิช โดยมันจะซ่อนตัวอยู่ในโคลนหรือน้ำขุ่นๆ และจะใช้หนวดที่คล้ายเสาสัญญาณ คอยล่อปลาตัวอื่นที่ผ่านไปมา เพื่อให้หลงเข้าไปในปากของมันที่อ้าไว้ตลอดเวลา และเมื่อเหยื่อที่โชคร้าย ถูกงับด้วยฟันที่เรียงเป็นแถว อีกทั้งมีการเอียงในทิศทางเข้าไปในปาก ทำให้ยากแก่การดิ้นให้หลุด 

       ด้วยความขี้เกียจ แต่มีวิธีการที่เจ้าเล่ห์เช่นนี้ ทำให้ปลาชนิดนี้ดูเหมือนทุ่นที่อยู่ในน้ำ โดยมีรูปร่างที่ประกอบด้วยปากเสียเป็นส่วนใหญ่แล้วเหลือที่เอาไว้สำหรับบริเวณลำตัวแค่เพียงเล็กน้อย 

       ด้วยปากที่กว้างใหญ่ และกระเพาะที่ขยายได้มากนั่นเอง ทำให้มันสามารถกินเหยื่อที่มีขนาดเท่าตัวมันได้ ปลามังค์ฟิชบางตัวอาจจะยาวได้ถึงหนึ่งเมตร และหนักได้ถึงกว่าร้อยกิโลเลยทีเดียว ดังนั้น เหยื่อของมันก็อาจจะไม่ใช่เพียงแค่สัตว์น้ำเล็กๆ เท่านั้นก็ได้ ในบางครั้งคุณอาจพบนกทะเลในท้องของมัน และในบางกรณี คุณอาจจะพบตัวนากในท้องของมันก็เป็นได้ เราไม่ทราบแน่ชัดว่า มันกลืนกินล่าตัวนากได้อย่างไร แต่แน่นอนว่าเรื่องเล่าทำนองนี้ ก็คงเป็นสิ่งที่จะสร้างสีสันในท้องทะเลได้อย่างไม่ต้องสงสัย 

       เนื่องจากปากของมัน ถูกออกแบบมาให้ดักจับเหยื่อ มากกว่าที่จะใช้เป็นอาวุธในการฆ่าหรือฉีกชิ้นเนื้อ ดังนั้นกรามของมันจึงไม่ได้แข็งแรงอย่างที่คิด นั่นหมายความว่า ถ้าคุณต้องการ คุณสามารถสอดแขนของคุณเข้าไปในคอของมันได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกกัดจนเสียแขนของคุณไปแต่อย่างใด อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี 


เป็นทั้งอาหารและช่วยชีวิตมนุษย์ 

       เป็นเวลาเนิ่นนานมาแล้ว ที่คนจับปลาที่จับปลามังค์ฟิชได้ จะโยนมันกลับลงไปในทะเลตามเดิม โดยไม่ทันตระหนักว่านั่นเป็นสิ่งที่สูญเปล่าขนาดไหน ทว่าในปัจจุบันนี้ ปลาชนิดนี้กลับเป็นตัวอย่างอันมีชีวิต ว่าคุณไม่ควรจะตัดสินปลาด้วยรูปร่างหน้าตาของมัน เพราะอันที่จริงแล้ว มันสามารถช่วยรักษาชีวิตผู้คนจำนวนนับไม่ถ้วน เพราะ "ตับอ่อน" ของมันถือเป็นแหล่งอินซูลินชั้นเยี่ยม ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือผู้เป็นโรคเบาหวานได้ 

       เมื่อพูดถึงการปรุงอาหารแล้ว ปลามังค์ฟิชมีเนื้อที่แน่น และรสชาติอร่อย ซึ่งสามารถนำมาทอดหรือต้มก็ได้ และมันก็เข้ากันได้ดีกับเมนูอาหารและเครื่องปรุงจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเมนูพาสต้า ข้าว หรือคูสคูสก็ตาม คุณสามารถนำมันเข้าไปเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับเมนูนั้นๆ ได้ นอกจากนี้ เนื้อของมันยังไม่ค่อยมีมัน และดีต่อสุขภาพ อุดมไปด้วยโปรตีนและวิตามิน ซึ่งช่วยคุณได้ทั้งในเรื่องกล้ามเนื้อและสายตา 


จำนวนที่เติบโตได้อย่างมั่นคง

       ปลามังค์ฟิชอาศัยอยู่ตลอดแนวชายฝั่งนอร์เวย์ แต่มันก็สามารถพบได้ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ และชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว อาจจะต้องหามันจากท้องทะเลลึกสักหน่อย แต่บางครั้งมันก็เข้ามาใกล้ๆ ชายฝั่งได้เหมือนกันโดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์

       ปัจจุบันประชากรปลามังค์ฟิง ได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด และรายงานล่าสุดแสดงให้เห็นว่าจำนวนของมันกำลังเพิ่มขึ้น และเพื่อเป็นการปกป้องฝูงปลาบางแหล่ง ที่ยังไม่เสถียรนัก นอร์เวย์จึงห้ามทำประมงปลาชนิดนี้ เหนือเส้นละติจูดที่ 64 ในเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคม เพื่อให้แน่ใจว่า ประชากรปลามังค์ฟิงที่อาศัยอยู่ตามแหล่งที่อยู่ธรรมชาตินั้นจะยังคงมีความยั่งยืนต่อไป 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ปลากระบอก ( Mullet ) ( มัล - เล็ท ) 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish  


       ปลากระบอกมี 2 แบบคือสีแดงและสีเทา

       ปลากระบอกสีแดง ( Red Mullet Fish ) - มีผิวสีแดงสวยงาม มีเนื้อแน่นและไม่ติดมัน , มีรสชาติเหมือนกุ้งมังกร

       เนื่องจากเป็นปลาตัวเล็กจึงมักขายทั้งตัว 


       ปลากระบอกสีเทา ( Grey Mullet Fish ) - มีขนาดใหญ่กว่า , เป็นสีเทา , มีเนื้อไม่ติดมันและมีรสชาติดี

       ปลากระบอกสีเทาขายเป็นแบบทั้งตัว และเป็นแบบที่แล่เป็นชิ้นๆทั้งชิ้น


       วิธีปรุง - ใช้การทานสดๆ หรือทอดก่อนก็ได้


       สารอาหาร - ให้วิตามินซี และโปแตสเซียม




* * * ปลากระบอกสีแดง ( Red Mullet Fish ) * * *



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.public-welfare.com/4137010-red-mullet-fish-is-a-small-delicacy   


       ปลากระบอกแดง ถูกพบนอกชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ

       ฝูงปลากระบอกแดง พบได้ใกล้หมู่เกาะคานารี่ และอะซอเรส ซึ่งอยู่นอกชายฝั่งอัลเบียน และพบที่ทะเลบอลติก 

       ปลากระบอกสีแดงเป็นที่รู้จักกันดี โดยชาวกรีกโบราณ ชาวฟินิเชีย และคนอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้

       ชาวโรมันผู้สูงศักดิ์ในยุคแห่งการเสื่อมถอยของจักรวรรดิ ชอบอาหารที่ทำขึ้นจากปลาชนิดนี้ 

       ปลากระบอกแดง ที่ใหญ่ที่สุดมีความยาวเกินกว่า 30 ซม. แต่ขนาดที่พบมากที่สุดคือ 20 - 25 ซม. มันมีกระดูก ( ก้าง ) ไม่มากนัก จึงเป็นที่นิยมในการรับประทาน

       ปลากระบอกสีแดงพบได้เฉพาะในเขตชายฝั่ง มันไม่เคยว่ายน้ำไกลจากฝั่ง มันกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เล็ก ๆ เช่นหอย, กุ้ง, และอื่น ๆ

       การจับปลากระบอกสีแดง ต้องใช้เหยื่อคือ หนอน Nereis , mormysh หรือเนื้อสับละเอียดของปลาสด , บางครั้ง ชาวประมงก็ใช้หอยแมลงภู่บดเป็นเหยื่อ 

       สามารถซื้อปลากระบอกสีแดงแบบเป็นปลาแช่แข็ง ในราคาหนึ่งกิโลกรัม เป็นเงิน 350 รูเบิล ( ประมาณ 152 บาท ) ได้ที่ชายฝั่งทะเลดำ  /  คุณอาจเจรจาต่อรองราคากับชาวประมงได้ ( คือซื้อปลาสด ไม่ใช่ปลาแช่แข็ง ) แต่ราคาก็ไม่น่าจะแตกต่างกันมาก

       ปลากระบอกแดงชอบดินโคลนหรือทราย  และเมื่อมีอายุ 2 ปี ก็จะโตเต็มวัย มันปลาวางไข่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม  /  ปลากระบอกสีแดงมีอายุขัย 12 ปี 

       ในฤดูวางไข่ ปลากระบอกแดงตัวเมียหนึ่งตัว สามารถกวางไข่ได้มากถึง แปดหมื่นแปดพันฟอง 


* * * ปลากระบอกสีเทา ( Grey Mullet Fish ) * * * 


- - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ปลากระบอกเทา


       ปลากระบอกเทา ( Flathead mullet , Grey mullet , Striped mullet ; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mugil cephalus ) เป็นปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระบอก ( Mugilidae ) มีลักษณะทั่วไป คือ เป็นปลาที่มีลำตัวยาวป้อมหัวแหลม ที่ตามีเยื่อไขมันคลุม ปากเล็ก ครีบหลังมีสองอัน ส่วนหลังเป็นสีเทาหรือน้ำตาล ด้านข้างเป็นสีเงินวาวท้องขาว ข้างลำตัวมีแถบสีดำบาง ๆ พบมีอยู่ทั่วไปในเขตร้อนและเหนือหรือใต้เขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับในไทยมีรายงานว่าพบที่จังหวัดสงขลาแต่ไม่มาก

       วงจรชีวิตของปลากระบอกเทาคล้ายกับปลานวลจันทร์ทะเล ซึ่งเป็นปลาคนละวงศ์กัน กล่าวคือ ผสมพันธุ์วางไข่ในทะเลแล้วลูกปลาจะเข้ามาหากินและเจริญเติบโตในบริเวณชายฝั่ง ปลาจะเจริญเติบโตในบริเวณชายฝั่งและจะโตเต็มวัยพร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ปลาเพศเมียจะมีไข่ตั้งแต่ 1-3 ล้านฟอง แล้วแต่ขนาดของปลา ปลาจะวางไข่ในทะเลลึกนอกชายฝั่งที่มีอุณหภูมิในช่วง 21-25 องศาเซลเซียส ลักษณะไข่ปลาเป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอยลูกปลาที่ฟักเป็นตัวจะถูกกระแสน้ำพัดพาเข้าในบริเวณชายฝั่ง ลูกปลาช่วงวัยอ่อนจะกินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหารเมื่อลูกปลาเจริญได้ขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร ก็จะเปลี่ยนอุปนิสัยการกินอาหารมากินพืชแทน 

       ปลากระบอกเทาเป็นปลาที่กินพืชที่แท้จริงจัดอยู่ในขั้นอาหารที่สอง เป็นปลาที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ง่าย และสามารถหาอาหารกินได้ในทุกระดับน้ำ 

       ปลากระบอกเทาจะกินโดยวิธีการดูดหรือแทะเล็มที่พื้นผิววัสดุซึ่งมีทั้งอาหารและไม่ใช่อาหาร แต่จะมีอวัยวะกรองที่คอเรียกว่า "Phary ngeal fitering device" แยกตะกอนอาหารออกจากตะกอนที่ไม่ใช่อาหารแล้วพ่นตะกอนที่ไม่ใช่อาหารออกมาและส่วนที่เป็นอาหารก็จะกลืนลงสู่กระเพาะอาหารส่วนลำไส้จะยาวมาก ขดอยู่หลังกระเพาะอาหารยาวประมาณ 5 เท่าของตัวปลา 

       ปัจจุบัน ปลากระบอกเทา มีการทดลองเลี้ยงและส่งเสริมให้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับปลากระบอกชนิดอื่น ๆ โดยเลี้ยงกันในบ่อดิน นอกจากนี้แล้วยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย นับเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย สามารถปรับตัวให้เข้ากับที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดี 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th2.wiki/wiki/Mullet_(fish)   


       ปลากระบอกเทา เป็นวงศ์ ( Mugilidae ) ของ ปลาครีบเรย์ ที่พบทั่วโลกในน่านน้ำเขตอบอุ่นและเขตร้อนชายฝั่งและบางชนิดในน้ำจืด , Mullets เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญใน เมดิเตอร์เรเนียนยุโรป ตั้งแต่ โรมัน

       วงศ์นี้มีประมาณ 78 ชนิดใน 20 สกุล

       Mullets มีความโดดเด่นด้วยการมีครีบหลังสองอันแยกจากกัน ปากรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก และไม่มีเส้นด้านข้าง  /  พวกมันกิน detritus 

       สปีชีส์ส่วนใหญ่มีกล้ามเนื้อ และมีคอหอยที่ซับซ้อน เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร 


พฤติกรรม 

       พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ทั่วไปในปลากระบอกเทาคือ การกระโดดขึ้นจากน้ำ

       การกระโดดมีสองประเภทที่แตกต่างกัน: กระโดด "ขึ้นตรงๆ" ออกจากพื้นน้ำเพื่อหนีนักล่า  /  และการกระโดดที่ช้าลงและต่ำลงในขณะที่ "หันไปทางด้านข้าง" ซึ่งส่งผลให้เกิดการกระเซ็นที่ใหญ่ขึ้น , มากขึ้น 

       การกระโดดแบบ "หันไปทางด้านข้าง" นี้ มีการตั้งสมมติฐานว่า เพื่อทำให้ได้อากาศที่อุดมด้วยออกซิเจน โดยใช้อวัยวะเล็ก ๆ เหนือคอหอย ในการทำแบบนั้น ( รับอากาศที่มีออกชิเจน )


การจำแนกและการตั้งชื่อ 

       อนุกรมวิธาน : ปัจจุบัน ปลากระบอกเทา ถือเป็นชนิดเดียวของพันธ์ Mugiliformes

       Nelson กล่าวว่า "มีความขัดแย้งกันมากเกี่ยวกับความสัมพันธ์" ของครอบครัวนี้ การมีหนามครีบบ่งบอกถึงความเป็นสมาชิกในซูเปอร์ออร์เดอร์ Acanthopterygii อย่างชัดเจน

       และในปี 1960 พวกมันถูกจัดประเภทเป็น perciforms แบบดั้งเดิมในขณะที่คนอื่น ๆ ได้จัดกลุ่มไว้ใน Atheriniformes

       พวกมันถูกจัดเป็นหมวด Mugiliformes ภายในซีรีย์ย่อย Ovalentaria ของ cladePercomorpha ในรุ่นที่ 5 ของสายพันธุ์ปลาของโลก 

       ในอเมริกาเหนือ "ปลากระบอก" มักหมายถึง Mugilidae  /  ในยุโรปคำว่า "ปลากระบอก" มักจะมีคุณสมบัติคือ "ปลากระบอกสีเทา" คือ Mugilidae และ "ปลากระบอกแดง" หรือ "surmullets" เป็น Mullidae

       "ปลากระบอก" อาจเป็นสมาชิกของครอบครัวหนึ่ง หรืออีกตระกูลหนึ่ง หรือแม้แต่ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เช่นปลาน้ำจืด สีขาว ( Catostomus commersonii ) 


สกุลต่อไปนี้ ได้รับการยอมรับว่าเป็น Mugilidae 

* * * Mugil 

* * * Chelon 

* * * Agonostomus 

* * * Cestraeus 

* * * Joturus 

* * * Myxus 

* * * Chaenomugil 

* * * Rhinomugil 

* * * Neomyxus 

* * * Liza 

* * * Trachystoma 

* * * Oedalechilus 

* * * Sicamugil 

* * * Aldrichetta 

* * * Moolgarda 

* * * Crenimugil  

* * * Xenomugil 

* * * Valamugil 

* * * Paramugil 


อย่างไรก็ตามงานอนุกรมวิธานล่าสุดได้จัดระเบียบครอบครัวใหม่ และสกุลต่อไปนี้ประกอบเป็น Mugilidae :

* * * Agonostomus 

* * * Aldrichetta 

* * * Cestraeus 

* * * Chaenomugil 

* * * Chelon 

* * * Crenimugil 

* * * Dajaus 

* * * Ellochelon 

* * * Gracilimugil 

* * * Joturus 

* * * Minimugil 

* * * Mugil 

* * * Myxus 

* * * Neomyxus 

* * * Neochelon 

* * * Oedalechilus 

* * * Osteomugil 

* * * Parachelon 

* * * Paramugil 

* * * Planiliza 

* * * Plicomugil 

* * * Pseudomyxus 

* * * Rhinomugil 

* * * Sicamugil 

* * * Squalomugil  

* * * Trachystoma 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ปลาลิ้นหมา ( Plaice ) ( พเลซ ) 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish  


       ( ภาพบน ) ปลาลิ้นหมา ( Plaice - พเลซ ) - เป็นปลาที่มีสีเข้ม และมีจุดสีส้มหลายจุดอยู่ที่ผิว  /  เนื้อของปลานุ่มมากๆ และถูกย่อยในกระเพาะเราได้ง่าย 

       การวางขายในท้องตลาดนั้น มีทั้งการขายเป็นตัว และขายเป็นชิ้นๆ ( เอาก้างออกแล้ว )  /  เนื้อปลาจะสดมาก แต่ถ้าจะให้ดี "ไม่ควร" ซื้อในช่วงฤดูร้อน  เพราะว่าปลาชนิดนี้ ในช่วงฤดูร้อน ( หลังจากการวางไข่เสร็จในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ) รสชาติของเนื้อจะไม่ดี 

       ปลาลิ้นหมา ให้วิตามิน B หลายตัว คือให้วิตามิน B1 , B6 , B12  และยังให้ ไนอาซีน และโพแทสเซียม  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Plaice   


       ปลา พเลซ เป็นชื่อสามัญของกลุ่มปลาแบนที่ประกอบด้วย 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ปลายุโรป , สายพันธุ์ปลาอเมริกา , สายพันธุ์ปลาอลาสก้า และ สายพันธุ์ปลา scale-eye plaice

       สายพันธุ์ที่มีความสำคัญในเชิงการค้าคือ สายพันธุ์ของปลายุโรป  นิยมเอาไปเพาะเลี้ยงเชิงการค้า นอกจากจะมีจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว ยังมีความนิยมในการตกปลาพันธุ์นี้ เพื่อการสันทนาการอีกด้วย  ( หมายถึงพันธุ์ของปลายุโรปนี้ )

       คำศัพท์ว่า Plaice มาจาก Plais ซึ่งเป็นคำของ แองโกล-ฝรั่งเศส ที่ใช้กันในศตวรรษที่ 14 , และยังมีคำศัพท์ในภาษาลาตินว่า Platesa ซึ่งหมายถึงปลาแบน ที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณว่า Platys ซึ่งแปลว่ากว้าง 


สายพันธุ์ ยุโรป : เป็นปลาแบนตาขวาที่อยู่ในวงศ์ Pleuronectidae  เป็นปลาแบนที่มีความสำคัญทางการค้า 

       อาศัยอยู่บนพื้นทรายของทะเลเรนท์ ไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

       ปลาสายพันธุ์ยุโรปนี้มีผิวสีน้ำตาลเรียบ , มีจุดสีแดงที่โดดเด่นอยู่บนผิวหนัง  และกระดูกสันอยู่บริเวณหลังนัยน์ตา 

       พวกมันกิน polychaetes , ครัสเตเชีย และ bivalves ในเวลากลางคืนพวกมันจะเคลื่อนตัวลงไปในน้ำตื้นเพื่อหาอาหาร และในเวลากลางวันพวกมันก็จะฝังตัวอยู่ในทราย 

       ความยาวสูงสุดที่บันทึกไว้คือ 100 ซม. ( 39.4 นิ้ว ) และอายุสูงสุดที่ได้รับรายงานคือ 50 ปี 

       ที่ทะเลเหนือ ทะเลเซลติก ปลาสายพันธุ์ยุโรปนี้ ถูกจับมาบริโภคมาเป็นร้อยปีแล้ว โดยใช้การจับด้วยอวนลาก



สายพันธุ์ อเมริกา :  เป็นปลาแบนตาขวาที่อยู่ในวงศ์ Pleuronectidae ( เหมือน สายพันธุ์ยุโรป )

       สายพันธุ์อเมริกา เป็นสายพันธุ์ของมหาสมุทรแอตแลนติก พบตั้งแต่ Labrador ตอนใต้ ไปจนถึงหมู่เกาะ Rhode 

       นอกจากนี้ยังพบ สายพันธุ์อเมริกา นี้ในยุโรปด้วย ซึ่งมีเรียกเฉพาะตัวว่า Rough Dab หรืออาจเรียกว่า Long Rough Dab

       ปลาพวกนี้วางไข่ในอ่าวเมน ( Gulf of Maine ) ในช่วงเดือนเมษายน และพฤษภาคม 

       มีสีน้ำตาลหรือสีแดง และโดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดเล็กกว่า สายพันธุ์ยุโรป , มีผิวที่หยาบกว่าและมีเกล็ดขนาดใหญ่กว่า 

       ความยาวสูงสุดที่บันทึกไว้คือ 82.6 ซม. ( 32.5 นิ้ว ) และอายุสูงสุดที่รายงาน 30 ปี

       มักพบระหว่างความลึก 90 เมตรถึง 250 เมตรบนพื้นทรายที่มีอุณหภูมิระหว่าง -0.5 ถึง 2.5 °C

       อาหารของปลาพวกนี้คือ ปลาตัวเล็กและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 


       ปัจจุบันพวกมันจะใกล้สูญพันธุ์ในแคนาดา เนื่องจากการตกปลาที่มากเกินไป และไม่มีสัญญาณการฟื้นตัว 

       ปลา พเลซ เป็นปลาแบนที่จับได้มากเป็นอันดับสองในแคนาดา คิดเป็น 50% ของปลาแบนที่จับได้ทั้งหมด 


       สายพันธุ์อเมริกา อาจเป็นตัวกลางสำหรับปรสิต Otostrongylus circumlitis ซึ่งเป็นพยาธิตัวตืดของแมวน้ำ



สายพันธุ์ อลาสก้า : มีอายุขัย 30 ปี และเติบโตได้ยาวถึง 60 เซนติเมตร ( 24 นิ้ว ) แต่ส่วนใหญ่ที่จับได้จะมีอายุระหว่าง 7 - 8 ปี และมีความยาวประมาณ 30 ซม. ( 12 นิ้ว ) 

       ปลาสายพันธุ์นี้ ถูกจับใน ทะเลแบริ่ง ( Bering Sea ) และหมู่เกาะอะลูเทียน ( Aleutian Islands )  /  คนจับปลามักไม่ได้มีเป้าหมายในการจับปลาสายพันธุ์นี้ แต่ว่ามันมักติดมากับอวนลากปลาด้วย มันก็เลยถูกจับไปด้วย  



สายพันธุ์ Scale-eye : เป็นปลาแบนในวงศ์ Pleuronectidae 

       เป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ที่ระดับความลึกระหว่าง 18 เมตร ( 59 ฟุต ) ถึง 900 เมตร ( 3,000 ฟุต )

       เมื่อโตเต็มที่ สามารถยาวได้ถึง 46 เซนติเมตร ( 18 นิ้ว ) และหนักได้ถึง 1.2 กิโลกรัม ( 2.6 ปอนด์ ) 


       ถิ่นอาศัยพื้นเมืองของมันคือ มหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ ส่วนใหญ่มาจาก ทะเลโอค็อตสค์ ( Sea of Okhotsk ) ไปจนถึงญี่ปุ่นและเกาหลี  แต่ก็จะพบใน ทะเลแบริ่ง ( Bering Sea ) ด้วย 



การนำมาปรุงเป็นอาหาร

       ปลา พเลซ เป็นปลาที่นิยมรับประทานกันมากใน เยอรมันเหนือ และเดนมาร์ก เนื่องจากเนื้อปลามีสีขาว นุ่ม และมีรสชาติที่ละเอียดอ่อน

       ปรุงในรูปแบบของการชุบแป้งทอด และผัด และยังนิยมใส่กับแซนวิช ราดด้วย ซอสเรมูเลด ( Remoulade Sauce ) และใส่มะนาวฝาน  เสิร์ฟพร้อมกับ เฟรนช์ฟรายส์ 

       มีเมนูปลาและมันฝรั่งทอดนี้ในร้านอาหารทั่วไปในเดนมาร์ก และยังถือเป็นเมนูพิเศษสำหรับเด็กอีกด้วย 

       สำหรับการปรุงอาหารทานที่บ้านนั้น ให้หาซื้อปลา พเลซ ได้ที่ ซูเปอร์มาร์เก็ต แล้วนำมาชุบเกล็ดขนมปัง แล้วอบ หรือทอด 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ปลากระพง ( Sea bass ) ( ซี - บาส ) 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish   


       ปลาชนิดนี้ มีเนื้อละเอียดอ่อน และมีรสชาติที่ยอดเยี่ยม 

       ในท้องตลาด หาซื้อปลานี้ได้ทั้งมีขายทั้งชิ้น และทำเป็นสเต็ก  /  ซี -บาส เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี 

       ปลานี้ไม่ต้องการอะไรมากในการปรับปรุงรสชาติ - แต่มะนาวและกระเทียมจะเข้ากับรสชาติของอาหาร โปรดใช้ที่ตัดกระเทียมคุณภาพสูง เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังหั่นกระเทียมอย่างเหมาะสม และไม่ออกมาเป็นก้อนเกินไป 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ปลาสเกต ( Skate ) ( สะ - เกด ) 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish  


       ที่จำหน่ายในท้องตลาด เขาจะขายเฉพาะ "ปีก" ( จริงๆ แล้วคือ ครีบ - หน้าอกของปลา )

       ปลาสเก็ตจะมีรสชาตดี เมื่อจับในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว

       ปลาที่จับได้ แม้จะสดมาก แต่ก็มีกลิ่นแอมโมเนีย แต่สิ่งนี้จะหายไประหว่างการปรุงอาหาร 

       เนื้อปลามีสีชมพูอ่อนๆ โดยเนื้อปลานี้ เมื่อให้ความร้อนแล้ว ก็จะสามารถขูดออกมาจากกระดูกอ่อนได้ง่าย 

       เนื้อปลามีรสหวานและมีลักษณะเป็นวุ้น 

       ปลาสเกต มีวิตามิน B12 ปริมาณมาก ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาระบบประสาท อีกทั้งยังมีวิตามิน B1 , B6 และไนอาซิน รวมทั้ง โพแทสเซียม ที่มีประโยชน์ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก :  https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาสเกต  


       ปลาสเกต ( Skate ) ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง ในกลุ่มปลากระเบน จัดอยู่ในวงศ์ Rajidae จัดเป็นปลากระเบนขนาดเล็ก แต่มีความแตกต่างไปจากปลากระเบนรวมถึงปลากระดูกอ่อนจำพวกอื่น ๆ

       ปัจจุบันพบมากกว่า 200 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Rajinae และ Arhynchobatinae 

       ปลาสเกตนับว่าเป็นปลากระเบนขนาดเล็ก จึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศทางตะวันตก เพราะมีขนาดเล็ก และเนื้อไม่มีกลิ่นแอมโมเนียฉุนเหมือนกับปลากระเบนจำพวกอื่น


การจำแนก แบ่งเป็นสกุล

       - Amblyraja 

       - Arhynchobatis 

       - Atlantoraja 

       - Bathyraja 

       - Breviraja 

       - Brochiraja 

       - Cruriraja 

       - Dactylobatus 

       - Dentiraja 

       - Dipturus 

       - Fenestraja 

       - Gurgesiella 

       - Hongeo 

       - Insentiraja 

       - Irolita 

       - Leucoraja 

       - Malacoraja 

       - Neoraja 

       - Notoraja 

       - Okamejei 

       - Pavoraja 

       - Psammobatis 

       - Pseudoraja 

       - Raja 

       - Rajella 

       - Rhinoraja 

       - Rioraja 

       - Rostroraja 

       - Sympterygia 

       - Zearaja 


       โดยปลาสเกตที่พบได้ในน่านน้ำไทย มีรายงานเพียงชนิดเดียว คือ ปลาสเกตทะเลซูลู , Okamejei jensenae พบที่ท่าเทียบเรือจังหวัดระนองและภูเก็ต จัดเป็นปลาน้ำลึกที่พบไม่บ่อยนัก 


ความแตกต่างระหว่างปลาสเกตกับปลากระเบน 


* * * การเกิด

ปลาสเกต - ปลาสเกตเป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ โดยถือว่าเป็นปลากระดูกอ่อนเพียงไม่กี่จำพวกที่วางไข่ และเป็นปลากระเบนกลุ่มเดียวที่วางไข่ โดยไข่ถูกเรียกว่ากระเป๋านางเงือก

ปลากระเบน - ปลากระเบนออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาพัฒนาจนเป็นตัวในช่องท้องของแม่ เมื่อออกลูกจะออกคราวละ 1–5 ตัว


* * * ครีบหลัง

ปลาสเกต - มีความแตกต่าง 

ปลากระเบน - หายไปหรือปรากฏร่องรอย


* * * ครีบเชิงกราน

ปลาสเกต - ครีบแบ่งออกเป็นสองแฉก 

ปลากระเบน - ครีบแบ่งออกเป็นแฉกเดียว 


* * * หาง

ปลาสเกต - หางอวบอ้วน ไม่มีเงี่ยงแหลม 

ปลากระเบน - หางเรียวยาวเหมือนแส้ มีเงี่ยงแหลมหนึ่งหรือสองชิ้น


* * * การป้องกันตัว

ปลาสเกต - ป้องกันตัวเองโดยการใช้ตุ่มหนามบนหลัง 

ปลากระเบน - ป้องกันตัวเองด้วยการใช้เงี่ยงแหลมที่โคนหาง


* * * ฟัน

ปลาสเกต - เล็ก 

ปลากระเบน - ฟันแบนเหมาะสำหรับการบดอาหาร 


* * * ขนาด

ปลาสเกต - โดยทั่วไปเล็กกว่าปลากระเบน 

ปลากระเบน - โดยทั่วไปใหญ่กว่าปลาสเกต 


* * * สี

ปลาสเกต - มักจะมีสีทึบทึม เช่น น้ำตาลหรือเทา ( แต่ไม่เสมอไป )

ปลากระเบน - บ่อยครั้งที่พบว่ามีลวดลายต่าง ๆ ( แต่ไม่เสมอไป )


* * * แหล่งอาศัย

ปลาสเกต - อาศัยอยู่ในทะเลลึก ( แต่ไม่เสมอไป ) 

ปลากระเบน - อาศัยอยู่ในน้ำตื้น ( แต่ไม่เสมอไป ) 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ปลาลิ้นหมา ( Soles ) ( โซล ) 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish 


       เป็นปลาแบนที่มีอยู่ในหลายสายพันธุ์ ได้แก่ dabs , lemon sole และ witch หรือ Torbay sole

       แต่พันธุ์ Dover sole ถือว่าที่ดีที่สุด และแพงที่สุด 

       เนื่อปลาชนิดนี้ จะแน่น , มีความฉ่ำ และมีรสชาติอร่อย 

       วางขายในท้องตลาดทั้งแบบเป็นชิ้น หรือแบบทั้งตัว

       เนื้อปลาให้ วิตามิน B12 และโพแทสเซียม 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://prezi.com/ptc102ymsou1/soles-fish/ 


       ปลาโซล ( Soles Fish ) ปลาโซลจัดเป็นปลาซีกเดียว มีหลากหลายสายพันธุ์ทั่วโลก

       เป็นปลาชนิดที่มีทั้งในน้ำเค็มและในน้ำจืด

       ในประเทศไทยก็มี ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

       เรียกชื่อไทยว่า ปลาลิ้นหมา , ปลาช่อม่วง เป็นต้น 

       ในยุโรป เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โดเวอร์ โซล 

       สายพันธุ์ขนาดใหญ่อยู่แถบอลาสกา เรียก ปลาแฮลิบัท 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ปลากระโทงดาบ ( Swordfish ) ( ซอร์ด - ฟิช ) 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     


 - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ปลากระโทงดาบ 


       ปลากระโทงดาบ หรือ ปลากระโทงแทงดาบ ( Swordfish , Broadbill swordfish ; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xiphias gladius ) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Xiphiidae 

       จัดเป็นเพียงชนิดเดียวและสกุลเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในวงศ์นี้ 

       มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลากระโทงร่ม ( Istiophoridae ) ต่างกันที่จะงอยปากที่ยื่นยาวออกไปมีลักษณะแบนลง เมื่อโตเต็มวัยไม่มีเกล็ดหุ้มตัว ไม่พบครีบท้อง ในปากไม่มีฟัน ( มีฟันแต่เฉพาะยามเป็นปลาวัยอ่อน ซึ่งฟันมีความกริบเหมือนมีดโกน และจะหลุดออกเมื่อโตขึ้น ) บริเวณด้านข้างคอด หางมีสันนูนเพียงข้างละสันเดียว  มีขนาดตัวยาวได้ถึง 4.5 เมตร พบกระจายพันธุ์ไปในมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก สามารถที่จะดำน้ำได้ถึง 550 เมตร กินปลาขนาดเล็กทั่วไป สามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 50 ไมล์/ชั่วโมง จัดเป็นปลาที่ดุร้ายก้าวร้าวชนิดหนึ่ง มีรายงานโจมตีปลาฉลามหรือเต่าทะเล โดยพบชิ้นส่วนของจะงอยปากติดกับสิ่งที่แทง รวมถึงแม้แต่เรือดำน้ำขนาดเล็กเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ด้วย ก็เคยถูกปลากระโทงดาบโจมตี จนตัวปลาติดกับเรือจนตาย และเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ ลูกเรือก็ได้กินปลาตัวนั้นเป็นอาหาร 

       นิยมตกเป็นเกมกีฬา และเป็นปลาเศรษฐกิจของประเทศในซีกโลกตะวันตก 

       โดยชื่อทางวิทยาศาสตร์นั้น ได้มาจากภาษากรีก ξίφος หมายถึง "ดาบ, และภาษาละติน gladius หมายถึง "ดาบ" เช่นกัน 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish 


       ปลากระโทงดาบ ( Swordfish ) ( ซอร์ดฟิช )  ปลาตัวใหญ่ตัวนี้ไม่มีเกล็ดหรือฟัน แต่มีจมูกเหมือนดาบยาว

       ในท้องตลาด จะขายปลานี้แบบเป็นสเต็ก , เนื้อปลานี้ สามารถแห้งได้ง่าย ดังนั้นจึงควรหมักไว้ก่อนปรุงอาหาร

       ปลาชนิดนี้ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยให้ซีลีเนียม ไนอาซิน และวิตามินบี 12  รวมทั้ง โพแทสเซียม อีกด้วย


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ปลาทิลาเพีย ( Tilapia ) ( ทิ - ลา - เพีย ) 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาทิลาเพีย    /


       ปลาทิลาเพีย ( Tilapia, /tɪˈlɑːpiə/ tih-LAH-pee-ə ) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดจำนวนมากนับร้อยชนิด จำพวกปลาหมอสี ในเผ่าปลาทิลาเพีย ( โดยสกุลที่สำคัญ ได้แก่ Oreochromis , Sarotherodon และ Tilapia ) พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปแอฟริกา โดยเป็นปลาที่พบได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ เช่น หนอง , บึง , ทะเลสาบ , แม่น้ำ , เขื่อนกักเก็บน้ำต่าง ๆ มีประโยชน์เป็นปลาเศรษฐกิจสำหรับการบริโภคกันมาอย่างยาวนาน 

       ปลาทิลาเพียปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณด้วยเป็นตัวอักษรไฮเออโรกลีฟ  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึงความอุดมสมบูรณ์

       คำว่า Tilapia เป็นรูปภาษาละตินของคำว่า thiape ในภาษาสวานา แปลว่า "ปลา" และกลายมาเป็นชื่อสกุลทางวิทยาศาสตร์ซึ่งตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1840 โดยแอนดรูว์ สมิท นักสัตววิทยาชาวสกอต และใช้เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดหลายชนิดมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งมีการจำแนกออกเป็นสกุลใหม่ ๆ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 แต่ปัจจุบัน ได้มีการจำแนกใหม่จนเหลือเพียงแค่ 4 ชนิด โดยการวิเคราะห์ทางดีเอ็นเอในปี ค.ศ. 2013 

       ปัจจุบัน ปลาทิลาเพียเป็นปลาเศรษฐกิจน้ำจืดที่มีความสำคัญมากระดับโลก มีการนำเข้าและเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย เช่น ปลานิล ( Oreochromis niloticus ) ในประเทศไทย ที่ถูกนำเข้ามาเมื่อปี ค.ศ. 1965 จนได้มีการพัฒนาเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ มากมายจากชนิดพันธุ์ดั้งเดิม เช่น ปลานิลจิตรลดา , ปลานิลแดง , ปลาทับทิม หรือปลานิลซูเปอร์เมล นับเป็นปลาน้ำจืดลำดับต้น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในประเทศ การเพาะพันธุ์ปลานิลในประเทศไทยเริ่มมีการบันทึกสถิติในปี ค.ศ. 1974

       นับจากนั้นมา ปลานิลหน้าฟาร์มได้สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไม่น้อยกว่า 107,000 ล้านบาท จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีการผลิตปลานิลไม่น้อยกว่า 220,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าหน้าฟาร์ม 12,000 ล้านบาท ปลานิลยังเป็นปลาน้ำจืดเพื่อการส่งออกที่มีศักยภาพสูงกว่าปลาชนิดอื่น ในปี ค.ศ. 2006 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( FAO ) รายงานว่า ประเทศไทยสามารถผลิตปลานิลได้เป็นอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชีย รองลงมาจากประเทศจีน , ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย 

       และบางชนิดได้ถูกนำเข้ามาในฐานะปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอบัตเตอร์ ( Heterotilapia buttikoferi ) และด้วยความที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ง่าย จึงกลายมาเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศต่าง ๆ ในฐานะชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เช่น สหรัฐอเมริกา , ออสเตรเลีย รวมถึงประเทศไทย 

       เนื้อปลาทิลาเพียมีประโยชน์ทางโภชนาการ มีสารอาหารประเภทโอเมกา3 ในสัดส่วนที่น้อยกว่าโอเมกา 6 และในทางการแพทย์

       ทั้งเกล็ดและหนังปลาทิลาเพียยังนำมาประยุกต์ใช้รักษาแผลผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกไฟไหม้หรือไฟลวกได้ดีอีกด้วย โดยมีการทดลองใช้ครั้งแรกในประเทศบราซิล โดยสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 2 ปี 

       ในเคนยา ได้มีการใช้ปลาทิลาเพียในการกินลูกน้ำเพื่อการควบคุมและกำจัดยุงซึ่งเป็นพาหนะของโรคมาเลเรีย 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สกุลทิลาเพีย  


       สกุล ทิลาเพีย เป็นสกุลของปลาน้ำจืด ในวงศ์ปลาหมอสี ( Cichildae ) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia ( /ทิลาเพีย/ ) 


ประวัติ

       ปลาสกุลนี้เป็นสกุลใหญ่ พบกระจายพันธุ์เฉพาะทวีปแอฟริกา เดิมถูกตั้งชื่อโดยแอนดรูว์ สมิท ในปี ค.ศ. 1840 ต่อมาในปี ค.ศ. 1915 จอร์จ อัลเบิร์ต บุลเลเยอร์ ได้ทำการปรับปรุงขึ้นมาใหม่ โดยรวมปลาชนิดอื่น ๆ เข้ามารวมกัน แต่ต่อมาได้มีการแยกเป็นสกุลต่าง ๆ ออกมาใหม่ โดย อีเทลเวนน์ เทรวาวาส ในปี ค.ศ. 1983 

       ปลาในสกุลนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาในสกุล Oreochromis หรือปลานิล และ Sarotherodon และมีลักษณะทางโครโมโซมและพันธุกรรมคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันตรงที่สกุล Tilapia เป็นปลาที่วางไข่ติดกับวัสดุในน้ำเป็นกลุ่มรวมกัน  มีการสร้างรัง แต่ไม่มีพฤติกรรมการอมไข่และดูแลลูกปลาเหมือนปลาในสองสกุลนั้น 


การจำแนก

       เดิมทีปลาในสกุลนี้ได้ถูกจำแนกไว้มากมาย โดยมีชื่อเรียกสามัญรวม ๆ กันว่า "ปลาทิลาเพีย" ( ซึ่งรวมถึงสกุล Oreochromis และSarotherodon ) แต่ปัจจุบันนี้ได้มีการแยกออกจากกันเมื่อปี ค.ศ. 2013 ทำให้ปลาในสกุลทิลาเพียเหลือเพียงแค่ 4 ชนิด ดังนี้ 

* * * Tilapia baloni Trewavas & Stewart , 1975 

* * * Tilapia guinasana Trewavas , 1936 

* * * Tilapia ruweti ( Poll & Thys van den Audenaerde, 1965 ) 

* * * Tilapia sparrmanii Smith , 1840 และที่ยังคงไว้ในสกุลนี้อยู่ แต่อาจเป็นไปได้ว่าอยู่ในสกุลอื่น  

* * * "Tilapia" brevimanus Boulenger, 1911 – ใกล้เคียงกับ "Steatocranus" irvinei ( โดยไม่เกี่ยวกับชนิดอื่นของ Steatocranus ) และ Gobiocichla 

* * * "Tilapia" busumana ( Günther, 1903 ) – ใกล้เคียงกับ "Steatocranus" irvinei ( โดยไม่เกี่ยวกับชนิดอื่นของ Steatocranus ) และ Gobiocichla

* * * "Tilapia" pra Dunz & Schliewen, 2010 – ใกล้เคียงกับ "Steatocranus" irvinei ( โดยไม่เกี่ยวกับชนิดอื่นของ Steatocranus ) และ Gobiocichla


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

* * * อาณาจักร : Animalia 

* * * ไฟลัม : Chordata 

* * * ชั้น : Actinopterygii 

* * * อันดับ : Perciformes 

* * * วงศ์ : Cichlidae 

* * * วงศ์ย่อย : Pseudocrenilabrinae 

* * * เผ่า : Tilapiini 

* * * สกุล : Tilapia 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก :
 https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish  


       ปลานิล ( ทิลาเพีย ) มีเนื้อไม่ติดมัน และมีความชุ่มฉ่ำ

       มีฟอสฟอรัสในปริมาณมาก นอกจากนี้ ก็ยังมีแคลเซียม และโพแทสเซียม ในปริมาณที่พอเหมาะ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ปลาลิ้นหมาตาข้างซ้าย ( Turbot ) ( เทอ - บอท ) 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างซ้าย  


       วงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างซ้าย ( Lefteye flounder , Turbot ) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาซีกเดียว ( Pleuronectiformes ) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Bothidae ( /โบ-ทิ-ดี/ ) 

       ปลาลิ้นหมาในวงศ์นี้ มีรูปร่างคล้ายปลาลิ้นหมาในวงศ์ปลาลิ้นหมา ( Soleidae ) และวงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างขวา ( Pleuronectidae ) แต่ว่าปลาในวงศ์นี้ เมื่อโตขึ้นมา ตาทั้งคู่จะอยู่ทางซีกซ้ายของหัว เหมือนปลาในวงศ์ปลาลิ้นเสือ ( Paralichthyidae ) และวงศ์ปลายอดม่วง ( Cynoglossidae ) มีแกนครีบ ครีบหลังเริ่มที่เหนือบริเวณตา ครีบหลังและครีบทวาร แยกจากครีบหาง ขณะที่พื้นลำตัวส่วนมากเป็นสีน้ำตาลและส่วนมากมีจุดประสีเข้ม เป็นวงกลมคล้ายวงแหวนดูเด่น 

       ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแบ่งไว้ทั้งหมด 20 สกุล ( ดูข้างล่างนี้ ) พบประมาณ 158 ชนิด  และพบได้เฉพาะในทะเลและมหาสมุทรเท่านั้น พบได้ทั้งในเขตร้อน , เขตอบอุ่น และเขตหนาว จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ


สกุลที่มีใน อนุกรมวิธาน 

* * * Arnoglossus 

* * * Asterorhombus 

* * * Bothus 

* * * Chascanopsetta 

* * * Crossorhombus 

* * * Engyophrys 

* * * Engyprosopon 

* * * Grammatobothus 

* * * Japonolaeops 

* * * Kamoharaia 

* * * Laeops 

* * * Lophonectes 

* * * Monolene 

* * * Neolaeops 

* * * Parabothus 

* * * Perissias 

* * * Psettina 

* * * Taeniopsetta 

* * * Tosarhombus 

* * * Trichopsetta 


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

* * * อาณาจักร : Animalia 

* * * ไฟลัม : Chordata 

* * * ชั้น : Actinopterygii 

* * * อันดับ : Pleuronectiformes 

* * * อันดับย่อย : Pleuronectoidei 

* * * วงศ์ : Bothidae


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้างล่างนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.readersdigest.co.uk/food-drink/recipes/a-z-of-white-fish  


       ปลาแบนขนาดใหญ่นี้ มีเนื้อแน่น และมีรสชาติที่ดีเยี่ยม

       ในท้องตลาดจะมีขายแบบเป็นชิ้นๆ  แต่ก็มีปลา เทอบอท ขนาดเล็ก ที่เรียกว่า "chicken turbot" วางขายอยู่ด้วย 

       เมื่อปรุงปรุงทั้งตัว จะสามารถเสิร์ฟได้ 4 ชาม 

       เทอบอท เป็นแหล่งไน อาซิน ที่ดีเยี่ยม และยังมี ฟอสฟอรัส ในปริมาณที่ดี และมี โพแทสเซียม ที่มีประโยชน์อีกด้วย 



- END -