Saturday, April 18, 2020
96% Lean Ground Beef
96% Lean Ground Beef
ในเนื้อวัวบด ที่เขียนไว้ว่า 96% Lean Ground Beef นั้น ในขนาด 4 ออนซ์ จะมีไขมันอยู่ 4 กรัม ,คาร์โบไฮเดรต 0 กรัม ,ไฟเบอร์ 0 กรัม ,โปรตีน 24 กรัม ให้แคลอรี่ 130 แคลอรี่
เนื้อวัวบด ( Ground Beef ) อย่างไหนเป็น "Lean" Ground Beef และอย่างไหน ไม่ใช่?
เวลาคุณมองแพ็กเกจของเนื้อวัวบด ( Ground Beef ) คุณจะเห็นเลขสัดส่วนที่เขียนไว้ว่า 73/27 หรือ 96/4 ฯลฯ ,ตัวเลขเหล่านี้ เรียกว่า Lean Point ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงการมีไขมันของเนื้อบดนั้น
ยกตัวอย่างเช่นตัวเลข 73/27 นั้นหมายถึง ในเนื้อวัวบดที่อยู่ในแพ็กเกจนั้น เป็นเนื้อวัวล้วนๆ ( ไม่ติดมัน ) 73 % และเป็นไขมันที่แทรกตัวอยู่ อีก 27% นั่นก็หมายความว่า เนื้อวัวบดที่อยู่ในแพ็กเกจนั้น มีไขมันสูงกว่าแพ็กเกจที่เขียนไว้ว่า 96/4 เพราะแพ็กเกจที่เขียนว่า 96/4 หมายถึง จะมีไขมันแทรกอยู่แค่ 4% เท่านั้น
ในทุกวันนี้ ส่วนมากเนื้อวัวบดที่วางขาย จะมีป้ายบอก % แบบที่พูดมานี้ ( คือมีทั้ง % ของเนื้อวัวล้วนไม่ติดมัน และ % ของไขมัน - บอกไว้ ) Lean points คำนวณจากการแยกไขมัน ( ในหน่วยกรัม ) ออกจากเนื้อวัวทั้งหมด ( ในหน่วยกรัม ) แล้ว "คูณ" ด้วย 100 เพื่อให้ได้ตัวเลขออกมาเป็นเลข %
ยกตัวอย่างเช่น เนื้อวัวบด ที่หนัก 112 กรัม และมีไขมันแทรกอยู่ 22 กรัม / ก็จะคำนวณอย่างนี้คือ เอา 22 เป็นตัวตั้ง แล้วหารด้วย 112 ผลที่ได้คือ 0.20
เอาเลข 0.20 ไปคูณด้วย 100 ผลที่ได้คือ 20
ตัวเลข 20 นี้ คือตัวที่บ่งบอกว่า เนื้อบดนี้ มีไขมันร้อยละ 20 และมีเนื้อล้วนๆ ( ไม่ติดมัน ) 80%
ในการที่เราจะบอกได้ว่า เนื้อวัวบดนั้น "Lean" หรือไม่ ก็คือการดูไปที่ Lean Point อันนี้ว่าเป็นตัวเลขอะไร? ถ้าเป็นเนื้อวัวบดที่เป็นแบบ "Lean" จะต้องมี Lean Point เป็นตัวเลข 92% / 8% หรือสูงกว่า
( 92% / 8% แปลว่า มีเนื้อล้วนๆ ( ไม่ติดมัน ) 92 หน่วย ( จากน้ำหนักเนื้อ 100 หน่วย ) และมีไขมัน 8 หน่วย ( จากน้ำหนักเนื้อ 100 หน่วย ) )
ทำไมไม่ให้มีไขมันเป็น 0% ไปเลยล่ะ?
ไขมันช่วยทำให้เนื้อวัวมีรสชาติที่ดี จริงๆแล้ว ยิ่งมีไขมันมาก ยิ่งทำให้เนื้อวัวนั้นชุ่มฉ่ำและมีรสชาติดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นเนื้อวัวบดแบบไขมันน้อย ( คือ Lean ) เราก็ยังปรุงรสให้เข้มข้นขึ้นได้ ก็ไม่ได้จืดชืดไปเสียหมด ( เพราะยังมีไขมันเจือปนอยู่บ้าง - ก็ยังพอมีรสชาติ แล้วเราก็ปรุงรสเพิ่มขึ้น ให้อร่อย ไม่จืดชืดได้ - ซึ่งเป็นผลดีกับการไอเอทของคุณ ( เพราะไขมัน มันน้อย ) )
มาดู Lean Point แต่ละอันกัน
* * * Lean Point: 73/27 – 81/19
คุณสมบัติ : รสชาติยอดเยี่ยม มีความฉ่ำมาก
เหมาะสำหรับ : การทำเบอร์เกอร์ ,ทำ Meatloaf ,ทำลูกชิ้น ( Meatball ) ,ทำเสต๊กที่ชื่อว่า Salisbury
* * * Lean Point: 83/17 – 89/11 A
คุณสมบัติ : รสชาติอร่อย พื้นผิวของอาหารดูน่ากิน เหมาะกับการทำอาหารที่มีเนื้อเป็นหลัก
เหมาะสำหรับ : การทำลูกชิ้น ( Meatball ) , เบอร์เกอร์แบบไขมันน้อย ,เป็นหน้าของพิซซ่า ( Pizza topping ) ,ทำ Meatloaf
* * * Lean Point: 90/10 – 92/8
คุณสมบัติ : เหมาะสำหรับการทำเป็นส่วนผสมในการประกอบอาหาร
เหมาะสำหรับ : การทำลาซานญ่า ,เอนชิลาดา ,เบอร์ริโต ,สปาเก็ตตี้ ,แคสเซอรอล ,ทาโก้ ,sloppy joes
* * * Lean Point: 93/7 – 96/4
คุณสมบัติ : เป็นรูปแบบที่มีไขมันน้อยที่สุดแล้วในท้องตลาด ,การทำแบบลีน 96% จะมีสติ๊กเกอร์ หรือเครื่องหมายการ "ตรวจหัวใจ" ไว้ที่ตัวอาหาร เพื่อบอกว่า เป็นอาหารเพื่อสุขภาพหัวใจ / ส่วนใหญ่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อสุขภาพ
เหมาะสำหรับ : เอาผักกาดหอม ห่อ ( Asian lettuce wraps ) ,Cabbage Rolls ,ทาโก้ ,พริกหยวกยัดไส้ ,tostadas
แหล่งที่มาของเนื้อที่นำมาบด
ที่เรียกว่าเนื้อบด ( Ground beef ) นั้น จะกำหนดไว้เป็นส่วนๆ คือ
* * * ถ้าบอกว่า เป็น Ground sirlon ก็คือการเอา "เนื้อสันนอก" ของวัวมาใช้เครื่องจักร และกรรมวิธีต่างๆ สับให้เนื้อนั้นละเอียด โดยจะมีเนื้อวัวล้วนอยู่ 90% และมีไขมันอยู่ 10%
* * * ถ้าบอกว่าเป็น Ground round ก็คือการนำเอา "เนื้อสะโพก" มาทำให้ละเอียด ก็จะได้เนื้อล้วนๆ 85% และไขมัน 15%
* * * ถ้าบอกว่าเป็น Ground chuck ก็คือการนำเอา "เนื้อสันคอ" มาทำให้ละเอียด ก็จะได้เนื้อล้วนๆ 80% และไขมัน 20%
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เนื้อวัวบด - Ground beef คือเนื้อวัว ที่ถูกทำให้ละเอียดด้วยการสับด้วยมีด หรือทำให้ละเอียดด้วยอุปกรณ์เครื่องบดเนื้อ ( แบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) ผลผลิตที่ได้ ถูกนำไปใช้ในการปรุงอาหาร เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ฯลฯ
ในหลายประเทศ กฏหมายเกี่ยวกับอาหารกำหนดเรื่องของเนื้อวัวบดเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่นประเทศอเมริกา จะกำหนดกฏหมายไว้ว่า ในแฮมเบอร์เกอร์อาจจะมีไขมันได้ แต่ว่าในเนื้อวัวบด จะมีไขมันได้ไม่เกิน 30% ของน้ำหนักเนื้อวัวบดทั้งหมด ( เนื้อวัวบดในที่นี้ หมายถึงเนื้อวัวบดที่ถูกผลิตในโรงงานที่ถูกตรวจสอบโดย USDA )
ในประเทศฝรั่งเศส อนุญาตให้มีไขมันอยู่ในเนื้อวัวบด ในระหว่าง 5 - 20% ของน้ำหนักรวมทั้งหมด ( โดยส่วนมาก คนจะนิยมอยู่ที่ประมาณ 15% )
ในประเทศเยอรมัน เนื้อวัวบดส่วนใหญ่ จะมีไขมันอยู่ที่ 15%
ทั้งเนื้อแบบแฮมเบอร์เกอร์ และเนื้อวัวบด ที่ถูกผลิตนั้น สามารถปรุงรสได้ด้วยผงปรุงรส ,ฟอตเฟส ได้ แต่ "ไม่อนุญาต" ให้ใส่น้ำลงไป
เนื้อวัวบดที่วางขายอยู่ในท้องตลาด จะมีปริมาณไขมันไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าให้เลือกซื้อ
โดยทั่วไป เนื้อวัวบด จะทำจากเนื้อวัวที่เหนียว และได้รับความนิยมน้อย แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีเนื้อวัวบดที่ผลิตจากเนื้อบริเวณที่มีความนุ่มมาก ออกจำหน่ายเหมือนกัน
ในปี พ.ศ.2551 ( ค.ศ.2008 ) มีการตรวจสอบเนื้อวัวบดที่ทำเป็นแฮมเบอร์เกอร์แบบฟาสต์ฟู้ด อยู่ "8 ยี่ห้อ" เอาไปศึกษาในห้องปฏิบัติการ "8 แห่ง" ได้ผลการศึกษาออกมาดังนี้ว่า
- มีน้ำอยู่ 37.7% ถึง 62.4%
- มีกล้ามเนื้ออยู่ 2.1% ถึง 14.8%
- เกี่ยวกับเนื้อเยื่อโครงกระดูกนั้น "ตรวจไม่พบ" / อาจเป็นเพราะว่าในกระบวนการแปรรูปนั้น ทางบริษัทใช้เครื่องจักรในการแยกกระดูก และกระดูกอ่อน ออกไปแล้ว
- พบเนื้อเยื่อ Connective tissue
- พบเส้นหลอดเลือด
- พบเนื้อเยื่อเส้นประสาทส่วนปลาย แต่ไม่พบเนื้อเยื่อสมองในตัวอย่างใดๆ
- เกี่ยวกับเนื้อเยื่อไขมัน : พบเป็นเนื้อเยื่อไขมัน และหยดไขมัน / มี 6 ยี่ห้อที่ได้คะแนน 1+ ( หมายถึงเป็นคะแนนปานกลาง ) / มี 2 ยี่ห้อ ที่ได้คะแนน 2 +
- วัสดุจากพืช : ตรวจพบได้ ซึ่งคาดว่าจะถูกเพิ่มเข้าไปในเนือวัวบด เพื่อปรุงรส
ส่วนของวัว ที่ใช้ทำเนื้อวัวบด
ถึงแม้ว่าเนื้อวัวทุกส่วนสามารถนำมาผลิดเป็นเนื้อวัวบดได้ก็ตาม แต่เนื้อที่สันคอ ( Chuck ) คือส่วนที่ได้รับความนิยมที่สุด เนื่องจากเนื้อบริเวณดังกล่าว ( สันคอ ) มีรสชาติที่เข้มข้น และมีสัดส่วนของเนื้อกับไขมันที่เหมาะเจาะ
เนื้อวัวบด มีหมวดหมู่ของเนื้อและไขมันดังนี้
* * * เนื้อสันคอ มีตัวเลข 78 - 84% Lean
* * * เนื้อสะโพก มีตัวเลข 85 - 89% Lean
* * * เนื้อสันนอก มีตัวเลข 90 - 95% Lean
- END -
Labels:
หมวด-9-โภชนาการ