Tuesday, April 14, 2020

Green Beans


Green Beans

เมล็ดถั่วแขก

      รู้หรือไม่ ! Green beans ไม่ได้แปลว่า ถั่วเขียว แต่แปลว่า "เมล็ดถั่วแขก" ซึ่งฝรั่งเรียกตามสีของถั่วแขก ( String Bean )

       ส่วน ถั่วเขียว ที่บ้านเราเรียกนั้นคือ "Mung beans" ซึ่ง Mung ก็แปลว่าเขียวเช่นกันนนนะจ๊าาา ( #ถั่วเขียวโตขึ้นมาเป็นถั่วงอก )


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

      ถั่วแขก ( String bean ) เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสูง นิยมรับประทานทั้งถั่วสด และถั่วแห้ง รวมถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ถั่วต่างๆ อาทิ ถั่วกระป่อง และถั่วอบแห้ง รวมถึงอาหารเสริมในรูปแบบผงชงดื่มหรือเม็ดรับประทาน

* * * ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phaseolus vulgaris L.

* * * ชื่อสามัญ

       – Snap bean
       – Fresh bean
       – French bean
       – String bean
       – Graden bean

* * * ชื่อท้องถิ่นไทย 

       – ถั่วแขก
       – ถั่วแขกพุ่ม
       – ถั่วฝรั่งเศส
       – ถั่วบุ้ง
       – ถั่วฝรั่ง


ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย

       ถั่วแขก มีถิ่นกำเนิดบริเวณหุบเขา Tehuacan ประเทศแม็กซิโก แล้วแพร่เข้ามาในอเมริกากลาง และประมาณปี ค.ศ. 1594 ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศอังกฤษ ต่อมาประมาณศตวรรษที่ 16 ถูกนำเข้ามาปลูกในแถบประเทศในยุโรป โดยชาวสเปน และโปตุเกส แล้วแพร่กระจายในประเทศต่างๆของเขตร้อนชื้น และเขตอบอุ่น (1), ((6) อ้างถึงใน Purseglove, 1977)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น

       ถั่วแขก เป็นพืชล้มลุกอายุ 2-3 ปี มีทั้งพันธุ์ที่เป็นไม้ยืนต้นเป็นทรงพุ่ม กึ่งเลื้อย และไม้เลื้อย ลำต้นแข็ง แตกกิ่งก้านน้อย โดยพันธุ์ยืนเป็นทรงพุ่มมีลักษณะลำต้นเป็นข้อสั้นๆ 4-8 ข้อ ลำต้นสูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร พันธุ์กึ่งเลื้อย มีลำต้นสูงประมาณ 60-120 เซนติเมตร ส่วนพันธุ์เลื้อยมีลำต้นสูงประมาณ 1.8-3 เมตร ส่วนระบบรากประกอบด้วยรากแก้ว และรากแขนงที่หยั่งลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร (3)

ใบ

       ใบถั่วแขกออกเป็นประกอบ แทงออกบริเวณข้อของลำต้น แต่ละใบมีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะใบย่อยแตกต่างกันตามสายพันธุ์ โดยทั่วไปมักมีฐานใบกว้าง ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ และมีขนปกคลุม แผ่นใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม แผ่นใบด้านล่างมีสีเขียวจางๆ

ดอก

       ถั่วแขก ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบที่ปลายยอด ประกอบด้วยดอกย่อยที่มีสีหลากหลายตามสายพันธุ์ อาทิ สีเหลือง สีขาว และสีชมพู ดอกย่อยแต่ละดอกมีก้านดอกสั้น ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวที่ฐานกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวยล้อมรอบกลีบดอก ถัดมาเป็นกลีบดอก จำนวน 5 กลีบ ดอกจะบานจากดอกโคนสู่ไปสู่ปลายช่อ ทั้งนี้ ดอกถั่วแขกจัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมเกสรได้ในดอกตัวเอง ทำให้ติดฝักได้ครบตามจำนวนดอกที่ออก ดอกจะร่วงภายใน 2-3 หลังบาน 


ฝัก และเมล็ด

       ฝักถั่วแขก มีลักษณะคล้ายกับฝักถั่วเขียว แต่มีขนาดสั้นกล่าว ฝักมีลักษณะทรงกระบอกกลม และเรียวยาว ผิวฝักเรียบ และอาจโค้งเล็กน้อย ขนาดฝักประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก เรียงเป็นแถวตามแนวยาวของฝัก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไต มีหลายสีตามสายพันธุ์ อาทิ สีดำ สีขาว สีเหลืองครีม สีชมพู สีเขียว สีแดงม่วง หรือสีน้ำตาล ใน 1 ฝัก จะมีเมล็ดประมาณ 5-8 เมล็ด ใน 100 เมล็ด จะหนักประมาณ 20-60 กรัม


ประโยชน์ถั่วแขก

       1. เมล็ดถั่วแขกนำมาต้มรับประทาน ทำซุปถั่วแขก หรือใช้ผสมในขนมหวานต่างๆ

       2. เมล็ดถั่วแขกนำมาบดสำหรับทำแป้งเพื่อใช้ทำวุ้นเส้นหรือขนมหวาน

       3. เมล็ดถั่วแขกแปรรูปเป็นอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารเสริมในรูปแบบเม็ดหรือผง อาทิ ซุปถั่วแขกในกระป๋อง ถั่วแขกผสมคอลลา และผงถั่วแขกพร้อมชงดื่ม เป็นต้น

       4. ถั่วแขกใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์หรือใช้เลี้ยงสัตว์


สรรพคุณถั่วแขก

       – ถั่วแขกพุ่มมีธาตุเหล็กสูง ช่วยในการสร้างเม็ดเลือก

       – ช่วยบำรุงร่างกาย

       – ช่วยแก้ดับร้อน

       – ช่วยขับปัสสาวะ

       – ช่วยรักษาอาการบวมน้ำ

       นอกจากนี้ เมล็ดของพืชสกุลถั่วยังมีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด กระตุ้นการนำไขมันที่สะสมมาใช้ ทำให้ร่างกายผอมลง ช่วยลดความอ้วนได้


- END -