Thursday, April 2, 2020

Don't Lock Elbow in Tricep Press down


Don't Lock Elbow in Tricep Press down

      เวลาที่เพื่อนสมาชิกอ่านในตำราแล้วเจอคำว่า Don't Lock Elbow in Tricep Press down  นั่นก็หมายความว่า ในตำราเขาบอกว่าเวลาที่คุณบริหารท่า Press Down นั้น เวลาที่เหยียดแขนลงจนมือถึงระดับต่ำสุด  จงอย่าให้ กระดูกของต้นแขน กับกระดูกของแขนท่อนปลาย มัน "ล็อคกัน" ที่บริเวณข้อศอก ( ตอนนี้อาจจะยังงงอยู่นะครับ ค่อยๆอ่านไปก็จะเข้าใจไปเอง )

       ในเวบหน้านี้ จะแบ่งคำอธิบายเป็น 3 ส่วนคือ มันล็อคกันได้อย่างไร? ถ้าล็อคกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้น? และที่ถูกแล้วควรจะทำอย่างไร?


ส่วนที่ 1 : มันล็อคกันได้อย่างไร?

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ ) 

     ภาพบน ) จริงๆแล้ว ท่าข้างบนนี้ ไม่ใช่ท่า Press Down ที่ผมต้องการจะสื่อสารกับเพื่อนสมาขิกหรอกนะครับ ภาพข้างบนนี้ มันคือท่า Cable One Arm Extension

       เหตุผลที่ผมใช้ท่า Cable One Arm Extension ( ที่คุณเห็นในภาพข้างบนนี้ ) มาอธิบาย ก็เพราะว่ามันจะทำให้เพื่อนสมาชิกมองเห็นภาพได้ชัดเจนว่า อาการ "ล็อค" ตรงที่ข้อศอก ที่ผมกำลังพูดถึงนั้น มันเป็นอย่างไร?   เรามาดูกันเลยครับ

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ ) 

      ภาพบน ) โดยส่วนที่เราจะมาศึกษากันก็คือในส่วนของจังหวะที่ดึงเคเบิลลง จนเหยียดแขนตึง เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ 

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

      ภาพบน ) เมื่อคุณเหยียดแขนตึง  ก็จะส่งผลให้ "กระดูก" ของต้นแขนส่วนบน กับ "กระดูก" ของแขนท่อนปลาย ทำมุมกัน 180 องศา หรือมากกว่า 180 องศา ( ขึ้นอยู่กับการเหยียดแขนของคุณ ว่าแอ่นมากกว่า 180 องศาหรือเปล่า )  เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

      ภาพบน )  สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ กระดูกของต้นแขน ( ซึ่งผมแทนที่ด้วยสีเขียว ) มันจะเกิดการต่อกันกับกระดูกของแขนท่อนปลาย ( ซึ่งผมแทนด้วยสีน้ำเงิน ) เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

     ภาพบน ) กระดูกต้นแขน กับกระดูกแขนท่อนปลาย จะต่อกันตรงบริเวณข้อศอก ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้

       ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ก็คือคำอธิบายของปรากฏการณ์ที่ว่า การล็อคที่ข้อศอกมันเกิดขึ้นได้อย่างไร? ซึ่งคำตอบก็คือว่า การล็อคข้อศอกที่ว่านี้ ก็หมายถึงการที่ กระดูกต้นแขน กับกระดูกแขนท่อนปลาย จะต่อกันตรงบริเวณข้อศอก ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ โดยมีสาเหตุมาจากการเหยียดแขนตึงนั่นเอง


ส่วนที่ 2 : ถ้าล็อคกันแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น?

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ ) 

     เมื่อกระดูกต้นแขน กับกระดูกแขนท่อนปลาย ต่อกัน มันก็จะ "ยัน" กับแรงดึงกลับของสายเคเบิล ส่งผลให้กล้ามไทรเซบหยุดออกแรง

       การที่กล้ามไทรเซบหยุดออกแรง ก็เหมือน "การพัก" เพียงชั่วครู่ของกล้ามไทรเซบ

       ซึ่ง "การพัก" เพียงชั่วครู่ของกล้ามไทรเซบนั้น "ไม่ควรให้เกิดขึ้น" ในขณะที่กำลังบริหารกล้ามไทรเซบอยู่

       เพื่อนสมาชิกอ่านแล้วตามทันไหมครับ? เดี๋ยวผมจะทวนให้อีกครั้ง


( ไม่สามารถแสดงภาพได้ ) 

     ภาพบน ) เวลาที่เราจะดึงสายเคเบิลลงมา ( คือการเคลื่อนที่จาก จังหวะที่ 1 ไปจังหวะที่ 2 ) เราจะต้องออกแรงเกร็งไปที่กล้ามเนื้อไทรเซบเสียก่อน ( ตรงที่มี ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ )  แขนท่อนปลายจึงจะเหยียดตรงลงมาได้ อันเป็นไปตามหลักกายวิภาค

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ ) 

     ภาพบน ) และแม้ว่าจะมีการเคลื่อนที่จาก จังหวะที่ 2 กลับไป จังหวะที่ 1 อีกที ก็ยังต้องมีการออกแรงไปที่กล้ามไทรเซบ ( ตรงที่มี ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) อยู่ดี

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

     ภาพบน ) พูดง่ายๆว่า หลักการบริหารกล้ามไทรเซบที่ถูกต้องก็คือว่า กล้ามไทรเซบ จะต้องออกแรงตลอดเวลา นับตั้งแต่การดึงสายเคเบิลลงมา ( คือจาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 ) และการผ่อนสายเคเบิลกลับขึ้นไป ( คือจาก จังหวะที่ 2 กลับไป จังหวะที่ 1 ) 

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

      ภาพบน ) แต่ปรากฏว่า พอมีการ "ล็อคข้อศอก" เกิดขึ้น  ซึ่งก็คือปรากฏการณ์ที่กระดูกต้นแขน กับกระดูกแขนท่อนปลาย มัน "ยันกัน" หรือ "ต่อกัน" เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       ผลก็คือ กล้ามไทรเซบหยุดออกแรงทันที ( คือกล้ามไทรเซบหยุดออกแรงในช่วงที่กระดูก 2 ชิ้นนี้ มันต่อกัน )

       การพัก หรือการหยุดออกแรงของกล้ามไทรเซบเพียงชั่วครู่นี้แหละ คือสิ่งที่ "ไม่พึงประสงค์" สำหรับการฝึกกล้ามไทรเซบ

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

     กรณีที่มีคำถามว่า การหลีกเลี่ยงภาวะที่ ไม่พึงประสงค์ นั้น ต้องทำอย่างไร? ก็คือการเข้าสู่ส่วนที่ 3 ดังข้างล่างนี้

ส่วนที่ 3 : ที่ถูกแล้วควรจะทำอย่างไร?

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

     ภาพบน ) ที่ถูกแล้วก็คือว่า ใน "จังหวะที่ 2" นั้น คุณจะต้อง งอข้อศอกเอาไว้เล็กน้อย เสมอ เหมือนที่เห็นภาพ "จังหวะที่ 2" ในภาพข้างบนนี้

       เพราะการ งอข้อศอกเอาไว้เล็กน้อย ในเวลาที่เหยียดแขนลงมานั้น จะไม่ทำให้กระดูกต้นแขน กับกระดูกแขนท่อนปลายเกิดปรากฏการณ์ "ต่อกัน" หรือ "ยันกัน" ที่บริเวณข้อศอก

       เมื่อกระดูกต้นแขน กับกระดูกแขนท่อนปลาย ไม่เกิดปรากฏการณ์ "ต่อกัน" หรือ "ยันกัน" ก็จะไม่เกิดปรากฏการณ์ "ล็อคข้อศอก"

       เมื่อไม่เกิดปรากฏการณ์ "ล็อคข้อศอก"  กล้ามไทรเซบก็จะไม่ได้หยุดพัก

       เมื่อกล้ามไทรเซบไม่ได้หยุดพัก นั่นก็หมายความว่ากล้ามไทรเซบต้องออกแรงตลอดเวลา นับแต่ตั้งเราบริหาร Rep ที่ 1 ไปจนถึง Rep สุดท้ายของเซทนั้น

       ซึ่งภาวะที่กล้ามไทรเซบไม่ได้หยุดพักเลย ตั้งแต่ Rep ที่ 1 ไปจนถึง Rep สุดท้ายของเซท นั่นแหละ คือภาวะที่ พึงประสงค์  คือเป็นภาวะที่เราต้องการครับ


สรุป ถ้าเราต้องการภาวะที่ พึงประสงค์ ซึ่งก็คือภาวะที่กล้ามไทรเซบต้องออกแรงตลอดเวลานับตั้งแต่ Rep ที่ 1 ไปจนถึง Rep สุดท้ายของเซท เราก็จะต้องบริหารท่า Press Down โดย ไม่ให้มีการ "ล็อคข้อศอก"

- END -