Thursday, April 2, 2020

Lock Elbow


การล็อคข้อศอก

         การล็อคข้อศอกนั้น เกิดขึ้นทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ  ผลจากการล็อคข้อศอก จะทำให้เราออกแรงไปที่กล้ามเนื้อบางจุดที่เราใช้บริหาร ได้น้อยลง (ซึ่งก็คือการโกงนั่นเอง) อธิบายได้ดังนี้คือ

          เมื่อเราบริหารท่าต่างๆด้วยการยกลูกน้ำหนักขึ้นไปข้างบน (ยกตัวอย่างเช่นการนอนดันบาร์เบลล์) ซึ่งเราต้องใช้แรงจากกล้ามเนื้อหน้าอก แต่ปัญหาก็คือกล้ามหน้าอกเรายังมีแรงยกอยู่  แต่กล้ามแขนที่ดันบาร์เบลล์ขึ้นไปนั้นเริ่มหมดแรง (เพราะเป็นกล้ามชิ้นเล็กกว่าหน้าอก) แต่เราก็ยังไม่อยากหยุดเล่น ดังนั้นจึงคิดวิธีการ "พัก" กล้ามแขนขึ้นมา

          วิธี "พัก" กล้ามแขนนั้นก็คือ ขณะยกน้ำหนักขึ้นไปที่จุดสูงสุดแล้ว แทนที่จะผ่อนน้ำหนักลงเลย  ผู้เล่นก็จะเริ่มแอ่นแขนออก ให้กระดูกของต้นแขน (สีแดง) ทำมุมเกิน 180 องศากับกระดูกแขนท่อนปลาย (สีน้ำเงิน) จะกระทั่งจะมีกระดูกและเส้นเอ็นส่วนหนึ่งที่ขัดกระดูกทั้งสองชิ้นนี้ไว้ ตามภาพ ก. ที่เขียนไว้ว่า "จุดที่เกิดการล็อค" (ถ้าไม่มีกระดูกและเส้นเอ็นที่ว่านี้ เราก็จะพับแขนท่อนปลายออกไปข้างหลังได้)

          ถึงตอนนี้ บาร์เบลล์ที่มันตั้งอยู่เหนือตัวเรา แทนที่มันจะอยู่ได้ด้วยพลังจากกล้ามเนื้อแขนและหน้าอกของเรา ก็จะกลายเป็นว่ามันอยู่ได้ด้วยการถ่ายน้ำหนักผ่านกระดูก จากจุด ผ่านจุด แล้วลงไปข้างล่างที่จุด ตามภาพ ข. (เส้นประสีขาวในภาพ ข. คือทิศทางการไหลของแรงกดจากน้ำหนักบาร์เบลล์) ทำให้เราไม่ต้องออกแรงไปที่แขนเลย

          หลังจากพักได้อึดใจ เช่น 2 วินาทีแล้ว เราก็ผ่อนบาร์เบลล์ลงมา แล้วเริ่มบริหารต่อไป

หมายเหตุ - นักเพาะกายผู้เคร่งครัด จะไม่ชอบล็อคข้อศอกตามที่ว่านี้ เพราะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บกรณีที่ใช้น้ำหนักมากๆ อีกทั้งต้องการฝึกให้กล้ามแขนแข็งแกร่งไปพร้อมๆกันเลย

                - กรณีตรงข้าม คือการ "ไม่ล็อคข้อศอก" ขออธิบายตามภาพข้างล่างนี้

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ ) 

        การไม่ล็อคข้อศอก หมายถึงว่า เมื่อยกน้ำหนักขึ้นข้างบนแล้ว เราจะงอแขนไว้เล็กน้อยตลอดเวลา ซึ่งมีผลดังนี้คือ

          น้ำหนักของบาร์เบลล์ที่เกิดจากแรงดึงดูดของโลก จะวิ่งเป็นแนวดิ่งสู่พื้น ส่วนที่ว่าจะเป็นทางข้างหน้าหรือข้างหลังเรา ก็ขึ้นอยู่กับว่าบริหารท่าอะไร ยกตัวอย่างเช่นตามภาพนี้ เขากำลังบริหารหลังแขน และยกคานบาร์เบลล์อ้อมไปทางด้านหลังเล็กน้อย เช่นนี้ น้ำหนักก็จะยิงตรงลงไปทางด้านหลังศีรษะเรา ตามภาพ ก.

          บาร์เบลล์นี้ลอยอยู่เหนือหัวเราได้ ก็เพราะเราออกแรงไปที่กล้ามเนื้อที่จุด เพื่อให้ต้าน "แรงเค้น" ที่เกิดจากน้ำหนักที่กดลงไปทางด้านหลัง ตามภาพ ข.

          ดังนั้น ไม่ว่าเราจะยกน้ำหนักขึ้นหรือลงในการบริหารท่านี้ กล้ามเนื้อที่บริเวณจุด ก็จะต้องถูกออกแรงอยู่ตลอดเวลา กล้ามเนื้อดังกล่าวจึงไม่ถูกพัก เหมือนการทำการ "ล็อคข้อศอก" ตามวิธีการข้างต้นแต่อย่างใด

END -