Thursday, April 2, 2020

Mitochondria


Mitochondria

ไมโทคอนเดรีย ( Mitochondrion )

       คือ แหล่งสร้างพลังงานของเซลล์ พบโดย คอลลิคเกอร์ ( Kollicker )

       รูปร่างลักษณะ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลม ท่อนสั้น ท่อนยาว หรือกลมรีคล้ายรูปไข่

       มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.2 – 1 ไมครอน ยาว 5 – 7 ไมครอน ประกอบด้วยสารพวกโปรตีนและไขมัน

      ไมโตคอนเดรียคือออร์แกเนลล์ที่อยู่ในไซโตพลาสซึมที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ชั้นนอกผิวเรียบ ส่วนชั้นในพับเข้าไปด้านใน เรียกว่า คริสตี ( cristae )

       ภายในไมโตคอนเดรียมีของเหลวซึ่งประกอบด้วยสารหลายชนิด เรียกว่า เมทริกซ์ ( matrix )ในมนุษย์มีไมโทคอนเดรียมากที่สุดที่กล้ามเนื้อหัวใจ

       จำนวนของไมโตคอนเดรียในเซลล์แต่ละชนิดจะมีจำนวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับชนิดและกิจกรรมของเซลล์ เซลล์ที่มีเมแทบอลิซึมสูงจะมีไมโตคอนเดรียมาก เช่น เซลล์ตับ ไต กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์ต่อมต่าง ๆ

หน้าที่ของ Mitochondria

       1. ทำหน้าที่เสมือนโรงงานแปรรูปอาหารหรือเรียกว่ากระบวนการเผาผลาญอาหารเพื่อให้ได้รหัสพันธุกรรม ( DNA ) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอและสร้างเซลล์ใหม่แทนเซลล์ที่ตายไป


       2. เป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน ATP ทำให้คนเราสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้

       สารให้พลังงานสูง หรือ ATP ( Adenosine triphosphate ) คือ โมเลกุลสารพลังงานสูงที่ให้พลังงานแก่ร่างกายเรา โดยแยกเป็น 2 ส่วน คือ

       - เยื่อหุ้มด้านนอก ทำหน้าที่เกี่ยวข้อง กับการสร้างสารประกอบ ฟอสโฟลิปิด

       - เยื่อหุ้มด้านใน มีเอนไซม์เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ ATP


       3. เป็นแหล่งผลิตเอนไซม์นับพันๆ ชนิด เพื่อใช้ในกระบวนการเผาผลาญอาหารของเซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย

       ภายในเมทริกซ์มีของเหลว ที่ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ ซึ่งเกี่ยวข้อง กับปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ในวัฏจักรเครปส์ (Krebs cycle)

       มี DNA ( Deoxyribonucleic acid ) RNA ( Ribonucleic acid ) เอนไซม์ และไรโบโซม อยู่ภายในออร์แกเนลล์ ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนขึ้นภายในออร์แกเนลล์


ความรู้ทั่วไป

       เชลล์หัวใจเป็นอวัยวะที่มีไมโตคอนเดรียมากที่สุด ดังนั้นในร่างกายของคนเราจึงมีไมโตคอนเดรียนับ ล้าน ล้าน ล้าน ล้าน ไมโตคอนเดรีย

       ไมโตคอนเดรียมีขนาดเล็กมาก คือประมาณ 1 ไมคอน ดังนั้นอาหารที่สามารถเข้าสู่ไมโตคอนเดรียได้ต้องเล็กกว่า 1 ไมคอน เพราะต้องผ่านเยื่อบุผนังชั้นต่าง ๆ ซึ่งไมโตคอนเดรียเปรียบเสมือนโรงงานแปรรูปอาหารที่อยู่ในเซลล์ในร่างกายของคนเรา มีหน้าที่ผลิตเอนไซม์นับพัน ๆ ชนิด เอนไซม์เหล่านี้จะไปย่อยอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เพื่อให้ได้พลังงาน

       นอกจากนี้ก็จะสังเคราะห์อาหารให้ได้รหัสพันธุกรรมใหม่ เพื่อซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอและสร้างเซลล์ใหม่แทนเซลล์ที่ตายไป ซึ่งเซลล์ของคนเราจะตายและเกิดใหม่ทุกๆ 7 วัน เมื่อเซลล์ใดตายไปและเซลล์ใหม่เกิดขึ้นไม่เท่าเทียมกันอวัยวะนั้น ๆ ก็จะค่อย ๆ เสื่อม หรือฝ่อไป แต่ถ้าหากเซลล์ใดมีการสร้างเซลล์ใหม่แต่มีรหัสพันธุกรรมเพี้ยนไปจากเซลล์เดิมก็จะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง หรือภูมิต้านทานบกพร่อง เช่นกลุ่มเอสแอลอี

- END -