Friday, April 3, 2020
Neurotransmitters
Neurotransmitters
สารสื่อประสาท
สารสื่อประสาท คืออะไร
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การทำงานของระบบประสาทนั้น เริ่มต้นจากสมองนั้นคิดว่าเราจะทำอะไร ก็จะมีคำสั่งออกมาจากสมองส่วนที่ทำหน้าที่นั้นๆ แล้วคำสั่งนั้นก็ถูกส่งไปตามทาง เดินของสัญญาณประสาท เช่น ไขสันหลัง เส้นประสาท และกล้ามเนื้อที่ต้องทำกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งการส่งสัญญาณประสาทนั้นบางส่วนก็มีการติดต่อกันจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง แต่บางจุดก็ไม่มีการเชื่อมต่อโดยตรง เช่น ระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์ประสาท หรือจากปลายเส้นประสาทไปยังกล้ามเนื้อ ตรงจุดการเชื่อมต่อนี้เอง ที่ต้องอาศัยสารสื่อประสาทเพื่อการเชื่อมโยงสัญ ญาณประสาทระหว่างรอยต่อดังกล่าว ให้การเดินทางของสัญญาณประสาทดังกล่าวครบวงจร และเกิดการทำงานตามคำสั่งของสมองได้
ดังนั้นสารสื่อประสาท คือ สารเคมีที่สร้างจากปลายเซลล์ประสาทหรือตัวเซลล์ประสาท และหลั่งออกจากปลายประสาท เพื่อเป็นตัวนําสัญญาณประสาท ( Neurotransmission ) ผ่านรอยต่อระหว่างเซลล์ประสาท ที่เรียกว่า ไซแนปส์ ( Synapse ) หรือ ช่องว่างระหว่างเซลล์ประ สาทกับเซลล์กล้ามเนื้อ หรือ ช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์ประสาท เพื่อให้วงจรการทำงานของระบบประสาทเกิดความสมบูรณ์ และเกิดการทำงานขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างและการทำงานของสารสื่อประสาทเกิดได้อย่างไร?
สารสื่อประสาทถูกสร้างขึ้นบริเวณปลายประสาท หรือสร้างจากกระบวนการสังเคราะห์สารโปรตีนทั่วไป จากนั้นจะถูกเก็บรักษาไว้ภายในกระเปาะที่ปลายประสาท ที่มีถุงขนาดเล็กและไมโตคอนเดรีย ( Mitochondria, ชิ้นส่วนหนึ่งในเซลล์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างพลังงานของเซลล์ ) สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก จากนั้นจะถูกส่งไปยังเดนไดรต์ ( Dendrite, แขนงเซลล์ประสาท ) ของอีกเซลล์หนึ่ง ซึ่งจะมีรอยต่อระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่า ไซแนปส์ โดยสารสื่อประสาทที่ถูกปล่อยเข้าสู่ช่องไซแนปส์ จะไปจับกับโปรตีนตัวรับ ( Receptor ) ที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของไอออน ( ตัวพาสัญญาณประสาท ) ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ มีการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เดนไดรต์ของเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ และทำให้เกิดการส่งกระแสประสาทต่อไปเรื่อยๆ จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งจนครบวงจรของคำสั่งนั้นๆ
- END -