Friday, April 3, 2020

RANGE OF MOTION


RANGE OF MOTION

      Range of motion แปลว่า "เส้นทาง" หรือ "ระยะทาง" การเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อในขณะที่บริหาร

       ขออธิบายโดยดูการบริหารท่า Barbell curl ข้างล่างนี้ 

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ ) 

      เวลาเราอ่านต้นฉบับ แล้วเขาพูดว่า เล่นท่า Barbell Curl ( ที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) แบบ Full range of motion ก็สามารถอธิบายได้ดังนี้คือ

       Full แปลว่า เต็มที่

       Range of motion แปลว่า เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ ที่เราใช้กล้ามเนื้อของเราในการยกวัตถุนั้นขึ้นและลงในขณะที่บริหาร

       ดังนั้น คำว่า Full range of motion ( ให้ดูภาพข้างบนประกอบไปด้วยนะครับ ) ก็หมายถึงการเคลื่อนที่ตั้งแต่จังหวะที่ 1 ไปถึงจังหวะที่ 3 ( ตามภาพข้างบน ) นี้เลยนะครับ


       แต่ถ้าต้นฉบับบอกว่า เล่น Barbell Curl เพียง Half range of motion ก็อธิบายได้ดังนี้

       Half แปลว่า แค่ครึ่งเดียว

       Range of motion แปลว่า เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ ที่เราใช้กล้ามเนื้อของเราในการยกวัตถุนั้นขึ้นและลงในขณะที่บริหาร 

       ดังนั้น คำว่า Half range of motion ( ให้ดูภาพข้างบนประกอบไปด้วยนะครับ ) ก็หมายถึงการเคลื่อนที่ตั้งแต่จังหวะที่ 1 ไปถึงแค่จังหวะที่ 2 ( ตามภาพข้างบน ) เท่านั้นนะครับ


       นั่นหมายความว่า คำว่า Rang of motion จึงเป็นคำกลางๆ ที่แปลว่า เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ ที่เราใช้กล้ามเนื้อของเราในการยกวัตถุนั้นขึ้นและลงในขณะที่บริหาร เท่านั้น  แต่ตัวคำศัพท์เอง มันบอกไม่ได้ว่าเป็นการเคลื่อนที่แบบเต็มระยะทาง หรือแค่ครึ่งระยะทาง คือถ้าต้องการจะบอกว่ามันเป็นการเคลื่อนที่แบบเต็มระยะทาง หรือแค่ครึ่งระยะทาง เราก็ต้องเติมคำว่า Full หรือ Half เพื่อขยายความให้กับตัวศัพท์ Rang of motion ด้วยน่ะครับ

       คราวนี้ เรามาดูตัวอย่างการใช้ศัพท์ Rang of motion อื่นๆ ดังข้างล่างนี้ครับ

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

      ในท่า Seated Barbell Press ตามที่เพื่อนสมาชิกเห็นในภาพข้างบนนี้ เมื่อเราเอาเรื่อง Rang of motion มาพูดถึงแล้ว ก็จะพูดได้ว่า Rang of motion ของท่านี้ ก็คือการขึ้นและลงแบบตรงๆ ตั้งฉากกับพื้นโลก ( ไม่เกี่ยวกับที่ว่าลำตัวจะเอนไปข้างหลังในขณะบริหารหรือไม่ เพราะเราจะดูที่การเคลื่อนที่ของวัตถุ ( คือบาร์เบลล์ ) อย่างเดียว คือถ้ามันขึ้นและลงแบบตรงๆ ก็จะบอกว่า Rang of motion ของท่านี้ คือขึ้นและลงตรงๆ )

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

      ภาพบน ) เหตุผลก็เพราะ "มือ" ที่เราจับที่คานบาร์เบลล์นั้น มัน "ล็อค" อยู่กับที่ คือล็อคตำแหน่งมือไว้ที่ตัวคานเลย  นั่นหมายความว่า เมื่อคานบาร์เบลล์ ขึ้นหรือลงในแนวดิ่ง "มือ"ของเราก็จะเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงในแนวดิ่งตามไปด้วย นั่นก็คือ Range of motion ของท่านี้ ก็เป็นไปตามเส้นประสีเขียว อย่างที่เห็นในภาพข้างบนนี้

       คราวนี้ ถ้าเราเปลี่ยนจากบาร์เบลล์ มาใช้ดัมเบลล์บ้าง ดูสิว่าจะเกิดอะไรขึ้น

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

     ตอนที่ใช้บาร์เบลล์นั้น มือทั้งสองข้างถูก "ล็อค" ไว้ที่ตัวคานบาร์เบลล์ ดังนั้น มือทั้งสองข้าง ( ที่จับคานบาร์เบลล์อยู่นั้น ) จึงต้องเคลื่อนที่ขึ้นและลง พร้อมกันทั้งมือข้างซ้ายและมือข้างขวา / แต่เมื่อเราเปลี่ยนจากบาร์เบลล์มาใช้ดัมเบลล์ ( แล้วบริหารในท่าเดียวกันกับที่ใช้บาร์เบลล์ คือดันขึ้นเหนือหัว ) ตามที่เห็นในภาพข้างบนนี้ จะเห็นได้ว่า มือทั้งสองข้าง เคลื่อนที่เป็นอิสระต่อกัน

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

       เมื่อมือทั้งสองข้าง เคลื่อนที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นตรงต่อกัน ก็ย่อมเกิด Rang of motion ของแขนแต่ละข้าง ที่ไม่ขึ้นตรงต่อกัน นั่นก็คือ

       Rang of motion ( เส้นทางการเคลื่อนที่ของดัมเบลล์ ) ของมือข้างขวา ( ของนายแบบที่หันหน้าเข้าหาเรา ) ก็จะเคลื่อนที่ไปตามแนวของ เส้นประสีม่วง

       Rang of motion ( เส้นทางการเคลื่อนที่ของดัมเบลล์ ) ของมือข้างซ้าย ( ของนายแบบที่หันหน้าเข้าหาเรา ) ก็จะเคลื่อนที่ไปตามแนวของ เส้นประสีน้ำเงิน

       และคุณจะเห็นได้ว่า แม้ว่าจะเป็นการใช้ดัมเบลล์ดันขึ้นเหนือหัว เหมือนกับท่าก่อนหน้านี้ที่ใช้บาร์เบลล์ดันขึ้นเหนือหัวก็ตาม "แต่ว่า" ตัว Rang of motion ของการใช้ดัมเบลล์ กลับไม่เหมือนการใช้บาร์เบลล์เลย

       คือ Rang of motion ของการใช้บาร์เบลล์ดันขึ้นเหนือหัว ก็คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุ ( คือบาร์เบลล์ ) ในแนวดิ่งอย่างเดียว

       ในขณะที่ Rang of motion ของการใช้ดัมเบลล์ดันขึ้นเหนือหัว มันจะมีทั้งการเคลื่อนที่ของวัตถุ ( คือดัมเบลล์ ) ทั้งในแนวดิ่งด้วย ทั้งในแนวไปทางซ้าย และไปทางขวา ของมือแต่ละข้างด้วย ตามที่เพื่อนสมาชิกได้เห็นจากแนวของ เส้นประสีม่วง และแนวของ เส้นประสีน้ำเงิน ในภาพข้างบนนี้

       ในต้นฉบับนั้น นักเพาะกายที่ชื่นชอบการใช้ดัมเบลล์ดันขึ้นเหนือหัว เขาจะพูดแบบนี้ว่า "I like using dumbbells is that I can move them through  exactly the range of motion that feel right and natural for my own body." / ก็คือการที่นักเพาะกายคนนี้บอกว่า เมื่อใช้ดัมเบลล์ในการบริหารแล้ว เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เขาถืออยู่ในมือนั้น ( ซึ่งก็คือดัมเบลล์ ) มันเคลื่อนที่ไปเป็นตามธรรมชาติ ( คือเคลื่อนที่ไปตามแนวของ เส้นประสีม่วง และแนวของ เส้นประสีน้ำเงิน ของแขนแต่ละข้าง ) ซึ่งต่างจากการใช้บาร์เบลล์ ที่มือจะถูกล็อคไว้ที่ตัวคานบาร์เบลล์เลย ทำให้การเคลื่อนที่ของมือทั้งสองข้าง ( เมื่อใช้บาร์เบลล์ ) เป็นไปในรูปแบบของการถูกบังคับ ( คือมือทั้งสองข้าง ถูกบังคับให้เคลื่อนที่ขึ้นและลงในแนวดิ่งเท่านั้น )

       ขอยกตัวอย่างอีกอันหนึ่ง ที่ต้นฉบับมักชอบเอาศัพท์ Rang of motion มาใช้ ลองดูภาพข้างล่างนี้นะครับ

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )  

     ต้นฉบับ มักจะใช้คำพูดแบบนี้ว่า "ท่า Preacher Curl โดยใช้อุปกรณ์แมชชีน ( แบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) ไม่ดีเท่ากับการใช้ ฟรีเวท เหตุผลก็เพราะว่า Rang of motion ของการใช้แมชชีนนั้น มันไม่เป็นอิสระ มันถูกกำหนด Rang of motion มาโดยวิศวกรผู้ออกแบบอุปกรณ์แมชชีนตัวนี้" ซึ่งเราขยายความคำพูดนี้ได้ว่า ( ดูภาพประกอบข้างล่างนี้ )

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )  

      การที่นักเพาะกายผู้นี้บ่น ความหมายของมันก็คือว่า

       Rang of motion ของมือข้างขวา ( ของนายแบบ ) จะเคลื่อนที่ไปตามแนวของ เส้นประสีม่วง โดยไม่ผิดเพี้ยนไปจากที่วิศวกร ผู้ออกแบบอุปกรณ์แมชชีนข้างบนนี้ ออกแบบไว้

       Rang of motion ของมือข้างซ้าย ( ของนายแบบ ) จะเคลื่อนที่ไปตามแนวของ เส้นประสีเขียว โดยไม่ผิดเพี้ยนไปจากที่วิศวกร ผู้ออกแบบอุปกรณ์แมชชีนข้างบนนี้ ออกแบบไว้

       ก็คือว่า เมื่อใช้แมชชีนข้างบนนี้ บริหารท่า Preacher Curl มันก็จะทำให้การเคลื่อนที่มือ ( ของผู้บริหาร )  หรือ Rang of motion จะต้องเคลื่อนที่ไปตามที่วิศวกรผู้ออกแบบแมชชีนตัวนี้กำหนดไว้ โดยที่ผู้บริหาร ไม่สามารถเคลื่อนที่มือ ซึ่งก็คือการเคลื่อน Rang of motion ไปข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ซ้ายบ้าง ขวาบ้าง จากที่วิศวกรกำหนดไว้ได้เลย ( ซึ่งมันน่าเบื่อ )

       การอธิบายในเวบเพจหน้านี้ ไม่ใช่การวิเคราะห์ท่าบริหารแต่ละท่านะครับ แต่เป็นการเอาท่าต่างๆมาประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เห็นว่าเวลาที่ต้นฉบับเขาเอาศัพท์คำว่า Rang of motion มาใช้นั้น เขาเอามาใช้ในกรณีไหนบ้าง นั่นเองครับ



- END -