Friday, April 3, 2020
Long Range of Motion
Long Range of Motion
คำว่า Range of Motion นั้น หมายถึง "เส้นทาง" หรือ "ระยะทาง" การเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อในขณะที่บริหาร
ในส่วนของหน้าเวบนี้จะเป็นการอธิบายคำว่า "Long" Range of Motion ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า ระยะทางการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อ ที่ "ยาว" นะครับ
การที่เราจะบอกว่าอันไหน "ยาว" ได้นั้น ก็ต้องมีการเทียบกับอันที่ "สั้น" ถูกไหมครับ?
ดังนั้น การอธิบายคำว่า "Long" Range of Motion ในหน้าเวบนี้ ผมจึงใช้คำอธิบายโดยการเทียบกับ ระยะทางการเคลื่อนที่ที่ "สั้น" ( Short Range of Motion ) นะครับ
( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )
( ภาพบน ) ตัวอย่างที่ 1 - ในท่าบริหารกล้ามไบเซบชื่อท่า Standing Barbell Curl ในภาพข้างบนนี้นั้น ผู้บริหารยกบาร์เบลล์จากจังหวะที่ 1 ขึ้นสูงสุดในจังหวะที่ 2 โดยระดับสูงสุดที่ว่านี้ ก็จะอยู่ในแนวเดียวกับสะดือของผู้บริหาร / หลังจากนั้น ผู้บริหารก็ผ่อนบาร์เบลล์ลงไปในจังหวะที่ 1
( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )
( ภาพบน ) ตัวอย่างที่ 2 - คราวนี้ ผู้บริหารยกบาร์เบลล์จากจังหวะที่ 1 ขึ้นสูงสุดในจังหวะที่ 2 โดยระดับสูงสุดที่ว่านี้นั้น คานบาร์เบลล์จะอยู่ที่บริเวณคางของผู้บริหาร / หลังจากนั้น ผู้บริหารก็ผ่อนบาร์เบลล์ลงไปในจังหวะที่ 1
( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )
( ภาพบน ) ก็คือว่า หากเราพิจารณาเฉพาะ ตัวอย่างที่ 2 อันเดียว โดยยังไม่มีการเปรียบเทียบกับ ตัวอย่างที่ 1 แล้วล่ะก็ ตัวอย่างที่ 2 นี้ ก็ยังไม่ถือว่ามี ระยะทางการเคลื่อนที่ที่ยาวกว่า ( เพราะมันยังไม่มีการเปรียบเทียบกับอะไรเลย )
แต่เมื่อมีการเอา ตัวอย่างที่ 2 ไปเปรียบเทียบกับ ตัวอย่างที่ 1 เมื่อไรแล้วล่ะก็ ก็จะสามารถเรียกได้ว่า ตัวอย่างที่ 2 มีระยะทางการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อที่ยาว และไกล โดยทันที ( คือ ยาว และไกล เมื่อเทียบกับระยะทางการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อของ ตัวอย่างที่ 1 )
เรามาดูอีกท่าหนึ่งนะครับ ดังภาพข้างล่างนี้
( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )
( ภาพบน ) ตัวอย่างที่ 3 - เป็นท่าบริหารกล้ามหัวไหล่ส่วนหน้าด้วยท่า Front Dumbbell Raise ซึ่งจากภาพข้างบนนี้จะเห็นได้ว่าใน จังหวะที่ 2 ซึ่งผู้บริหารยกดัมเบลล์ขึ้นสู่ระดับสูงสุดนั้น ระดับของดัมเบลล์จะอยู่ในแนวเดียวกับระดับหัวไหล่เท่านั้น จากนั้น ผู้บริหารก็จะลดดัมเบลล์กลับลงมาสู่ จังหวะที่ 1 ใหม่
( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )
( ภาพบน ) ตัวอย่างที่ 4 - ข้างบนนี้ ก็คือท่า Front Dumbbell Raise เหมือนกัน เพียงแต่ในการบริหารท่าข้างบนนี้ ผู้บริหารยกดัมเบลล์ขึ้นสูงเหนือศีรษะ ( แทนที่จะยกดัมเบลล์แค่ระดับหัวไหล่เหมือนใน ตัวอย่างที่ 3 )
การยกดัมเบลล์ให้สูงกว่านี้แหละ จึงพูดได้ว่าการบริหารใน ตัวอย่างที่ 4 นี้ มีระยะทางการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อที่ยาว และไกล โดยทันที ( คือ ยาว และไกล เมื่อเทียบกับระยะทางการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อของ ตัวอย่างที่ 3 )
- END -