Sunday, April 5, 2020

Taking sets to failure


Taking sets to failure

      คือการบริหารเซทนั้นๆ แบบหมดแรงเต็ม 100% จริงๆ คือหลังจากบริหารเซทนั้นเสร็จแล้ว คุณก็แทบไม่มีแรงยืนอยู่เลย

       การบริหารแบบหมดแรง 100% ในที่นี้ "จะไม่กำหนดจำนวน Reps" นั่นหมายความว่า สมมติว่าต้นฉบับ บอกว่าให้บริหารท่า Chin ในลักษณะที่แตกต่างกัน ( หมายความว่า มาจากต้นฉบับคนละเล่ม ) ดังข้างล่างนี้

       ต้นฉบับเล่มแรก บอกว่า ให้บริหารท่า Chin ให้ได้สามเซท และให้บริหารแบบ going to failure on all of your sets - กรณีอย่างนี้ก็แปลได้ว่า ในทั้ง 3 เซทนั้น คุณจะบริหารเซทละกี่ Rep ก็ได้ แต่ว่าให้บริหารทุกๆเซทแบบหมดแรงจริงๆ  เช่นเซทแรก คุณดึงข้อได้ 8 ครั้งแล้วหมดแรงจริงๆ / พอเซทที่สอง คุณดึงข้อได้เหลือ 7 ครั้งแล้วหมดแรงจริงๆ / พอเซทที่สาม คุณดึงข้อได้เหลือ 5 ครั้งแล้วหมดแรงจริงๆ - เป็นต้น

       ต้นฉบับเล่มที่สอง บอกว่า ให้บริหารท่า Chin ให้ได้ 3 เซท โดยเซทแรกให้บริหาร 8 ครั้ง เซทที่สอง ก็ให้บริหาร 8 ครั้งเช่นกัน  แต่พอเซทที่สามเขาใช้คำพูดว่า Only the last set are to failure. แล้วล่ะก็ กรณีนี้ แยกได้เป็นสองแบบคือ

               แบบที่ 1 - นาย ก. ดึงข้อเซทแรก 8 Reps ( ตามที่เขากำหนด ) / นาย ก. ดึงข้อเซทที่สอง 8 Reps ( ตามที่เขากำหนด ) / แต่พอเซทที่สาม นาย ก. ดึงข้อได้ 15 Reps เลย


               แบบที่ 2 - นาย ข. ดึงข้อเซทแรก 8 Reps ( ตามที่เขากำหนด ) / นาย ข. ดึงข้อเซทที่สอง 8 Reps ( ตามที่เขากำหนด ) / แต่พอเซทที่สาม นาย ข. ดึงข้อได้แค่ 3 Reps ก็หมดแรงแล้ว


               ในสองแบบข้างบนนี้ คุณจะเห็นว่าศัพท์ last set are to failure นั้น ให้ผลที่ต่างกัน คือแบบที่หนึ่งนั้น ในเซทสุดท้าย กว่าที่ นาย ก. จะหมดแรง ( failure ) นาย ก.ก็ทำได้ตั้ง 15 Reps - นั่นเพราะว่าจริงๆแล้ว นาย ก. ทำได้เซทละ 15 Reps ( หรือมากกว่า ) มาตั้งแต่เซทแรกแล้ว แต่ที่เซทแรก และเซทที่สอง นาย ก.ทำแค่ 8 Reps ก็เพราะว่าเขากำหนดให้ นาย ก.บริหารเซทแรก และเซทที่สอง ให้ได้เซทละ 8 Reps เท่านั้น แล้วพอเซทที่สาม เขาไม่กำหนดจำนวน Reps มา แต่ให้ นาย ก.เล่นจนหมดแรงด้วยตัวเองจริงๆ ซึ่งนาย ก. ก็ทำได้ถึง 15 Reps

               ในขณะที่แบบที่สอง ในเซทสุดท้าย ( ที่ว่าให้บริหารจนหมดแรง ( failure ) ) นาย ข. ทำได้แค่ 3 Reps เท่านั้น ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนาย ข. แข็งแรงไม่เท่ากับ นาย ก. ในตัวอย่างแรก / เลยทำให้นาย ข. แทบจะไม่มีแรงเหลือ หลังจากบริหารเซทแรก และเซทที่สอง ( ที่กำหนดให้บริหารเซทละ 8 Reps ) เสร็จไปแล้วก่อนหน้านี้ ดังนั้น พอมาถึงเซทที่สาม ที่เขาบอกว่าดึงข้อให้หมดแรงจริงๆ  นาย ข. ก็เลยใช้แรงที่เหลืออยู่ในตัวทำการดึงข้อ ซึ่งก็ทำได้แค่ 3 Reps เท่านั้น ก็หมดแรงแล้ว


สรุปว่า คำว่าบริหารเซทนั้น จนหมดแรงจริงๆ หรือ Taking sets to failure นั้น ก็คือการรีดแรงในร่างกายออกมาบริหารเซทนั้นๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าจะทำได้จำนวนครั้งเท่าใด ( บางคนทำได้ 15 ครั้ง บางคนทำได้ 3 ครั้ง เหมือนตัวอย่าง นาย ก. และนาย ข. ที่ยกเอามาให้ดูข้างต้น ) ขอให้เมื่อบริหารหมดเซทนั้นแล้ว คุณหมดแรงจริงๆจนแทบยืนไม่อยู่  นั่นแหละคือความหมายของ Taking sets to failure

- END -