Sunday, April 5, 2020

Up-the-rack dumbbell exercise


Up-the-rack dumbbell exercise

      เราจะเจอคำศัพท์แบบนี้ในหนังสือต้นฉบับนะครับ คือ I do up - the - rack dumbbell laterals raise ,They're done nonstop through four rapid pyrmid set of 25 reps ,then 15 ,12 and 8

       ประเด็นหลักของเวบหน้านี้คือการอธิบายคำว่า up - the - rack ว่าหมายถึงอะไรนะครับ

       แต่ก่อนที่จะไปถึงคำว่า up - the - rack  ผมขออธิบายส่วนประกอบอื่นๆของประโยคก่อน เพื่อจะได้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นนะครับ 

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ ) 

      ภาพบน ) ผู้บริหารในภาพข้างบนนี้ กำลังบริหารท่า Side Lateral Raise อยู่  ซึ่งในส่วนประกอบของประโยคที่พูดไว้ว่า done nonstop through four rapid pyramid set of 25 reps ,then 15 ,12 and 8  ก็หมายถึงว่า ผู้บริหาร ได้บริหารท่าข้างบนนี้ติดต่อกันหลายเซท โดยไม่พักระหว่างเซทเลย ( nonstop ) / และใช้ระบบเปลี่ยนน้ำหนักดัมเบลล์ทุกเซท ( ซึ่งก็คือระบบ Pyเramid ) / คือบริหารเซทแรก 25 reps แล้วก็เปลี่ยนน้ำหนักดัมเบลล์ แล้วก็บริหารเซทที่สองต่อทันที 15 reps / แล้วก็เปลี่ยนน้ำหนักดัมเบลล์ แล้วก็บริหารเซทที่สามต่อทันที 12 reps / แล้วก็เปลี่ยนน้ำหนักดัมเบลล์ แล้วก็บริหารเซทที่สี่ ( เป็นเซทสุดท้าย ) ต่อทันที 8 reps

       คราวนี้ก็มาถึงประเด็นหลัก คือคำศัพท์ up - the - rack  นะครับ

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ ) 

     ภาพบน ) ตามโรงยิมต่างๆ เขาจะมีที่วางดัมเบลล์ ( Rack ) เอาไว้ให้วางดัมเบลล์ต่อกันเป็นแถวยาวๆ  เหมือนที่เห็นภาพข้างบนนี้นะครับ

       คำว่า up-the-rack  ก็หมายถึงการยกดัมเบลล์ออกจากที่วาง ( Rack )  เพื่อจะเอามาบริหารนั่นเอง

       แล้วมันสำคัญอย่างไร ถึงต้องมี "เน้น" ว่าการยกดัมเบลล์มาบริหารนั้น ต้องยกออกจากที่วาง ( Rack ) ที่อยู่ตรงหน้า ? 

       คำตอบก็คือว่า ถ้าไม่เน้นว่าต้องเป็นการบริหารแบบยกดัมเบลล์ออกจากที่วางที่อยู่ตรงหน้าแล้วล่ะก็  คนอื่นก็จะเข้าใจว่า สามารถยกดัมเบลล์ขึ้นจากพื้นแทนได้ 

       คราวนี้ พอต้องใช้วิธียกดัมเบลล์จากพื้น ก็อาจมีปัญหาว่า พอบริหารเซทแรกเสร็จ แล้วจะบริหารเซทต่อไปโดยไม่พัก ก็ต้องมาวิ่งหาดัมเบลล์คู่อื่นอีก ( คือมันไม่มีดัมเบลล์ขนาดต่างๆ วางไว้บน rack ที่อยู่ตรงหน้าเหมือนในภาพข้างบนนี้ )  / มันก็เลย "ขาดช่วง" คือไม่ใช่ non stop  เพราะต้องมาเสียเวลาตามหาดัมเบลล์น้ำหนักอื่นๆ เพื่อจะนำมาใช้ในการบริหารเซทถัดไป

       ด้วยเหตุนี้ จึงต้องเน้นว่า ถ้าผู้บริหารต้องการจะบริหารแบบเปลี่ยนน้ำหนักดัมเบลล์ทุกเซท ( คือใช้ระบบ Pyramid ) และไม่มีการพักระหว่างเซท ( non stop ) 
แล้วล่ะก็  ผู้บริหารก็ต้องใช้วิธีบริหารแบบ up-the-rack  ซึ่งก็คือการหยิบดัมเบลล์ออกจากที่วาง โดยที่วางหรือ rack อันนั้น อยู่ตรงหน้าผู้บริหารนั่นเอง  จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องต้องตามหาดัมเบลล์ขนาดน้ำหนักอื่นๆเพื่อจะนำมาบริหารในเซทถัดไป


- END -