Sunday, April 12, 2020

Clove Garlic


Clove Garlic

      กระเทียม ( garlic ) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Allium sativum Linn. เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน อยู่ใน วงศ์ Alliaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับ หอมหัวใหญ่ หอมแดง ส่วนที่ใช้รับประทานคือ ลำต้น ดอก และหัว หัวของกระเทียมเป็นทั้งเครื่องเทศ ( spice ) และสมุนไพร ( herb ) ที่มีสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก ทำให้กระเทียมมีกลิ่นรสเฉพาะตัว ใช้ปรุงอาหาร ( cooking ) หลายชนิด ทั้ง ต้ม ผัด น้ำพริกแกง ทอด และยังใช้เป็นวัตถุดิบนำมาแปรรูป ( food processing ) เพื่อการถนอมอาหารและเพิ่มมูลค่า เป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด กระเทียมมีกรดแอมิโน อาร์จินีน ( arginine ) oligosaccharides, flavonoid, and selenium ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

       กระเทียมจำหน่ายในรูปหัวกระเทียมแห้ง ประกอบด้วยกลีบเรียงซ้อนกันประมาณ 4-15 กลีบ บางพันธุ์จะมีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า "กระเทียมโทน" แต่ละกลีบมีกาบเป็นเยื่อบางๆสีขาวอมชมพูหุ้มอยู่โดยรอบ กลิ่นหอมฉุน รสชาติเผ็ดร้อน

การใช้ประโยชน์ในอาหาร

* * * กระเทียม ใช้ในการปรุงอาหาร ( cooking ) หลายชนิด ทั้งการผัด การทอด การต้ม การตุ๋น เป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่น น้ำพริกแกงชนิดต่างๆ เช่น น้ำพริกแกงแดง น้ำพริกแกงเขียวหวาน น้ำพริกแกงแพนง น้ำยาขนมจีน น้ำพริกกะปิ


* * * กระเทียมเจียว คือการนำกระเทียมมาเจียวในน้ำมันพืช หรือน้ำมันหมู ให้หอม มีสีเหลือง ก่อนใส่เนื้อสัตว์หรือผัก เป็นวิธีดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และเพิ่มรสชาติให้กับอาหารประเภทผัดชนิดต่างๆ ใช้โรยหน้าอาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ ข้าวต้ม


* * * กระเทียมดองเป็นการถนอมอาหาร



ส่วนประกอบและสรรพคุณของกระเทียม

* * * กระเทียม ประกอบด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรท แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่มีกำมะถันหลายชนิด เช่น แอลลิซิน 0.6-1.0% แอลลิอิน ( alliin  ) ไดแอลลิลไดซัลไฟด์ ( diallyl disulfide ) เมทิลแอลลิลไตรซัลไฟด์ ( methyl allyl trisulfide ) คูมาริน ( coumarin ) เอส-แอลลิลซีสเตอีน ( S-allylcysteine ) เป็นต้น


* * * กระเทียม มีน้ำมันหอมระเหย มีสารประกอบมากกว่า 200 ชนิด


* * * กระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย โดยเฉพาะจุลินทรีย์ก่อโรค ( pathogen ) ได้แก่ Salmonella typhymurium, Bacillus subtilis, Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, เชื้อรา ได้แก่ Aspergillus ยีสต์ Candida albicans และปรสิต ( parasite ) ใช้เป็นสารกันเสีย ( preservative ) ในอาหาร


* * * กระเทียม สามารถลดความดันโลหิตสูง ลดไขมันและคอเลสเตอรอล ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ลดน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ ยังเป็นยาขับเสมหะ รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ และยังมีฤทธิ์ขับเหงื่อ และขับปัสสาวะ


* * * กระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก


กระเทียมมีสารชักนำวิตามินบี 1 ( Vitamin B1 ) เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารแอลลิลไทอะมิน ทำให้ vitamin B1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น 


- END -