Tuesday, April 7, 2020
CONTINUOUS TENSION
CONTINUOUS TENSION
บางครั้งเรียกว่า SLOW,CONTINUOUS TENSION (เพื่อความเข้าใจอันดี อ่าน PEAK CONTRACTION ก่อน)
ผู้ฝึกเพาะกายที่อ่อนประสบการณ์ มักจะเคลื่อนไหวท่าฝึกโดยใช้แรงเหวี่ยง เพื่อเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วง ทำให้การฝึกง่ายขึ้น และกล้ามเนื้อออกแรงด้านน้อยลง ทั้งที่จริงแล้ว ถ้าต้องการให้การฝึกเพาะกายเกิดประโยชน์สูงสุด กล้ามเนื้อส่วนที่ฝึกต้องออกแรงต้านอย่างเต็มกำลังตลอดเวลาที่เคลื่อนไหวท่าฝึกแต่ละครั้ง
หลักการฝึกแบบคอนตินิวอัส เทนชันคือ การเคลื่อนไหวท่าฝึกอย่างช้า ๆ ทำให้กล้ามเนื้อส่วนที่ฝึก ออกแรงต้านอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างกล้ามเนื้ออย่างมีคุณภาพ
ไมค์ ควิน (คลิ๊กเพื่อดูภาพ) ผู้มีตำแหน่ง มร. ยูเอสเอ มร. ยูนิเวิร์ส กล่าวถึงยุทธวิธีนี้ว่า "หลายปีมาแล้ว ผมชอบฝึกด้วยน้ำหนักมากๆกับท่าฝึกหลักทั้งหลาย ก็เพื่อเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ วิธีนี้ได้ผลดีสำหรับผม เพราะผมตัวโตขึ้นมาก แต่ผมก็ตระหนักดีว่า การที่จะก้าวมาอยู่แถวหน้าในวงการได้ ผมจำเป็นต้องเพิ่มรายละเอียดของกล้ามเนื้อให้มากขึ้น"
"กำหนดการฝึกเพื่อเพิ่มความคมชัดของกล้ามเนื้อของผม ประกอบด้วยเทคนิคคอนตินิวอัส เทนชัน วิธีนี้ทำให้มัดกล้ามแต่ละมัด มีแนวเชื่อมต่อกันอย่างชัดเจน ผมขอยกตัวอย่าง วิธีการฝึกต้นขาด้านหน้าด้วยท่า LEG EXTENSION (คลิ๊กเพื่อดูภาพ) แบบเทคนิคนี้ ผมใช้อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักที่ผมเคยใช้ เคลื่อนไหวท่าฝึกอย่างช้าๆ ใช้ความเร็วประมาณครึ่งหนึ่งของการเคลื่อนไหวระดับปกติ ดังนั้นการเคลื่อนไหวท่าฝึกแต่ละครั้ง ผมต้องใช้เวลาเป็นสองเท่าของที่เคยฝึก"
"การฝึกด้วยเทคนิคนี้ บางคราวผมใช้อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักที่เคยใช้เท่านั้น"
- END -
Labels:
หมวด-6-เทคนิคฝึก