Tuesday, April 7, 2020
Power Rep Range Shock
Power Rep Range Shock
ลองมองย้อนหลังไปถึงการฝึกในอดีตของคุณ ยังจำได้ไหมว่าช่วงแรกๆของการฝึกนั้น คุณรู้สึกได้เลยว่ากล้ามเนื้อของคุณมันเพิ่มปริมาณขึ้นทุกๆอาทิตย์ / อีกทั้ง คุณยังสามารถเพิ่มปริมาณแผ่นน้ำหนักเข้าไปในคานบาร์เบลล์ ได้มากกว่าอาทิตย์ก่อนหน้านี้ ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่านอกจากปริมาณมัดกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้นแล้ว คุณยังมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นทุกๆอาทิตย์อีกด้วย
เมื่อวานนี้ หลังจากทานอาหารมื้อสุดท้ายของวันแล้ว ก่อนจะเข้านอน คุณชั่งน้ำหนักตัวเอาไว้ จากนั้น คุณก็เข้านอนและตื่นนอนขึ้นมาตามปกติ / และหลังจากเล่นกล้ามมาในวันนี้แล้ว พอกินมื้อสุดท้าย และก่อนจะเข้านอน คุณลองชั่งน้ำหนักตัวอีกครั้ง มันช่างน่าตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก ที่เห็นว่าน้ำหนักตัว ( น้ำหนักกล้ามเนื้อ ) ของคุณเพิ่มมาถึงครึ่งปอนด์ เมื่อเทียบกับเมื่อวานนี้
ในช่วงแรกๆของการฝึกของคุณ ดูราวกับว่าการเพิ่มกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแกร่ง มันช่างง่ายดายเสียเหลือเกิน แค่ ทานให้มากขึ้น ,ฝึกให้หนักขึ้น และนอนให้มากขึ้น / แล้วผลของมัน ก็ปรากฏขึ้นอย่างง่ายดาย
มันช่างเป็นเวลาอันแสนสุข จริงไหม? ที่แสนสุขก็เพราะว่า ดูเหมือนว่าคุณมาถูกทางแล้ว เพราะคุณประสบความสำเร็จในการเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแกร่งได้อย่างชัดเจน
แต่แล้ว สิ่งที่นักเพาะกายหลายคนจะต้องประสบเหมือนกัน นั่นก็คือว่า เวลาอันแสนสุขที่ว่านั้น มันช่างสั้นเสียเหลือเกิน นั่นก็คือว่า เมื่อครบ 1 ปีแล้ว อัตราการเติบโตของมัดกล้าม มันกลับช้าลงอย่างเห็นได้ชัด ,น้ำหนักตัวที่ปรากฏบนเครื่องชั่งน้ำหนักที่คุณชั่งก่อนนอน มันไม่เพิ่มขึ้นเร็วเหมือนก่อน / ทั้งที่คุณก็ฝึกในท่าเดิม , รูปแบบฟอร์มในขณะบริหารก็เหมือนเดิม คุณไม่ได้ทำอะไรผิดพลาดเลย แต่ทำไมอยู่ๆ ผลการฝึก ผลการเพิ่มมัดกล้ามเนื้อ มันก็หยุดลงเฉยๆ?
สำหรับคำตอบของเรื่องนี้ สิ่งแรกก็คือ คุณต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับกล้ามเนื้อก่อน กล้ามเนื้อนั้น ก็คือการรวมกันของเส้นใยกล้ามเนื้อ ( Fiber ) ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว เส้นในกล้ามเนื้อจะถูกแบ่งเป็น 3 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 - เราเรียกว่าเส้นใยกระตุกช้า ( Slow-twitch ) หรือเส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง
รูปแบบที่เหลือ - ถูกแบ่งเป็นรูปแบบ 2 A และรูปแบบ 2 B / ซึ่งรูปแบบ 2 A และรูปแบบ 2 B เราเรียกว่าเส้นใยกระตุกเร็ว ( Fast-twitch ) หรือเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว
เส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง มีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อในรูปแบบที่ต้องทนทรหด / เส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง จะมีลักษณะการทำงานแบบเคลื่อนไหวช้าๆ และเคลื่อนไหวติดต่อกันยาวนาน และกว่าที่ร่างกายจะเกิดความล้า ก็ใช้เวลานาน
เส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว ( รูปแบบ 2 A และรูปแบบ 2 B ) เป็นเส้นใยกล้ามเนื้อที่มีความทรหด “น้อยที่สุด” / เส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว ทำงานด้วยระบบ “ระเบิดพลังงาน” และปฏิกิริยาการทำงานของเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว ก็ไม่ต้องพึ่งพาระบบสันดาปโดยก๊าซออกซิเจนแต่อย่างใด / จุดเด่นของเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาวอีกอย่างหนึ่งก็คือ มันล้าเร็วมาก
เวลาที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ( ยกตัวอย่างเช่น การหดเกร็งกล้ามเนื้อไบเซบ ( ที่เป็นกล้ามเนื้อสีแดงๆในภาพข้างบนนี้ ) โดยมีจุดประสงค์เพื่อยกดัมเบลล์เข้าหาตัว ) / กล้ามเนื้อ รูปแบบที่ 1 และกล้ามเนื้อ รูปแบบที่เหลือ ( 2A และ 2B ) จะเข้ามามีบทบาทในการหดเกร็งของกล้ามเนื้อนั้น โดยจะทำงานครั้งละรูปแบบเดียว ( คือถ้ากล้ามเนื้อ รูปแบบที่ 1 ทำงานอยู่ กล้ามเนื้อ รูปแบบที่เหลือ ก็จะยังไม่ทำงาน ) / ซึ่งขั้นตอนการทำงานจะเป็นแบบนี้คือ
เมื่อเริ่มต้นหดเกร็งกล้ามเนื้อนั้น กล้ามเนื้อ รูปแบบที่ 1 ( คือเส้นใยกระตุกช้า ( Slow-twitch ) หรือเส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง ) ทำงานก่อน เป็นอันดับแรกเสมอ
เมื่อมีการเพิ่มจังหวะการเคลื่อนไหวให้เร็วขึ้น หรือเมื่อมีการต้องใช้พละกำลังในการยกที่เพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อ รูปแบบที่ 2 แบบ 2A จะเริ่มทำงานแทนกล้ามเนื้อ รูปแบบที่ 1
เมื่อกล้ามเนื้อต้องออกแรงมากขึ้นอีก คือต้องออกแรงเข้าไปอยู่ในช่วง 90% ของกล้ามเนื้อที่จะสามารถทำงานได้ ( คือหมายความว่า สมมติว่ากล้ามเนื้อออกแรงได้ 100 % ( ถ้าทำมากกว่า 100% กล้ามเนื้อก็จะฉีกขาด ) และในที่นี้ พูดถึงว่า ถ้าเราออกแรงเข้าไปอยู่ในช่วง 90% ( ยังอีก 10% ถึงจะครบ 100% ) ) แล้วล่ะก็ กล้ามเนื้อ รูปแบบที่ 2 แบบ 2B จะเริ่มทำงานแทน กล้ามเนื้อ รูปแบบที่ 2 แบบ 2A ทันที
โดยธรรมชาติแล้ว กล้ามเนื้อเกือบทั้งหมดในร่างกาย จะมีกล้ามเนื้อ รูปแบบที่ 1 และ กล้ามเนื้อ รูปแบบที่เหลือ ผสมปนเปกัน "แต่" บางครั้งกรรมพันธุ์ หรือที่เรียกว่าพรสวรรค์แต่กำเนิด ก็ทำให้คนบางคนเกิดมาเพื่อเป็นนักวิ่งมาราธอน ด้วยการที่เขาจะมีเส้นใยกระตุกช้า ( Slow-twitch ) ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า เส้นใยกระตุกเร็ว ( Fast-twitch ) / และในทางกลับกัน บางคนก็เกิดมาเพื่อเป็น นักวิ่งแบบ Sprint หรือนักเพาะกาย ด้วยการที่เขามีเส้นใยกระตุกเร็ว ( Fast-twitch ) ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า เส้นใยกระตุกช้า ( Slow-twitch )
ถ้าใช้หลักวิทยาศาสตร์แบบตายตัว ทุกคนก็ต้องคิดว่า ในเมื่อเราเป็นนักเพาะกาย เราก็ควรจะเน้นการบริหารที่เส้นใยกระตุกเร็วเท่านั้น โดยไม่ต้องสนใจที่จะบริหารเส้นใยกระตุกช้าเลย
แต่ถ้าคุณลองประยุกต์แนวคิดนี้ คุณจะต้องคิดได้ว่า ทำไมเราจะต้องจำกัดตัวเองเอาไว้แค่การบริหารแต่เส้นใยกระตุกเร็วเท่านั้น ?
ที่ถูกแล้ว คุณควรจะจัดรูปแบบบริหาร ให้เส้นใยกล้ามเนื้อทั้งหมดของคุณ ( คือทั้งเส้นใยกระตุกเร็ว และเส้นใยกระตุกช้า ) ได้รับการบริหารได้อย่างทั่วถึงกันต่างหากล่ะครับ
การปรับปรุงคุณภาพมัดกล้ามเนื้อ
เมื่อพูดถึงการปรับปรุงคุณภาพมัดกล้ามเนื้อ ปัจจัยหลักก็คือ การเพิ่ม Mitochondrial Enzyme / การเพิ่มการสะสม ATP และ Phosphocreatine / การเพิ่มประสิทธิภาพของการสะสม Glycogen และ Triglyceride สิ่งที่พูดมาทั้งหมดนี้ คุณสามารถได้รับด้วยการ เพิ่มความหลากหลาย ( Variation ) ให้กับตารางฝึกของคุณ
หลังจากที่คุณเริ่มต้นเล่นกล้าม และใช้ตารางฝึกเดิมๆติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี มันก็ถึงเวลาที่จะต้องเพิ่มความหลายหลาย หรือความเปลี่ยนแปลงให้กับตารางฝึกของคุณแล้ว เพราะตราบใดที่คุณยังบริหารด้วยท่าบริหารเดิมๆ , จำนวน Rep เดิมๆ , "จังหวะ" ในการยกน้ำหนักขึ้นและลงแบบเดิมๆ , ระยะเวลาในการพักระหว่างเซทแบบเดิมๆ , เทคนิคการฝึกแบบเดิมๆ ทำแบบนี้วันแล้ววันเล่า , อาทิตย์แล้วอาทิตย์เล่า , เดือนแล้วเดือนเล่า มันก็จะไม่มีอะไรดีขึ้น
โดยหลักชีววิทยาแล้ว ร่างกายมนุษย์เป็นเหมือนเครื่องจักรที่ขอบสมานแผลตัวเอง คือหมายความว่า เมื่อมีอะไรเปลี่ยนแปลงสักเล็กน้อยต่อร่างกาย ร่างกายก็จะพยายามปรับตัวให้คุ้นเคย ให้เคยชินกับความเปลี่ยนแปลงนั้น ( Webmaster - คือหมายความว่า ร่างกายจะพยายามควบคุมสถานะการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ให้อยู่ในสภาพปกติ หรือสภาพสมดุลอยู่ตลอดเวลา )
นั่นก็หมายความว่า แต่ก่อน ( สมัยที่ยังไม่ได้เริ่มเพาะกาย ) นั้น พอเราเริ่มเพาะกาย ร่างกายก็จะตอบสนองโดยไว ( เพื่อควบคุมสถานะการณ์ให้กับร่างกายตัวเอง ) ด้วยการเพิ่มปริมาณมัดกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น มีสมรรถนะมากขึ้น เพื่อรองรับการที่ร่างกายต้องใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ในการยกลูกน้ำหนัก
แต่เมื่อเวลาผ่านไป 2 ปีแล้ว ถ้าเรายังฝึกด้วยรูปแบบเดิมๆ ร่างกายมันก็จะเคยชินกับการฝึกแบบนั้น มันจึงขาดการตอบสนองโดยไว ซึ่งจะแตกต่างกับตอนที่เริ่มเพาะกายใหม่ๆ
ดังนั้น หากต้องการความสำเร็จในการเล่นกล้าม คุณจึงต้องเปลี่ยนแปลงการฝึกของคุณ ด้วยการเพิ่มความหลากหลาย ( Variation ) เข้าไปในการฝึก เพื่อให้ร่างกายเกิดการตอบสนองโดยไวเหมือนกับช่วง 2 ปีแรกของการเพาะกายนั่นเอง
วิธีที่ดีที่สุดของการ เพิ่มความหลากหลาย ( Variation ) เข้าไปในการฝึกคืออะไร? คำตอบก็คือ การใช้เทคนิค power / rep range / shock นั่นเอง และเพื่อให้ง่ายต่อการเรียก บางครั้งผมจะเรียกย่อๆว่า P/RR/S
อะไรคือ P/RR/S ? คำตอบก็คือว่า P/RR/S คือรูปแบบการฝึกที่มีการหมุนเวียนแทบทุกอย่างในการฝึก ไม่ให้เกิดการซ้ำซาก ซึ่งรูปแบบการฝึกแบบ P/RR/S นี้ ผมใช้เวลาศึกษาและพัฒนามาเป็นระยะเวลาถึง 12 ปีเต็ม โดยในช่วง 12 ปีนี้ ผมพัฒนาจากร่างกายที่หนักเพียง 56 กก. ( 125 ปอนด์ ) และอ่อนแอ โดยยกน้ำหนักในท่า BenchPress ได้เพียง 20 กก. ( 45 ปอนด์ ) จนทำให้ร่างกายเปลี่ยนมาเป็นนักเพาะกายที่หนัก 101 กก. ( 225 ปอนด์ ) ชนะได้ถ้วยรางวัลสำหรับการประกวดเพาะกาย อีกทั้งยังยกท่า BenchPress ได้ถึง 180 กก. ( 400 ปอนด์ ) โดยไม่ต้องคนช่วยพยุง และไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับสเตอรอยด์แต่อย่างใด
หลังจากใช้เวลาพัฒนาเทคนิค P/RR/S มาเป็นเวลา 12 ปี ถึงแม้ว่าผมจะเพิ่มน้ำหนักตัวได้ถึง 45 กก. ( 100 ปอนด์ ) แต่ผมก็ยังอยากได้มากกว่านั้น ดังนั้น ผมจึงครุ่นคิด และลองเขียนแผนการฝึกแบบ P/RR/S ลงบนกระดาษ ลองทดสอบการฝึกทุกขั้นตอนใหม่อีกครั้ง จากนั้นจึงเขียนกลยุทธ์การฝึกออกมาให้เห็นเป็นตัวอักษร จนเมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน ผมจึงเขียนกลยุทธ์การฝึกแบบ P/RR/S ให้เห็นเป็นชิ้นเป็นอันได้เสร็จ
และผมก็ใช้กลยุทธ์ที่ผมเขียนออกมานั้น ต่ออีก 4 ปี ซึ่งผมพบว่าในช่วง 4 ปีที่ผมใช้กลยุทธ์ P/RR/S แบบจริงจังนั้น ร่างกายของผมแข็งแรงขึ้น รู้สึกดีมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาก่อนในช่วง 12 ปีก่อนหน้านี้
แล้วคุณล่ะ พร้อมสำหรับการเริ่มใช้เทคนิคกลยุทธ์ P/RR/S ไหม? เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
อาทิต์แรก : Power
เป้าหมายหลักของอาทิตย์แรกนี้ คือการมุ่งตรงไปที่การกระตุ้นเส้นใยกล้ามเนื้อแบบ 2A และ 2 B / วิธีที่จะกระตุ้นเส้นใยกล้ามเนื้อนี้ ( 2A และ 2 B ) นี้ ต้องใช้องค์ประกอบดังนี้คือ
ต้องใช้ลูกน้ำหนักที่หนักมากเท่านั้น / วิธีจะดูว่าลูกน้ำหนักนี้หนักพอหรือยังก็คือการที่คุณเอาลูกน้ำหนักนี้มาบริหาร แล้วบริหารได้แค่ 4 Reps - 6 Reps เท่านั้น ก็บริหารต่อไม่ไหวแล้ว
ตอนอยู่ในช่วง Negative Portion ให้ใช้เวลา 4 วินาที
พอเข้าสู่ช่วง Positive Portion ก็ให้ใช้วิธี "กระชากจังหวะอย่างแรง" ( Explosively movement )
ให้พักระหว่างเซท 4 - 5 นาที / การพักระหว่างเซทในช่วง Power ( อาทิตย์แรก ) นี้มีความสำคัญมาก คุณจะต้องพักผ่อนระหว่างเซทให้มากพอที่จะ "ฟื้นกำลัง" ให้กลับมาใช้ในการยกลูกน้ำหนักที่หนักมาก ในเซทถัดไปได้ / ถ้าพูดตามหลักการวิทยาศาสตร์ก็คือว่า คุณพักเซทให้นาน ก็เพื่อให้ร่างกายปรับ ATP และ Phosphocreatine ในเซลล์กล้ามเนื้อ ให้กลับมาเกิดความสมดุลอีกครั้ง ( เพื่อจะได้นำไปใช้ในเซทถัดไป )
ในช่วง Power ( อาทิตย์แรก ) นี้ ให้บริหารด้วยท่าแบบ Compound เท่านั้น อันได้แก่ Bench presses , Squats , Deadlifts , Military Presses , Bent over rows
ใช้จังหวะในการบริหาร ( Lifting tempo ) แบบ 4/0/X
ข้างล่างนี้คือตัวอย่างตารางฝึกสำหรับบริหารกล้ามหน้าอก
Bench presses 4 เซท เซทละ 4 - 6 Reps
Incline Dumbbell presses 3 เซท เซทละ 4 - 6 Reps
Weighted dips 2 - 3 เซท เซทละ 4 - 6 Reps
อาทิต์ที่สอง : Rep Range
เป้าหมายหลักของอาทิตย์นีั้คือ การกดดันอย่างหนักไปที่เส้นใยกล้ามเนื้อชนิดปานกลาง ( Intermediary fiber types ) โดยเส้นใยกล้ามเนื้อชนิดปานกลางที่ว่านี้ พาดเป็นแนวยาว อยู่ตรงกลางระหว่างเส้นใยกล้ามเนื้อ รูปแบบที่ 1 กับเส้นใยกล้ามเนื้อ รูปแบบที่ 2 ในกล้ามเนื้อของเราทุกคน
สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ใช้ 3 เทคนิคให้ครบ สำหรับกล้ามเนื้อแต่ละส่วน โดยแต่ละเทคนิคนั้น ให้จัดเป็น 1 ท่าบริหาร
ท่าบริหารท่าแรก คุณต้องบริหารจนหมดแรงจริงๆ ในช่วง 7 - 9 Reps โดยให้ใช้ Free Weight และบริหารด้วยท่าแบบ Compound
ท่าบริหารท่าที่สอง คุณต้องบริหารจนหมดแรงจริงๆ ในช่วง 10 - 12 Reps โดยให้ใช้ Free Weight และบริหารด้วยท่าแบบ Isolate
ท่าบริหารท่าที่สาม ( ท่าสุดท้าย ) คุณต้องบริหารจนหมดแรงจริงๆ ในช่วง 13 - 15 Reps โดยให้ใช้ อุปกรณ์เคเบิล หรือ เครื่อง Machine
พักระหว่างเซท 2 - 3 นาที
ใช้จังหวะบริหารเป็นรหัส : 2/1/2/1
ข้างล่างนี้คือตัวอย่างตารางฝึกสำหรับบริหารกล้ามบ่าและหัวไหล่
Military Press 4 เซท เซทละ 7 - 9 Reps
Seated Lateral Raise 3 เซท เซทละ 10 - 12 Reps
Reverse pec deck flyes 2 เซท เซทละ 13 - 15 Reps
อาทิต์ที่สาม : Shock
ในความคิดส่วนตัวของผม ผมบอกได้เลยว่าในช่วงที่ผ่านมาทั้งหมดนั้น อาทิตย์ที่สาม ( คือ Shock ) นี้แหละ คืออาทิตย์ที่ "โหดที่สุด" , ทำความทุกข์ทรมานให้กับกล้ามเนื้อของคุณมากที่สุดแล้ว / ความโหดที่เกิดจากอาทิตย์นี้ จะบอกคุณได้ว่าคุณเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว หรือยังเป็นแค่เด็กน้อยอยู่ / ถ้าคุณทนความเจ็บปวดในอาทิตย์นี้ได้ นั่นก็แสดงว่าคุณไม่ใช่เด็กขี้แย ไม่ใช่เด็กใจเสาะแล้ว คุณเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว
การฝึกในอาทิตย์นี้จะเร่งเร้าให้เส้นใยกล้ามเนื้อทุกประเภท ไล่ตั้งแต่เส้นใยกระตุกช้า ไปเส้นใยกระตุกเร็ว และในส่วนของเส้นใยกระตุกเร็ว มันก็จะกระตุ้นไปถึง type 2A และ 2B และ 2 As ด้วยเลย
การบริหารในอาทิตย์นี้ คือการบีบบังคับให้ระบบประสาทของคุณ หลั่ง Growth Hormone ออกมาราวกับน้ำที่ไหลออกจากเขื่อนที่กำลังแตกเลยทีเดียว
ในกล้ามเนื้อชิ้นหลักๆที่นำมาบริหาร จะต้องถูกบริหารด้วย 2 เทคนิคร่วมกัน คือเทคนิค ซูเปอร์เซท และเทคนิค Dropsets / อธิบายได้ดังนี้คือ
ตอนแรกให้ใช้เทคนิคซูเปอร์เซทก่อน โดยใช้เทคนิคซูเปอร์เซทอันนี้ในรูปแบบของ Preexhaust กล่าวคือ ซูเปอร์เซทในเซทแรก ให้เริ่มต้นบริหารด้วยท่าแบบ Isolate ก่อน / แล้วต่อด้วยท่าแบบ Compound ทันที
ซูเปอร์เซทในเซทที่สอง จะทำ "กลับกัน" กับซูเปอร์เซทแรก คือให้เริ่มต้นบริหารด้วยท่าแบบ Compound ก่อน / แล้วต่อด้วยท่าแบบ Isolate ทันที
พอคุณทำซูเปอร์เซท เซทแรก ( ที่เอา Isolate ขึ้นก่อน แล้วตามด้วย Compound ) และซูเปอร์เซท เซทที่สอง ( ที่เอา Compound ขึ้นก่อน แล้วตามด้วย Isolate ) ก็ให้คุณบริหารต่อด้วยเทคนิค Dropsets
ในการบริหารแต่ละเซท จะบริหารในจำนวน 8 - 10 Reps
ใช้จังหวะบริหารเป็นรหัส : 1/0/1 ซึ่งก็คือใช้เวลา 1 วินาทียกลูกน้ำหนักขึ้น และ 1 วินาทีหย่อนลูกน้ำหนักลง และเมื่อยกน้ำหนักขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้ว ก็หย่อนลูกน้ำหนักลงโดยไม่มีการหยุดพักทั้งที่จุดสูงสุด และที่จุดต่ำสุด
ให้พักระหว่างเซทให้นานพอที่จะทำให้ลมหายใจของคุณ หายหอบ และเข้าสู่ภาวะการหายใจตามปกติ และทำให้จิตใจของคุณพร้อมสำหรับการทำเซทถัดไป
ให้ใช้อุปกรณ์ Free Weight และ อุปกรณ์เคเบิล และ เครื่อง Machine
ข้างล่างนี้คือตัวอย่างตารางฝึกสำหรับบริหารกล้ามไทรเซบ
* * * ทำซูเปอร์เซทแรก ด้วยสองท่าข้างล่างนี้
Rope pushdowns 2 เซท เซทละ 8 - 10 Reps
Lying extension 2 เซท เซทละ 8 - 10 Reps
* * * ต่อด้วยการทำซูเปอร์เซทที่สอง ด้วยสองท่าข้างล่างนี้
Close-grip bench presses 2 เซท เซทละ 8 - 10 Reps
Undergrip pushdowns 2 เซท เซทละ 8 - 10 Reps
* * * ต่อด้วยการทำ drop set ด้วยท่าข้างล่างนี้
One-arm overhead dumbbell extensions 1 เซท เซทละ 8 - 10 Reps ( 6 - 8 )
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
หลังจากที่คุณได้บริหารครบ 3 อาทิตย์แล้ว ซึ่งก็หมายถึงว่า คุณผ่านครบ 1 วงรอบ อันประกอบไปด้วย Power + Rep Range + Shock
ก็ให้ทำวงรอบที่สอง โดย "ทำซ้ำกับวงรอบแรก" ใหม่ทั้งหมด คือเริ่มอาทิตย์ที่ 4 ด้วย Power / เริ่มอาทิตย์ที่ 5 ด้วย Rep Range / เริ่มอาทิตย์ที่ 6 ด้วย Shock ( ในวงรอบที่สองนี้ คุณอาจเพิ่มปริมาณน้ำหนักที่ใช้ ให้หนักขึ้น รวมไปถึงสามารถเพิ่มจำนวน Reps ให้มากกว่าวงรอบแรกก็ได้ )
จากนั้น ก็ทำวงรอบที่สาม โดย "ทำซ้ำกับวงรอบที่สอง" เช่นกัน คือเริ่มอาทิตย์ที่ 7 ด้วย Power / เริ่มอาทิตย์ที่ 8 ด้วย Rep Range / เริ่มอาทิตย์ที่ 9 ด้วย Shock ( ในวงรอบที่สามนี้ คุณอาจเพิ่มปริมาณน้ำหนักที่ใช้ ให้หนักขึ้น รวมไปถึงสามารถเพิ่มจำนวน Reps ให้มากกว่าวงรอบที่สองก็ได้ )
* * * เมื่อทำครบ 3 วงรอบข้างบนนี้แล้ว ก็ให้พักเต็มๆ 1 อาทิตย์ - คือหมายความว่า ในอาทิตย์ที่ 10 คุณไม่ต้องเดินเข้าโรงยิมเลย * * *
พอขึ้นอาทิตย์ที่ 11 ที่คุณกลับมาบริหารที่โรงยิมนั้น คุณก็เริ่มจากวงรอบที่ 1 ใหม่อีกครั้ง แล้วก็ไปวงรอบที่ 2 แล้วก็ไปวงรอบที่ 3 แล้วก็พักเฉยๆ 1 อาทิตย์ วนแบบนี้ไปเรื่อยๆ
โดยตั้งแต่อาทิตย์ที่ 11 นี้ คุณอาจเปลี่ยนท่าบริหารบางท่า หรือเปลี่ยนท่าบริหารทั้งหมดไม่ให้ซ้ำที่บริหารในอาทิตย์ที่ 1 ถึงอาทิตย์ที่ 3 ก็ได้
ทิ้งท้าย - ถ้าคุณเล่นกล้ามจนถึงจุดที่คุณรู้สึกว่ากล้ามเนื้อมันพัฒนาช้า หรือหยุดชะงักงันแล้วล่ะก็ ให้คุณหนีปัญหาเหล่านี้ ( หนีปัญหากล้ามหยุดชะงักงัน ) ด้วยการใช้เทคนิค Power / Rep Range / Shock ที่ผมแนะนำคุณในครั้งนี้ ซึ่งเปรียบได้กับการที่คุณได้ตั๋วเฟิร์ส คลาส สำหรับการเดินทางไปสู่ดินแดนแห่งมัดกล้ามเลยล่ะครับ
- END -
Labels:
หมวด-6-เทคนิคฝึก