Wednesday, April 8, 2020

SAME WEIGHT SETS


  SAME WEIGHT SETS

ใช้อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบาก็สามาถฝึกหนักได้

       ยุทธวิธีนี้นับว่าเป็นเทคนิคการเพาะกายขั้นสูง ที่ผู้ฝึกใช้อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเท่ากันทุกเซ็ต ภายในเซ็ตเดียวกัน เทคนิคนี้ สามารถทำให้การฝึกเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งที่ยังคงใช้อุปกรณ์ฝึก ที่มีน้ำหนักคงเดิม รูปแบบของการฝึกมี 3 วิธี ดังนี้


SAME-REP METHOD

       
ผู้ฝึกเริ่มอุ่นเครื่องเบา ๆ ก่อน แล้วเริ่มฝึกเซ็ตแรก ใช้อุปกรณ์ที่มีน้ำหนัก พอที่ทำให้ผู้ฝึก สามารถฝึกได้ครบจำนวนครั้ง ที่กำหนด ด้วยการออกแรงต้านปานกลาง พักเซ็ต 1-2 นาที แล้วเริ่มเซ็ตใหม่ ใช้อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเท่าเดิม ฝึกจำนวนครั้งเท่าเดิม  ฝึกจนครบเซ็ต

       จำนวนครั้งที่กำหนดในที่นี้ หมายถึง จำนวนครั้ง ที่ผู้ฝึกเกือบจะฝึกต่อไปไม่ไหวในแต่ละเซ็ต แต่ไม่ได้หมายถึง จำนวนครั้งที่ผู้ฝึก ไม่สามารถฝึกต่อไปได้อย่างแท้จริง

       ต่อเมื่อเวลาผ่านไป 2-3 สัปดาห์ ผู้ฝึกจึงเพิ่มน้ำหนัก ของอุปกรณ์ขึ้นอีกเล็กน้อย โดยคงจำนวนครั้งเท่าเดิม

       นักเพาะกายเฉกเช่น แกรี สไตรดอม เอ็ดดี โรบินสัน และรอบบี โรบินสัน นิยมฝึกด้วยเทคนิคนี้ จนร่างกายบึกบึน


ASCENDING REPS

       นักเพาะกายผู้มีดีกรี เป็นถึงมิสเตอร์ ยูนิเวิร์ส และมิสเตอร์เวิร์ด อย่างเชอร์จ นูเบรต สามารถสร้างรูปลักษณ์ ที่คงความหนุ่มแน่นด้วยเทคนิคนี้ แม้ว่าจะผ่านพ้นวัย 50 ปี แล้วก็ตาม

       โดยกลวิธีนี้ผู้ฝึกจะค่อย ๆ เพิ่มความเข้มข้นของแต่ละเซ็ต ทีละน้อย ดังนั้น เชม เวต เซ็ต แบบเออเซ้นดิง เร็ป จึงเป็นวิธีฝึก ที่ปลอดภัยต่อการบาดเจ็บมากที่สุด และนับว่า เป็นเทคนิคที่เป็นหลักประกัน ต่อความก้าวหน้า และความยืนยาว ในชีวิตการฝึกเพาะกายได้เป็นอย่างดี

       
ผู้ฝึกใช้อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักพอที่จะฝึกได้ถึง 20 ครั้ง แต่เริ่มฝึกเซ็ตแรก 10 ครั้ง แล้วเพิ่มจำนวนครั้งขึ้นเรื่อย ๆ ทุกเซ็ต เรียงลำดับดังนี้ 12, 15 และ18 ใช้อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเท่าเดิมทุกเซ็ต 


DESCENDING REPS

       
เป็นเทคนิคที่ตรงข้ามกับการเพิ่มจำนวนครั้ง

       สตีฟ บริสบอยส์ และเดวิด ฮอว์ค ใช้เทคนิคนี้ ซึ่งเป็นวิธีฝึกอย่างเข้มข้น แต่ในขณะเดียวกัน เอ็นและข้อต่อ มีโอกาสเสี่ยงต่อสภาวะบาดเจ็บน้อยมาก เนื่องจากอุปกรณ์ฝึก มีน้ำหนักไม่มากนัก

       เทคนิคนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ความเข้มข้นของการฝึกต่างหาก ที่สร้างกล้ามเนื้อ หาใช่อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากไม่

       วิธีฝึก เริ่มด้วยอุปกรณ์ที่มีน้ำหนัก พอที่ผู้ฝึกสามารถฝึกได้มากที่สุด 12-20  ครั้ง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ จำนวนครั้งและน้ำหนักของอุปกรณ์ฝึก ที่ผู้ฝึกเลือก ในแต่ละเซ็ต ผู้ฝึกต้องฝึกด้วยจำนวนครั้ง ที่มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เมื่อใช้อุปกรณ์นั้น ๆ   ดังนั้นจำนวนครั้ง จึงลดลงเรื่อย ๆ ในแต่ละเซ็ต ยกตัวอย่างเช่น ผู้ฝึกคนหนึ่ง ฝึกเซ็ตแรก ด้วยจำนวนครั้งที่เขา สามารถฝึกได้สูงสุด 15 ครั้ง จำนวนครั้งของแต่ละเซ็ต จึงเรียงลำดับดังนี้ 15, 12, 9 และ 6 ครั้ง

       จำนวนครั้งที่แตกต่างกันนี้แหละ คือ ข้อดีของเทคนิคนี้


END -