ร่างกายของเรามีกลไกในการกำจัดหรือเก็บสะสมของพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเกินความต้องการใน 4 รูปแบบ
A. ร่างกายเราจะเอาไปใช้เป็นพลังงานเพิ่ม ถ้าเราเอาพลังงานส่วนเกินตรงนี้ไปใช้ทั้งหมดในกิจกรรมต่างๆ เช่นออกกำลัง น้ำหนักของเราก็จะไม่เพิ่ม
B. ถ้าเราใช้ไม่หมดในกิจกรรม หรือออกกำลัง พลังงานส่วนเกินจุดนี้จะไปสะสมเป็นไขมัน ในเซลล์ไขมัน ( Adipose tissue )
C. หรืออาจจะนำไปใช้สร้าง Lean tissue ดังนั้นถ้าเราต้องการสร้างกล้ามเนื้อเราก็เพิ่มพลังงานจากอาหาร
D. สิ่งที่แย่สุดอยู่ตรงนี้ เมื่อพลังงานส่วนเกินสะสมในรูปในเซลล์ไขมันเต็มจนรับไม่ไหวแล้ว ไขมันจะเริ่มไปสะสม ( Ectopic fat deposition ) ในรูป Visceral fat , หรือสะสมในอวัยวะต่างๆ เช่น ไขมันพอกตับ ( Hepatic steatosis ) , ไขมันสะสมในช่องท้อง ( Visceral adiposity ) , ไขมันในหัวใจ ( Cardiac steatosis ) หรือ ตับอ่อน ( Pancreatic streatosis )
ปล. Adipose tissue เรียกง่ายๆว่า body fat พบได้ทั่วไปในร่างกายในรูปไขมันใต้ผิวหนัง ( subcutaneous fat ) หรือสะสมในอวัยวะต่างๆในรูป visceral fat, ระหว่างกล้ามเนื้อ ภายในไขกระดูก หรือในเนื้อเยื่อเต้านม
Ectopic fat deposition คือ ไขมันส่วนเกินที่สะสมในรูปของไตรกลีเซอไรด์ที่ใน non-adipose tissue ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน หรือ เบาหวานประเภทที่ 2 นอกจากนี้ไขมันในช่องท้อง (visceral fat) / ภายในช่องท้อง (intra-abdominal fat) ที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ของ Ectopic fat deposition
การอ้างอิง
Britton, K.A., & Fox, C.S. (2011). Ectopic fat depots and cardiovascular disease. Circulation, 124(4), 837-841. https://doi/full/10.1161/circulationaha.111.077602
Lettner, A., & Roden, M. (2008). Ectopic fat and insulin resistance. Current diabetes reports, 8(3), 185–191. https://doi.org/10.1007/s11892-008-0032-z
RN5504 Nutrition and Health through the Life Stages lecture, Clinical Nutrition, University of Aberdeen
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/JPplantbasednutrition/photos/a.316194400236512/230824552106831/?type=3
A. ร่างกายเราจะเอาไปใช้เป็นพลังงานเพิ่ม ถ้าเราเอาพลังงานส่วนเกินตรงนี้ไปใช้ทั้งหมดในกิจกรรมต่างๆ เช่นออกกำลัง น้ำหนักของเราก็จะไม่เพิ่ม
B. ถ้าเราใช้ไม่หมดในกิจกรรม หรือออกกำลัง พลังงานส่วนเกินจุดนี้จะไปสะสมเป็นไขมัน ในเซลล์ไขมัน ( Adipose tissue )
C. หรืออาจจะนำไปใช้สร้าง Lean tissue ดังนั้นถ้าเราต้องการสร้างกล้ามเนื้อเราก็เพิ่มพลังงานจากอาหาร
D. สิ่งที่แย่สุดอยู่ตรงนี้ เมื่อพลังงานส่วนเกินสะสมในรูปในเซลล์ไขมันเต็มจนรับไม่ไหวแล้ว ไขมันจะเริ่มไปสะสม ( Ectopic fat deposition ) ในรูป Visceral fat , หรือสะสมในอวัยวะต่างๆ เช่น ไขมันพอกตับ ( Hepatic steatosis ) , ไขมันสะสมในช่องท้อง ( Visceral adiposity ) , ไขมันในหัวใจ ( Cardiac steatosis ) หรือ ตับอ่อน ( Pancreatic streatosis )
ปล. Adipose tissue เรียกง่ายๆว่า body fat พบได้ทั่วไปในร่างกายในรูปไขมันใต้ผิวหนัง ( subcutaneous fat ) หรือสะสมในอวัยวะต่างๆในรูป visceral fat, ระหว่างกล้ามเนื้อ ภายในไขกระดูก หรือในเนื้อเยื่อเต้านม
Ectopic fat deposition คือ ไขมันส่วนเกินที่สะสมในรูปของไตรกลีเซอไรด์ที่ใน non-adipose tissue ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน หรือ เบาหวานประเภทที่ 2 นอกจากนี้ไขมันในช่องท้อง (visceral fat) / ภายในช่องท้อง (intra-abdominal fat) ที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ของ Ectopic fat deposition
การอ้างอิง
Britton, K.A., & Fox, C.S. (2011). Ectopic fat depots and cardiovascular disease. Circulation, 124(4), 837-841. https://doi/full/10.1161/circulationaha.111.077602
Lettner, A., & Roden, M. (2008). Ectopic fat and insulin resistance. Current diabetes reports, 8(3), 185–191. https://doi.org/10.1007/s11892-008-0032-z
RN5504 Nutrition and Health through the Life Stages lecture, Clinical Nutrition, University of Aberdeen
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/JPplantbasednutrition/photos/a.316194400236512/230824552106831/?type=3
- จบ -