ต่อมใต้สมองส่วนกลาง สำคัญอย่างไรในมนุษย์ ?
ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ( pars intermedia หรือ Intermediate lobe ) ส่วนใหญ่ในมนุษย์ต่อมนี้ไม่ทำงาน ฝ่อไปแล้ว แต่ในสัตว์พบว่าต่อมใต้สมองส่วนกลาง และคอร์ติโคโทรฟ ( corticotroph ) ของต่อมใต้สมองส่วนหน้าสามารถสร้างโมเลกุลตั้งต้น ซึ่งถูกตัด ( cleaved ) เป็นฮอร์โมนได้หลายตัว รู้จักในชื่อโพรโอพิโอเมลาโนคอร์ติน ( proopiomelanocortin เรียกย่อว่า POMC ) และสร้างได้ที่ไฮโพทาลามัส ปอด กระเพาะ ลำไส้ และรก
ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง คือ เมลาโนไซท์ สติมูเลติง ฮอร์โมน ( melanocyte stimulating hormone เรียกย่อว่าMSH ) สร้างจากเซลล์เมลาโนไซท์ ( melanotropic cell )
ในพาร์สอินเตอร์มีเดียของต่อมใต้สมอง เป็นพอลิเปปไทด์ฮอร์โมนประกอบด้วยกรดอะมิโน 35 - 41 หน่วย ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีเมลานิน (melanin pigment ) ที่ผิวหนัง โดยกระตุ้นการกระจาย ของเมลานิน ( melanin ) ในเมลาโนไซท์ ( melanocyte ) ถ้าขาด MSH ผิวหนังจะซีดขาว ถ้า MSH มากเกินไปผิวหนังจะเข้มดำ
มีบางรายงานได้กล่าวถึงบทบาทของMSH ว่ากดความรู้สึกเจริญอาหารในสมอง โดยพบว่าผู้ที่อ้วนมากๆ จะมีการผ่าเหล่าหรือมีสารพันธุกรรมที่สร้าง MSH เปลี่ยนไป ส่วนหน้าที่อื่นๆยังไม่ทราบแน่ชัด
และเนื่องจากในมนุษย์ต่อมใต้สมองส่วนนี้ฝ่อไปแล้ว ดังนั้น MSH ที่ตรวจได้จึงเป็นเปปไทด์ที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าที่ได้จากการสลาย ACTH
ในเซลล์คอร์ทิโคโทรฟ ( corticotroph ) การสังเคราะห์ POMC จะถูกเปลี่ยนเป็น ACTH และเบตาไลโปโทรฟิน ( β- lipotrophin : β -LPH ) และบางส่วนของเบตา เอนดอร์ฟิน ( β – endorphin ) มีฤทธิ์เป็นสารกล่อมประสาท และมีการสร้างเมลาโนโทรปิน แอลฟา ( melanotropins a ) และ เบตา เอ็ม เอส เอซ ( β MSH ) ทั้งα -MSH และ β- MSH ไม่พบในมนุษย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter2/chapter2.4.htm
Thursday, May 23, 2024
Melanocyte stimulating hormone-MSH
- จบ -