Tuesday, May 21, 2024

Lipoprotein Lipsae ( LPL )-ไลโปโปรตีนไลเปส

 



ไลโปโปรตีนไลเปส กุญแจสำคัญของการปลดล็อคไขมันส่วนเกินในร่างกาย 

       Lipoprotein Lipsae ( LPL ) : ไลโปโปรตีนไลเปส คือ เอ็นไซม์ที่สลาย/ย่อยโมเลกุลไตรกลีเซอไรด์ที่อยู่ในไลโปโปรตีนในเลือด เช่น VLDL, IDL และ Chylomicrons ( เราเรียกกลุ่มนี้ว่า Triglyceride-rich lipoproteins : TRLs ) ที่ขนส่งมากับไลโปโปรตีนเหล่านี้ ให้เป็นกรดไขมัน ( Free Fatty acids ) และ monoacylglycerol เพื่อให้เซลล์ที่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายนำไปใช้เป็นพลังงาน 

       อวัยวะที่มี LPL activity เด่น ๆ ได้แก่ เซลล์กล้ามเนื้อลาย เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ และ เนื้อเยื่อไขมัน เป็นต้น 

       ในคนที่กินน้ำตาล หรือ กินอาหารประเภทคาร์บมาก ๆ สูง ๆ บ่อย ๆ พบว่า ที่เซลล์ไขมันจะมี LPL activity สูงมากขึ้น จึงทำให้มีการสะสมไขมัน ( ไตรกลีเซอไรด์ ) จาก VLDL & Chylomicrons มากนั่นเอง 

.
ปัจจัยที่ส่งเสริมการทำงานของ LPL ( LPL activity ) 

       ปัจจุบันนี้ เราพบว่ามีปัจจัยที่ทำให้ LPL สลายไตรกลีเซอไรด์ แล้วส่งต่อไปที่เซลล์ต่าง ๆ นั้น มากขึ้น หรือ ลดลง หลายปัจจัย โดยที่สำคัญนั้น ได้แก่


การงดกินเป็นบางช่วงเวลา 

       ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ดึงเอาไตรกลีเซอไรด์ไปใช้ได้มากขึ้น เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนเซลล์ไขมัน ( Adipose tissues ) เมื่อเรา fast พบว่า LPL activity ที่เซลล์ไขมันจะลดลง จึงชะลอการเก็บไขมันสะสมในเนื้อเยื่อไขมัน 


Exercise : การออกกำลังกาย 

       ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อลาย ดึงไขมันไปใช้ได้มากขึ้น 


Cold_temperature : อากาศเย็น 

       อากาศเย็นทำให้ไขมันดึงไปใช้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะที่เซลลืไขมันสีน้ำตาล ( Brown Adipose tissues ) ที่มีบทบาทในการเพิ่มการเผาผลาญในร่างกาย ( Thermogenesis ) 


Inflammation/LPS/Cytokines : การอักเสบในร่างกาย 

       การอักเสบ สารกระตุ้นการอักเสบจากเม็ดเลือดขาว สาร Lipopolysaccharides ( LPS ) จากแบคทีเรียแกรมลบที่พบบ่อยในผู้ที่มีภาวะ Gut Dysbiosis/Leaky Gut Syndrome ทำให้ร่างกายดึงไขมันไปใช้ได้ลดลง จึงสะสมมากขึ้นนั่นเอง 



บทสรุป  

       การลดไขมันสะสมในร่างกาย หรือ แม้แต่การลดไขมันในเลือด ทั้ง #ไตรกลีเซอไรด์ และ คอเลสเตอรอลส่วนเกิน ( Remnant Cholesterol : RC ) จึงต้องเข้าใจกลไกที่สำคัญของร่างกายเหล่านี้อย่างดี แล้วปรับทำตาม ไม่ว่าจะเป็นการทำ Intermittent Fasting ( IF ), Exercise, Nutrition Plan : Low Carbohydrates diet เสริมสารต้านอนุมูลอิสระ & การลดภาวะ Inflammation นั่นเอง 



ารอ้างอิง 

       Kersten S. Physiological regulation of lipoprotein lipase. Biochim Biophys Acta. 2014 Jul;1841(7):919-33. doi: 10.1016/j.bbalip.2014.03.013. Epub 2014 Apr 8. 




ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/morlorkorlao/photos/ไลโปโปรตีนไลเปส-กุญแจสำคัญของการปลดล็อคไขมันส่วนเกินในร่างกาย-lipoprotein-lipsae/2302140626753675/?paipv=0&eav=AfZMlTx6DCoIC-ddwnJtmi9nGUSbqGalthkNiiyhSiGv8NnbTcvChRePwOfShqVHBz8&_rdr 


- จบ -