รังสีอัลตราไวโอเลต ( UV ) คืออะไร ประโยชน์และโทษต่อร่างกาย
รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสี uv คือ รังสีธรรมชาติที่มีแหล่งกำเนิดส่วนใหญ่มาจากดวงอาทิตย์ ประกอบด้วย uva uvb และ uvc บทความนี้เราจะทำให้คุณรู้จักรังสี uv มากขึ้น
รังสีอัลตราไวโอเลต ( Ultraviolet Radiation : UV ) เป็นรังสีที่มาพร้อมกับ แสงแดด ในชีวิตประจำวัน หลายๆคนมีความเชื่อว่า เป็นรังสีที่อันตรายต่อชั้นผิวหนัง และควรหลีกเลี่ยงอย่างมาก ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นจริงหรือ?
รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) คือ รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 100 - 400 นาโนเมตร ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากช่วงความยาวคลื่นไม่ถึงช่วง Visible Light ที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ จึงทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า รังสีเหนือม่วง นั่นเอง
ดังนั้น บทความนี้ จึงจะมาไขข้อเท็จจริงให้กระจ่างว่า ความจริงแล้ว อัลตราไวโอแลต คืออะไร มาจากที่ไหน และมีประโยชน์ หรือ ผลกระทบอะไรบ้าง ไปชมได้พร้อมๆกันที่นี่
รังสีอัลตราไวโอเลต มีประเภทอะไรบ้าง
แสงอัลตราไวโอเลต หรือ รังสี uv คือ รังสีธรรมชาติที่มีแหล่งกำเนิดส่วนใหญ่มาจากดวงอาทิตย์เป็นหลัก แต่ถึงอย่างนั้น มนุษย์ก็ยังสามารถสร้างรังสีนี้ขึ้นเองได้ เช่น จากการทำให้วัตถุนั้นๆ มีอุณหภูมิสูงขึ้น จนมากกว่า 2,500 องศาเคลวิน ก็จะสามารถปล่อยรังสีไวโอเลตออกมาได้
คลื่นอัลตราไวโอเลต แยกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ UVA UVB คือ รังสีที่เรามักจะพบได้ในชีวิตประจำวัน ส่วน UVC จะเป็นรังสีอันตรายที่ถูกกั้นเอาไว้ในชั้นบรรยากาศ เราจึงไม่ได้สัมผัสกับรังสีนี้ในชีวิตประจำวัน โดยรังสีแต่ละชนิด มีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้
* * * รังสี UVB ( Middle UVR หรือ Sunburn radiation ) ความยาวคลื่นจะอยู่ที่ประมาณ 290 - 320 นาโนเมตร พบได้ 18% ของแสงแดดที่ส่องลงมายังพื้นโลก ทำให้รังสีชนิดนี้ มีอำนาจในการทะลุเข้าสู่ชั้นผิวหนังกำพร้าและผิวหนังแท้ชั้นบน ส่งผลให้เกิดอาการผิวไหม้แดด แสบร้อน เกิดการระคายเคืองผิว และไวต่อแสงมากขึ้น เป็นต้น
* * * รังสี UVC ( Short wave UVR หรือ Germicidal radiation ) จะมีความยาวคลื่นประมาณ 200 - 290 นาโนเมตร ซึ่งเป็นรังสีคลื่นสั้นที่มักจะถูกดูดซับในชั้นบรรยากาศโอโซนไปทั้งหมด จึงทำให้ไม่มีรังสี UVC ส่องลงมายังพื้นโลกได้
ถึงแม้ว่าในตอนนี้จะยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ แต่ถ้าหากชั้นบรรยากาศไม่สามารถดูดซับรังสีชนิดนี้ไว้ได้ทั้งหมด ก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังเป็นอย่างมาก และอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย
พฤติกรรมอะไรที่ทำให้เราได้รับรังสี uv มากเกินไป
จากข้อมูลข้างต้น จะทำให้เราพอรู้แหล่งกำเนิด หรือลักษณะรังสีอัลตราไวโอเลตแต่ละชนิดไปแล้ว ในตอนนี้เราจะมาสังเกตพฤติกรรมของตนเองกันดูว่า มีพฤติกรรมอะไรบ้างที่อาจทำให้เราเสี่ยงต่อการเผชิญหน้ากับรังสียูวีเหล่านี้มากเกินไปโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งพฤติกรรมที่เข้าข่ายมีลักษณะดังนี้
1. ทำกิจกรรมท่ามกลางแสงแดดเป็นระยะเวลานาน หรือ ทั้งวัน
2. ไปยังสถานที่ หรือ อยู่อาศัยในพื้นที่อากาศร้อนจัด เช่น ทะเล
3. ไม่ทาครีมกันแดดปกป้องผิวก่อนออกจากที่พักอาศัยอย่างเป็นประจำ
4. ไม่มีการดูแล บำรุงรักษาผิวให้แข็งแรง เมื่อผิวอ่อนแอลง ก็จะทำให้ไวต่อแสงแดดและถูกทำลายได้ง่ายขึ้น
5. คนที่ต้องนั่งทำงานใกล้บริเวณหน้าต่าง หรือกระจก เพราะรังสีบางชนิดสามารถทะลุกระจกเข้ามาได้
6. คนที่จำเป็นต้องทำงานกับเครื่องถ่ายเอกสารเป็นระยะเวลานาน หรือทุกๆวัน เพราะหลอดฟลูออเรสเซนท์ที่อยู่ภายในเครื่องถ่ายเอกสาร สามารถปล่อยแสงอัลตราไวโอเลตได้
7. ผู้ที่ใช้หลอดไฟประเภทฮาโลเจน ( Halogen Lamp ) ฟลูออเรสเซนท์ ( Fluorescent Light ) ความเข้มของแสงระดับสูง และหลอดยูวีฆ่าเชื้อโรค ( Germicide Lamp )
8. ไม่มีการใช้อุปกรณ์เสริมช่วยเหลือขณะออกไปทำกิจกรรมกลางแสงแดด เช่น หมวกกันแดด แว่นตากันแดด หรือเสื้อคลุมกันแดด เป็นต้น
ประโยชน์รังสีอัลตราไวโอเลต
ถึงแม้ว่ารังสีอัลตราไวโอเลต จะเป็นรังสีที่ทุกๆคนมักจะหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญ และดูเหมือนว่าก็สามารถทำร้ายผิวของเราได้ แต่ในอีกมุมหนึ่งที่น้อยคนจะกล่าวถึง คือ ความเป็นจริงแล้ว รังสีอัลตราไวโอเลต ก็ยังมีประโยชน์อยู่เช่นกัน โดยหากได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะทำให้มีประโยชน์ ดังนี้
* * * ช่วยกระตุ้นการสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย
* * * สามารถนำรังสีอัลตราไวโอเลตไปรักษาโรคกระดูกและโรคผิวหนังบางชนิดได้ เช่น โรคด่างขาว โรคสะเก็ดเงิน โรคกระดูกอ่อนในเด็ก ฯลฯ
* * * เป็นแบล็กไลต์ ( blaอออออck light ) เพื่อตรวจเอกสารสำคัญ
* * * ใช้ในการวิเคราะห์แร่ต่างๆได้
* * * ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคภายในน้ำดื่ม อาหาร หรือเครื่องมือต่างๆ
* * * นำรังสีอัลตราไวโอเลตมาประยุกต์ใช้ในทางการเกษตรได้
อันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลต
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า รังสีอัลตราไวโอเลตอาจทำให้เกิดผลกระทบต่างๆขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น…
* * * เกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร ผิวหนังเหี่ยวย่น
* * * ผิวคล้ำแดด ผิวไหม้แดด หน้าหมองคล้ำ
* * * หน้าเป็นฝ้า เกิดจุดด่างดำ ฝ้าแดง ฝ้าแดด กระ
* * * ภาวะสิวผด
* * * ผิวไวต่อแสงมากขึ้น
* * * เกิดอาการแพ้แสงแดด ระคายเคือง
* * * มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
* * * เมื่อสัมผัสกับดวงตาโดยตรง จะทำให้เกิดโรคต้อเนื้อ โรคต้อกระจก เยื่อบุตาและกระจกตาอักเสบ
* * * ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต
ก่อนที่ผิวจะโดนทำร้ายไปมากกว่านี้ ทาง Bioderma ขอแนะนำวิธีการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตฉบับง่ายๆ มาฝากทุกๆคนกัน ได้แก่…
* * * หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นระยะเวลานานจนเกินไป โดยเฉพาะเวลา 10.00 - 16.00 น. ที่เป็นช่วงแสงแดดแรงที่สุด
* * * แต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าที่คลุมผิวในส่วนต่างๆไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรง
* * * ใช้อุปกรณ์เสริม เช่น การใช้ร่ม แว่นตากันแดด หมวก เสื้อคลุมกันแดด
แต่สิ่งที่จะเป็นตัวช่วยในการปกป้องผิวได้ดีที่สุด ไม่ให้เกิด ฝ้ากระจุดด่างดำ คือ การใช้ครีมกันแดดที่สามารถป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB อย่างเป็นประจำ เพราะรังสีอัลตราไวโอเลต คุณสมบัติของแต่ละชนิดแตกต่างกัน จึงทำให้จำเป็นต้องเลือกครีมกันแดดที่มีค่า spf กับ ค่า pa อย่างเหมาะสม
โดยค่า Spf คือ ค่าที่บ่งบอกถึงระดับความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต ชนิดยูวีบี( UVB ) ไม่ให้เข้ามาทำให้ผิวไหม้แดด ระคายเคือง หรือเกิดรอยแดงได้ ส่วน pa คือ ค่าที่ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต ชนิดยูวีเอ( UVA ) ไม่ให้ผิวเกิดการเหี่ยวย่น จุดด่างดำ ฝ้า กระ ริ้วรอยต่างๆ รวมไปจนถึงลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย
สรุป
รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มนุษย์อย่างเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ UVA UVB และ UVC ซึ่งแต่ละชนิดของรังสีอัลตราไวโอเลต คุณสมบัติแตกต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องเลือกใช้ครีมกันแดดที่สามารถปกป้องได้อย่างครอบคลุม เพื่อไม่ให้ผิวถูกทำลายจนมีสภาพที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง
หากคุณกำลังตามหาครีมกันแดดที่สามารถปกป้องผิวของคุณจากรังสี UVA และ UVB ได้อย่างครบถ้วน และไม่ตกค้างสะสมหรือเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมแล้วหล่ะก็ ทาง Bioderma ขอเสนอครีมกันแดด Photoderm Aquafluide และครีมกันแดด Photoderm Cover Touch
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.bioderma.co.th/your-skin/skin-and-sun/ultraviolet