Sunday, July 18, 2021

เกร็ดความรู้ อาทิตย์ที่ 8 A

 

   


ต้องมีสมาธิในการเล่นกล้าม


      สิ่งที่นักเพาะกายระดับมืออาชีพทุกคนระลึกได้อยู่เสมอก็คือวลีที่ว่า "จิตใจกับกล้ามเนื้อมีปฏิสัมพันธ์กัน" ซึ่งเป็นหลักความจริงทางวิทยาศาสตร์    ถึงแม้ว่านักเพาะกายจะมีแผนการทานอาหารที่ดีเลิศ ,นอนหลับได้วันละ 8 ชั่วโมงตามตำรา ,มีการเซฟแรงไม่ยอมทำอย่างอื่นเลย เก็บแรงนั้นไว้เล่นกล้ามอย่างเดียว ซึ่งทุกอย่างที่ว่ามานี้ มีผลดีมากๆต่อการเล่นกล้าม แต่ พอถึงเวลาเอาจริงที่โรงยิม ทุกอย่างที่ลงทุนทำมาอย่างดีทั้งวัน อาจพังทลายลงได้เพียงแค่เราขาดสมาธิในการฝึก ( Webmaster - ไม่ได้พูดถึงการบาดเจ็บนะครับ เอาแค่เรื่องการเพ่งสมาธิอย่างเดียว )

       ที่ถูกคือ ในขณะบริหาร นักเพาะกายจะต้องไม่ปล่อยให้ใจลอยคิดเรื่องนอกโรงยิม หรือเรื่องอื่นที่จะเกิดขึ้นหลังจากออกกำลังเสร็จ  คุณจะต้องเพ่งสมาธิไปที่กล้ามเนื้อชิ้นที่กำลังฝึกอยู่ นั่นคือต้องรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่กำลังยกลูกน้ำหนักอยู่นั้นตลอดเวลา    และแม้กระทั่งพักเซทแล้ว คุณจะต้องใช้เวลา 1 นาทีที่พักเซทนั้น "จัดระบบ" ความคิดและสมาธิให้ชัดเจน ให้รู้ตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่ และจะต้องทำอะไรบ้างในเซทต่อไป

แนะนำ - ควรปิดมือถือระหว่างฝึกจะดีที่สุดครับ )




enjoyhealthyeating.info


ยิ่งทานโปรตีนเยอะ ก็จะยิ่งเพิ่มฮอร์โมนอะนาโบลิค

       
ในโบราณกาล มีความเชื่อกันว่า ห้ามทานโปรตีนมากกว่า 20 ถึง 30 กรัมต่อวัน  เพราะว่า โปรตีนที่ทานเข้าไปในส่วนที่เกินกว่า 30 กรัมนั้น จะใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ และยังมีผลเสียต่อร่างกายอีก ( Webmaster - คือโบราณเขาเชื่อกันอย่างนั้น ก็หมายความว่า แหล่งความรู้ไหนที่เพื่อนสมาชิกได้รับมา แล้วบอกอย่างนี้ ก็แสดงว่านั่นคือโบราณกาลแห่งความรู้นั่นเอง )

       บทความวิชาการของ Nicolaas Deutz และ Robert Wolfe จาก Texus A&M University กล่าวไว้ว่า ในมื้ออาหารแต่ละมื้อที่เราทานนั้น ( หมายถึงอาหารทุกชนิด รวมถึงตัวโปรตีนด้วย ) จะกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยสารอินซูลิน  ซึ่งสารอินซูลินนี้ มีคุณสมบัติในการลดประสิทธิภาพในการย่อยโปรตีน อีกทั้งอินซุลินยังจะไปลดระดับกรดอะมิโนแอซิดในกระแสเลือดอีกด้วย

       แม้ว่าเราจะเกลียดสภาวะแบบนั้น ( คือสภาวะที่อินซูลินไปลดประสิทธิภาพในการย่อยโปรตีน และลดระดับกระอะมิโนในกระแสเลือด ) แต่เราก็ต้องทานอาหารอยู่ดี  ดังนั้น เมื่อทานอาหารเมื่อไร อินซูลินก็จะออกมาเมื่อนั้น

       ในเมื่อเราหลีกเลี่ยงอินซูลินไม่ได้  ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงพากันทดลองเพื่อหาทางแก้ไข จนในที่สุดก็พบว่า เมื่อเราทานอาหารโปรตีนมากกว่า 30 กรัมต่อวันขึ้นไป ส่วนของโปรตีนที่เกิน 30 กรัมนี้ จะช่วยให้ระดับของกรดอะมิโนในกระแสเลือดสูงขึ้น จนอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม

       หากนักเพาะกายทานอาหาร 5 - 6 มื้อ ก็ขอให้สามมื้อหลักๆคือ มื้อเช้า ,มื้อกลางวัน และมื้อเย็น มีอาหารที่ให้แหล่งสารอาหารที่มีโปรตีนสูงๆไว้เป็้นหลัก เพราะมันจะช่วยเรื่องระบบการแตกตัวของโปรตีน ( Protien synthesis - คือการนำโปรตีนที่ทานเข้าไป เอาไปแตกตัวเพื่อเอามาใช้ประโยชน์ต่อร่างกาย ) 
ให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


อ้างอิงจาก Clinical Nutrition ,32 : 309-313 ,2013 ลงในหนังสือมัสเซิล ดีวีลอปเม้นท์ หน้า 70 ฉบับเดือน มกราคม 2557 )

- END -