Sunday, July 18, 2021

หน้า 2 ของ เกร็ดความรู้ อาทิตย์ที่ 7 D

 

   

หงายมือ และคว่ำมือ


จากนิตยสาร Flex ฉบับเดือนมิถุนายน 2553 หน้า 202


       สำหรับท่า Barbell Row  นั้น ผมจะใช้ระบบฝึกแบบ ปิระมิด   และในแต่ละเซทนั้น ผมจะสลับการจับของผมเป็นดังนี้คือ เซทแรก จับแบบหงายมือทั้งสองข้าง ( เหมือนในท่า Reverse Barbell Rows ) เซทถัดไป จับแบบคว่ำมือทั้งสองข้าง ( คือการจับในท่า Barbell Row ตามปกติ)    ,แต่ในบางโอกาส ผมจะจับแบบคว่ำมือก่อน แล้วบริหารถึง 2 เซทแล้วต่อด้วยหงายมืออีก 2 เซท , และในบางครั้ง ก็จะคว่ำมือก่อน แล้วบริหาร 3 เซท แล้วต่อด้วยหงายมือ แล้วบริหารอีก 3 เซท

       ในตอนที่คว่ำมือนั้น ผมจะสามารถเพิ่ม แรงเค้น  ไปที่กล้ามปีกได้ดีกว่าปกติ   ส่วนเวลาหงายมือนั้น ผมจะรู้สึกได้ว่ากล้ามเนื้อปีกผมถูกเหยียดได้มากกว่าปกติ

       แต่สิ่งที่ผมขอเน้นในการสร้างกล้ามปีกก็คือเรื่องปริมาณน้ำหนักที่ใช้  นั่นคือน้ำหนักที่ใช้นั้น จะต้องหนักมากพอที่ทำให้กล้ามเนื้อปีกได้ออกแรงอย่างจริงจัง  แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่หนักเกินไปจนคุณไม่สามารถใส่ความรู้สึกไปที่กล้ามเนื้อปีก ตอนที่กำลังหดเกร็งกล้ามปีกอยู่ได้เลย (
 Webmaster - ฝรั่งใช้คำว่า Feel the back contracting คือหลักการเพาะกายอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ เวลาที่เราออกกำลังกล้ามเนื้อปีกอยู่นั้น เราต้องเพ่งสมาธิไปที่กล้ามปีก คือให้รับรู้ถึงความรู้สึกของกล้ามปีกขณะกำลังหดตัวเพื่อยกบาร์เบลล์ขึ้นจากพื้น และให้รับรู้ความรู้สึกของกล้ามปีก ขณะที่เหยียดกล้ามเนื้อปีกเพื่อวางบาร์เบลล์ลงไปไว้ที่พื้น  ซึ่งเรื่องการเพ่งสมาธินี้มีความสำคัญมากครับ เป็นตัวชี้วัดเรื่องการประสบความสำเร็จในการเล่นกล้ามเลยทีเดียว เพราะบางคนเล่นกล้ามแบบไม่มีสมาธิ คือไม่ว่าจะยกน้ำหนักท่าอะไรอยู่ก็ตาม ใจก็แว่บไปคิดเรื่องอื่่น ซึ่งฝรั่งเขาจะจริงจังเรื่องแบบนี้มาก  คือเวลายกน้ำหนัก ต้องเพ่งสมาธิไปที่กล้ามเนื้อตัวที่กำลังออกแรงอยู่ครับ ไม่ใช่ปล่อยใจให้ลอยไปเรื่อย  ยกเว้น ในกรณีที่ต้องใช้เทคนิคการบริหารแบบ  Cheat  ซึ่งเน้นที่ว่า ทำยังไงก็ได้ ให้บริหารเซทนี้ให้จบๆไปโดยใช้ปริมาณน้ำหนักที่หนักมากๆ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องการใช้สัญชาติญาณเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นการเหวี่ยงตัวบ้าง ,การกระเด้งตัวบ้าง ฯลฯ จนจิตใจไม่สามารถรวบรวมสมาธิไปที่กล้ามเนื้อจุดใดจุดหนึ่งได้เลย )

โดย Joel  Stubbs , 2009 Europa Super Show ,third place

- END -