Monday, March 30, 2020

Anaerobic Exercise


แอนแอโรบิค


      แอนแอโรบิก ( Anaerobic Exercise ) คือ การออกกำลังกายที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเผาผลาญสารอาหารให้เกิดพลังงาน

       ในการสร้างพลังงานของกล้ามเนื้อ เซลล์ไม่สามารถใช้สารอาหารสร้างพลังงานในทันที

       วิธีการสร้างพลังงานจะต้องพึ่งตัวการสำคัญตัวหนึ่ง นั่นก็คือ เอทีพี ( ATP = Adenosine triphosphate )

       เอทีพี ( หรือเรียกว่าพลังงานเร่งด่วนของเซลล์ ) เปรียบเสมือนน้ำมันที่ทำให้เกิดการสตาร์ทในนเครื่องยนต์ คือ เอทีพีจะสลายตัวเป็นพลังงานให้กับกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นในฉับพลันทันที

       กลไกที่สร้างพลังงานเอทีพีอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว คือ ซีพี ( CP = Creatine Phosphate )

       เมื่อกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นให้ทำงาน เอทีพีจะถูกใช้หมด พลังงานสำรองที่จะทำให้กล้ามเนื้อทำงานต่อไปจะได้จากซีพี  ซึ่งประมาณว่าสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ 5 - 8 วินาที

       กีฬาแบบแอนแอโรบิค คือกีฬาที่ปฏิบัติในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เช่น การวิ่งระยะสั้น ,การว่ายน้ำระยะสั้น ,การเล่นกล้ามในแต่ละเซท ซึ่งเมื่อใช้พลังงานไปในช่วงเวลาหนึ่งพลังงานที่สะสมก็จะหมด  หลังจากนั้นหากยังออกกำลังกายต่อไปร่างกายจะได้พลังงานมาจากการสลาย ไกลโคเจน ( Glycogen ) แทนพลังงานสะสม ( ที่พึ่งจะหมดไป )

       สรุปว่า ทั้งหมดนี้ คือกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ต้องอาศัยออกซิเจนจากภายนอก เราจึงเรียกกระบวนการนี้ว่า แอนแอโรบิกเฟส ( Anaerobic phase ) 





Webmaster - ข้างล่างนี้ อ้างอิงจากเวบ ezygodiet.com )

       ถ้าแปลตรงตัว Anaerobic Exercise ก็คือการออกำลังกายที่ไม่ใช้ออกซิเจน  แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ต้องหายใจนะ  เพราะคำว่า "ไม่ใช้ออกซิเจน" ในที่นี้ หมายถึงว่า กล้ามเนื้อเข้าสู่โหมดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงาน ( ไม่ใช่ว่าร่างกายเราไม่ต้องใช้ออกซิเจน )

       ให้ทำความเข้าใจอย่างนี้นะครับว่า เมื่อเราออกกำลังกาย เราต้องการพลังงานมากขึ้นเพื่อให้มีแรง  กล้ามเนื้อเลยต้องการออกซิเจนมากขึ้น แบบนี้ ถือว่าอยู่ในช่วง "ใช้ออกซิเจน"

       แต่เมื่อใดก็ตามที่เราออกกำลังกายหนักขึ้น จนกล้ามเนื้อดึงออกซิเจนมาใช้ไม่ทัน  กล้ามเนื้อมันจึงจำเป็นต้องเฉือนเนื้อตัวเองเพื่อรักษาชีวิตเจ้านาย ( คำว่า เจ้านาย ในที่นี้หมายถึงเจ้าของร่างกาย ซึ่งก็คือตัวเรานั่นเอง )  ในทางวิทยาศาสตร์ เรียกการเฉือนเนื้อตัวเองนี้ว่า "การสลายไกลโคเจน ( ที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อ ) " เพื่อให้ได้พลังงานสำหรับใช้ไปก่อน ( ไกลโคเจน คือ กลูโคสที่เหลือใช้อีกรูปแบบหนึ่ง ที่สะสมไว้ในเซลล์กล้ามเนื้อ )

       ซึ่งกระบวนการสลายไกลโคเจนที่ว่านั้น มันไม่ต้องอาศัยออกซิเจนแต่อย่างใด 

       จึงพูดได้ว่าข่วงที่ร่างกายใช้พลังงานที่มาจากการสลายไกลโคเจน ก็คือช่วงที่ร่างกาย อยู่ในช่วง "ไม่ใช้ออกซิเจน"

       ข้อสังเกตุก็คือว่า

       แต่การเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจนนี้ จะได้พลังงานที่น้อยกว่าแบบใช้ออกซิเจน  แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย


       กระบวนการเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจนนี้ จะก่อให้เกิด "กรดแลคติก" ขึ้น 
/ ซึ่งกรดแลคติก จะทำให้ร่างกายเรารู้สึกปวดเมื่อย


       พลังงานสำรองชนิดนี้ ( ชนิดที่มาจากการ "ไม่ใช้ออกซิเจน" ) ไม่ได้มีอย่างเหลือเฟือ  มันมีไว้เพื่อใช้ยามฉุกเฉินเท่านั้น  ดังนั้น มันจึงมีจำกัด


ประโยชน์ของ Anaerobic Exercise

       สมมติว่าเราต้องการจะลดไขมันอย่างเดียว  เราก็เลยอาจจะเกิดความคิดว่า เราไม่ควรออกกำลังกายหนักๆแบบ Ananerobic Exercise "ใช่หรือไม่"? / ที่เราคิดอย่างนี้ก็เพราะว่า เราไม่อยากเสียกล้ามเนื้อ ( ที่มาจากการสลายไกลโคเจน เพื่อให้เกิดพลังงาน )  แล้วเราจะทำ Ananerobic Exercise ไปทำไม เหนื่อยก็เหนื่อย

       คำตอบของเรื่องนี้ก็คือว่า จริงๆแล้ว การออกกำลังแบบ Ananerobic Exercise จะช่วยพัฒนาให้กล้ามเนื้อแข็งแรง  ซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถในการใช้ออกซิเจน ( VO2 Max ) 
 /  หรือพูดง่ายๆก็คือว่า กล้ามเนื้อดึงออกซิเจนได้มากขึ้น  สร้างพลังงานได้มากขึ้น  เราก็เลยเหนื่อยน้อยลง

       นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มความทนทานต่อกรดแลคติคที่เกิดขึ้น และสามารถขจัดกรดแลคติคได้ดีขึ้น  พูดง่ายๆก็คือ ทำให้เรามีความอึดขึ้น ทนทานขึ้น ออกกำลังกายได้นานขึ้น เมื่อยล้าช้าลง

       เราอาจเกิดความสงสัยขึ้นในใจว่า ถ้าเราไม่ได้ต้องการเน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ  เราอยากลดไขมันเร็วๆอย่างเดียว  อย่างนี้ เราไม่ทำ Ananerobic Exercise ได้ไหม?

       คำตอบของเรื่องนี้ก็คือว่า ขีดจำกัดของแต่ละคนไม่เท่ากัน ฝึกฝนมาก 
ระดับของขีดจำกัดของเราก็จะสูงขึ้นด้วย  คือหมายความว่า

       ถ้าเราเป็นคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเลย เราก็จะเข้าสู่โหมด Anaerobic เร็วเกินไป ( คือเข้าสู่โหมดที่ "ไม่ใช้ออกซิเจน" ได้เร็วเกินไป )


       การเข้าสู่โหมด Anaerobic เร็วเกินไป ( คือเข้าสู่โหมดที่ "ไม่ใช้ออกซิเจน" ได้เร็วเกินไป ) ก็หมายถึงว่า เรามีช่วง Aerobic ( โหมดที่ "ใช้ออกซิเจน" ) ที่ "สั้น" เกินไป


       การมีช่วง Aerobic ( โหมดที่ "ใช้ออกซิเจน" ) ที่ "สั้น" เกินไป ย่อมหมายถึงการที่มีการเผาผลาญไขมันได้น้อย


       ในทางกลับกัน  หากเราเป็นผู้ที่ฝึกฝนร่างกายมาก  ก็จะทำให้ร่างกายใช้เวลานาน กว่าที่จะเข้าสู่โหมด Anaerobic ( โหมดที่ "ไม่ใช้ออกซิเจน" )


       การเข้าสู่โหมด Anaerobic ช้า หรือนานนั้น ก็หมายถึงว่า เรามีช่วง Aerobic ( โหมดที่ "ใช้ออกซิเจน" ) ที่นานขึ้น


       การมีช่วง Aerobic ( โหมดที่ "ใช้ออกซิเจน" ) ที่นานขึ้น  ย่อมหมายถึงการที่มีการเผาผลาญไขมันที่มากขึ้นนั่นเอง


       นนั่นก็แปลว่า แม้ว่าจุดประสงค์ของคุณคือการต้องการลดไขมันอย่างเดียว  แต่คุณก็ควรจะฝึกแบบ Anaerobic ร่วมด้วย  เพราะการฝึกแบบ Anaerobic จะช่วยเพิ่มขีดจำกัดของกล้ามเนื้อไปอีกขั้นหนึ่ง  เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรง เราก็จะออกกำลังกายได้นานขึ้น

- END -