Monday, March 30, 2020

ใช้สายเคเบิลเพื่อหนี "จุดพัก"


ใช้สายเคเบิลเพื่อหนี "จุดพัก" 

      นักเพาะกายระดับแชมป์หลายคน มีเหตุผลในการเลือกใช้อุปกรณ์เคเบิลในการบริหารหน้าแขน ( ไบเซบ ) มากกว่าที่จะใช้อุปกรณ์ฟรีเวทพวกบาร์เบลล์ หรือดัมเบลล์ ว่า การใช้เคเบิลบริหารหน้าแขนนั้น จะทำให้กล้ามไบเซบต้องออกแรงต้านกับตัวเคเบิลตลอดเวลา ( คือไม่มี "จุดพัก" )  ในขณะที่การใช้บาร์เบลล์ หรือดัมเบลล์ไม่อาจทำเช่นนั้นได้

       ดังนั้น เราจึงควรมาวิเคราะห์กันว่า "จุดพัก" ที่ว่านี้คืออะไร?  อะไรคือสิ่งที่สายเคเบิลหรือสายสลิงทำได้ แต่ว่าอุปกรณ์ฟรีเวท ( คือบาร์เบลล์และดัมเบลล์ ) ทำไม่ได้ / โดยเราจะมาดูกันที่การใช้บาร์เบลล์หรือดัมเบลล์ก่อนนะครับ ดังภาพข้างล่างนี้

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

     ภาพบน ) ในเวลาที่เราบริหารในท่าม้วนข้อ ( Curl ) ด้วยบาร์เบลล์ หรือดัมเบลล์นั้น มันจะประกอบด้วยจังหวะ 3 จังหวะเหมือนที่เห็นในภาพข้างบน ซึงหากคุณมีประสบการณ์ในการบริหารท่านี้ คุณก็จะพบสัจธรรมข้อหนึ่งดังภาพข้างล่างนี้

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

     ภาพบน ) นั่นคือ ตอนที่เรายกบาร์เบลล์ จาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 เราจะรู้สึกว่าเราต้องออกแรงจากกล้ามไบเซบอย่างเต็มที่ใช่ไหมครับ ( คือออกแรงเพื่อจะยกบาร์เบลล์จาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 )  แต่ว่า พอเรายกไปถึง จังหวะที่ 3 ดังภาพข้างล่างนี้

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

      ภาพบน ) เราจะพบว่าใน จังหวะที่ 3 ซึ่งเป็นจังหวะที่เรายกบาร์เบลล์ขึ้นมาในจุดสูงสุด  คือเป็นจุดที่แขนท่อนปลาย "ตั้งฉาก" กับพื้นที่เรายืนอยู่ เราจะรู้สึกว่ากล้ามไบเซบเราได้พักชั่วครู่ทันที  คือกล้ามไบเซบจะไม่ต้องออกแรงมากเหมือนตอนที่กำลังยกจาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

      ภาพบน ) ถึงเราจะใช้ดัมเบลล์ในการบริหาร ก็จะได้รับความรู้สึกตรงนี้เหมือนกับการใช้บาร์เบลล์นั่นแหละ  นั่นคือ เวลาที่เรายกดัมเบลล์ หรือบาร์เบลล์ ขึ้นมาจนถึงจุดสูงสุดซึ่งเป็นจุดที่แขนท่อนปลายตั้งฉากกับพื้นที่เรายืน หรือนั่งอยู่ / เราก็จะพบว่า ณ.เวลานั้น กล้ามไบเซบเราได้หยุดออกแรงช่วงหนึ่งเลย  ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

    ภาพบน ) อธิบายได้ด้วยภาพการค้างจังหวะของท่าเต้น ดังที่เห็นในภาพข้างบนนี้  นั่นคือ ทันทีที่นักเต้นท่านนี้ เอาข้อศอกปักลงไปกับพื้น ( คือทำท่าเหมือนกับในรูปข้างบนนี้ ) น้ำหนักตัวทั้งหมดของเขา มันจะวิ่งลงไปตรงๆ ผ่านข้อศอก ลงไปที่พื้นเลย  ซึ่งภาวะนี้ มันเป็นภาวะสมดุล คือเป็นภาวะ Balance ที่นักเต้นท่านนี้ จะรู้สึกเหมือนว่า เขาไม่มีน้ำหนักตัวเลย ( เพราะมันไหลผ่านข้อศอก ลงไปสู่พื้น )

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

     ภาพบน ) คราวนี้ เราย้อนกลับมาดูที่ จังหวะที่ 3 ของการยกบาร์เบลล์อีกครั้งหนึ่ง / เราจะพบว่า น้ำหนักของบาร์เบลล์ที่นักเพาะกายในรูปข้างบนนี้ ถืออยู่ในมือ  มันจะวิ่งลงมาตรงๆตามแนวเส้นประสีแดงที่เห็นอยู่ในภาพข้างบน

       แล้วไอ้เจ้าน้ำหนักนี้ ( ที่วิ่งลงมาตาม เส้นประสีแดง ในภาพข้างบนนี้ ) มันหายไปไหน? คำตอบก็คือ เส้นเอ็นและข้อต่อบริเวณข้อศอก ได้รับเอาไว้ทั้งหมด

       เมื่อเส้นเอ็นและข้อต่อบริเวณข้อศอก ได้รับน้ำหนักของบาร์เบลล์เอาไว้ทั้งหมดอย่างนี้แล้ว มันก็เลยเกิดภาวะ Balance คือเป็นภาวะที่กล้ามไบเซบได้พัก คือกล้ามไบเซบไม่ต้องออกแรงถือบาร์เบลล์ไว้ในมือแล้ว เพราะน้ำหนักของบาร์เบลล์ มันได้วิ่งลงไปที่เส้นเอ็นและข้อต่อบริเวณข้อศอกแล้ว

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ ) 

      ภาพบน ) นักเพาะกายหลายคน ชอบแบบนี้ ! ชอบยังไง?  ก็คือชอบตรงที่ว่าเวลายกบาร์เบลล์ จาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 เขาต้องออกแรงไปที่ไบเซบเป็นอย่างมาก  ดังนั้น ถ้ากล้ามไบเซบได้พักใน จังหวะที่ 3 ( คือเป็นภาวะ Balance ที่กล้ามไบเซบ ไม่ต้องออกแรง ) มันก็จะช่วยให้กล้ามไบเซบมีพละกำลังที่จะต้องค่อยๆผ่อนบาร์เบลล์ จาก จังหวะที่ 2 กลับไป จังหวะที่ 1 อีกทีหนึ่ง

       แต่ก็มีนักเพาะกายหลายคนที่ "ไม่" ชอบแบบนี้ ! ไม่ชอบยังไง? คือนักเพาะกายหลายคน ไม่ต้องการให้มีจุดพัก คือไม่ต้องการให้มีช่วงภาวะ Balance ที่กล้ามไบเซบไม่ต้องออกแรงอยู่เลย  เขาอยากให้กล้ามไบเซบได้ออกแรงตลอดเวลา ตั้งแต่ จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 ไป จังหวะที่ 3 แล้วก็จาก จังหวะที่ 3 กลับมา จังหวะที่ 2  แล้วกลับมา จังหวะที่ 1

       แล้วจะทำยังไง? คำตอบก็คือเปลี่ยนมาใช้เคเบิลหรือสายสลิง แทนการใช้อุปกรณ์ฟรีเวท ( คือบาร์เบลล์ และดัมเบลล์ ) นั่นเองครับ


( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

      ภาพบน ) สมมติว่า เราใช้สลิงหรือเคเบิลแทนการใช้ดัมเบลล์ โดยบริหารในท่าเดียวกัน และเลือกใช้ขนาดน้ำหนักที่เท่ากัน  ถ้าเป็นอย่างนั้น ความแตกต่างของการใช้อุปกรณ์ทั้งสองตัวนี้ ( คือเคเบิล กับดัมเบลล์ ) คืออะไร?

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

      ภาพบน ) คำตอบก็คือ ถ้าใช้ดัมเบลล์ในการบริหารท่านี้แล้วล่ะก็  เราจะพบว่า ในจุดที่เรางอแขนขึ้นมาจนสุด ( เหมือนในภาพข้างบนนี้ ) น้ำหนักของดัมเบลล์ที่ถืออยู่ในมือ มันจะวิ่งลงไปที่เส้นเอ็นและข้อต่อบริเวณข้อศอกทันที ( คือมีแรง วิ่งลงไปตามแนวของเส้นประสีแดง ที่เห็นอยู่ในภาพข้างบน ) ทำให้เรามี "จุดพัก" ณ.ช่วงเวลานี้ ( คือช่วงเวลาที่ยกดัมเบลล์ขึ้นมาถึงจุดสูงสุด )

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ ) 

      ภาพบน ) แต่ถ้าเราใช้สายเคเบิล หรือสลิง บริหารในท่านี้ เราก็จะพบว่า แม้ว่าเราจะงอแขนขึ้นมาจนอยู่ในตำแหน่งสูงสุดแล้ว ( เหมือนที่เห็นในภาพข้างบน ) แรงต้านทาน มันก็ไม่วิ่งลงไปในแนวดิ่งเหมือนการใช้ดัมเบลล์  เพราะแรงต้านทาน มันจะต้องวิ่งไปตามสายเคเบิล หรือสายสลิงนั่นเอง ( คือแรงต้านทาน มันจะวิ่งไปตาม เส้นประสีแดง เหมือนที่เห็นในภาพข้างบน )

       ก็คือว่า เมื่ออยู่ในตำแหน่งที่เรางอแขนสุดแล้ว  กล้ามไบเซบก็ยังจะต้องออกแรงดึง ( คือดึงสายเคเบิล หรือสายสลิง ) อยู่เหมือนเดิม  ไม่มีโอกาสได้หยุดพักเหมือนตอนที่ใช้ดัมเบลล์หรือบาร์เบลล์เลย


       และนี่แหละครับ คือทางเลือกสำหรับนักเพาะกายว่า หากนักเพาะกายคนไหน ต้องการให้มีช่วงพัก หรือช่วง Balance ที่ไบเซบไม่ต้องออกแรง อยู่ในการบริหารของเขาแล้วล่ะก็ นักเพาะกายผู้นั้น ก็ต้องเลือกใช้อุปกรณ์ฟรีเวท คือ เลือกใช้บาร์เบลล์หรือดัมเบลล์ไป

       แต่ถ้านักเพาะกายคนไหน ไม่ต้องการให้มีจุดพัก ( คือหนี "จุดพัก" ) คือเขาต้องการให้กล้ามไบเซบได้ออกแรงเต็มๆตลอดเวลาที่บริหาร ( จนครบเซท ) เขาก็จะต้องเลือกใช้อุปกรณ์สายเคเบิล หรือสายสลิง นั่นเองครับ


หมายเหตุ - เวลาเราอ่านต้นฉบับ เขาจะเขียนไว้ว่า The cables provide a constant tension different from free weights.


- END -