Monday, March 30, 2020

ใช้สายเคเบิลเพื่อหนี "จุดพัก"


ใช้สายเคเบิลเพื่อหนี "จุดพัก"

      นักเพาะกายระดับแชมป์หลายคน มีเหตุผลในการเลือกใช้อุปกรณ์เคเบิลในการบริหารหลังแขน ( ไทรเซบ )  มากกว่าที่จะใช้อุปกรณ์ฟรีเวท คือดัมเบลล์ ว่า การใช้เคเบิลบริหารหลังแขนนั้น จะทำให้กล้ามไทรเซบต้องออกแรงต้านกับตัวเคเบิลตลอดเวลา ( คือไม่มี "จุดพัก" ) ในขณะที่การใช้ดัมเบลล์ไม่อาจทำเช่นนั้นได้

       ดังนั้น เราจึงควรมาวิเคราะห์กันว่า "จุดพัก" ที่ว่านี้คืออะไร?  อะไรคือสิ่งที่สายเคเบิลหรือสายสลิงทำได้ แต่ว่าอุปกรณ์ฟรีเวท ( คือดัมเบลล์ ) ทำไม่ได้ / โดยเราจะมาดูกันที่การใช้ดัมเบลล์ก่อนนะครับ ดังภาพข้างล่างนี้

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

      ภาพบน )  ข้างบนนี้คือท่า Dumbbell Kickback  คือเป็นการบริหารด้วยท่า Kickback โดยใช้ดัมเบลล์

       จาก จังหวะที่ 1 นั้น เราต้องหดเกร็งกล้ามไทรเซบ ( Contract Tricep ) ของแขนข้างขวาเสียก่อน


       เมื่อเราหดเกร็งกล้ามไทรเซบแล้ว ก็จะทำให้ "แขนท่อนปลาย" ของแขนขวา ถูกยกขึ้นไปทางด้านหลัง / ซึ่งก็คือการเข้าสู่ จังหวะที่ 2 ในภาพข้างบนนี้นั่นเอง

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

     ภาพบน ) จากนั้น ก็ทำต่อดังนี้คือ

       จาก จังหวะที่ 2 ( ในภาพข้างบนนี้ ) นั้น เราต้องเหยียดกล้ามไทรเซบ ( Stretch Tricep ) ของแขนข้างขวา


       เมื่อเราเหยียดกล้ามไทรเซบแล้ว ก็จะทำให้ "แขนท่อนปลาย" ของแขนขวา ถูกลดลงมาทางด้านล่าง  / ซึ่ง ก็คือการกลับเข้าสู่ จังหวะที่ 1  ในภาพข้างบนนี้นั่นเอง


       จากจังหวะข้างบนทั้งหมดนี้ ( คือทำ จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 และจาก จังหวะที่ 2 กลับมา จังหวะที่ 1 ) ถือว่าเป็นการทำ Rep ที่ 1 จนสำเร็จ

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

     ภาพบน ) ตอนนี้ เรากำลังจะเริ่มทำ Rep ที่ 2 นะครับ

       ซึ่งการจะเริ่มทำ Rep ที่ 2 นี้ ก็คือการที่เราอยู่ในจังหวะข้างบนนี้ ถูกต้องไหมครับ? เรามาดูกันว่าในจังหวะข้างบนนี้ มีอะไรเกิดขึ้น

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

      ภาพบน ) "ช่วงรอยต่อ" ระหว่าง Rep ที่ 1 กับ Rep ที่ 2 นั้น ( ก็คือช่วงที่อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) มันจะมีช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 2 วินาที ที่กล้ามไทรเซบหยุดออกแรง

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

      ภาพบน ) ซึ่งเมื่อเราออกแรง ( คำว่าออกแรงในที่นี้ หมายถึง ออกแรงหดเกร็ง ( Contract ) กล้ามไทรเซบข้างขวา ( ข้างที่ถือดัมเบลล์อยู่ ) )  แขนท่อนปลายก็จะถูกยก ชี้ไปข้างหลัง ซึ่งก็คือการเข้าสู่ Rep ที่ 2 นั่นเอง

       ประเด็นที่เราจะคุยกัน ไม่ใช่ในจังหวะที่ยกแขนท่อนปลายไปข้างหลัง เหมือนในภาพข้างบนนี้ / แต่ประเด็นสำคัญที่เราจะคุยกันก็คือจับหวะที่กล้ามไทรเซบหยุดออกแรงชั่วครู่ต่างหาก ( ซึ่งก็คือภาพข้างล่างนี้ )

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )  

      ภาพบน ) เนื่องจากในช่วงรอยต่อระหว่าง Rep ที่ 1 กับ Rep ที่ 2  จะมีจังหวะที่กล้ามไทรเซบ หยุดออกแรงประมาณ 2 วินาที / ดังนั้น รูปแบบการบริหารมันก็เลยออกมาเป็นดังข้างล่างนี้

       ทำ Rep ที่ 1 - คือทำจาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 และจาก จังหวะที่ 2 กลับมา จังหวะที่ 1

       กล้ามไทรเซบหยุดออกแรง 2 วินาที

       ทำ Rep ที่ 2 - คือทำจาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 และจาก จังหวะที่ 2 กลับมา จังหวะที่ 1

       กล้ามไทรเซบหยุดออกแรง 2 วินาที

       ทำ Rep ที่ 3 - คือทำจาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 และจาก จังหวะที่ 2 กลับมา จังหวะที่ 1

       กล้ามไทรเซบหยุดออกแรง 2 วินาที

       ทำ Rep ที่ 4 - คือทำจาก จังหวะที่ 1 ไป จังหวะที่ 2 และจาก จังหวะที่ 2 กลับมา จังหวะที่ 1

       วนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนครบจำนวน Rep ที่กำหนดไว้ในเซทนั้น


  นักเพาะกายหลายคน โดยเฉพาะพวกแชมป์ที่ ซีเรียสกับการฝึก  เขาไม่ต้องการจะให้กล้ามไทรเซบของเขามีการหยุดพักในช่วงรอยต่อระหว่าง Rep ( ที่ว่าพัก ทีละ 2 วินาที ที่ผมอธิบายมานี้ )

       สิ่งที่พวกซีเรียสกับการฝึกต้องการก็คือ  ตลอดทั้งเซทนั้น เขาต้องการให้กล้ามไทรเซบ ( ข้างที่ถูกบริหารอยู่ ) ต้องออกแรง ( tension ) อยู่ตลอดเวลาจนจบเซท แล้วค่อยไปพักครั้งเดียวตอนช่วงพักเซท

       เพราะจากประสบการณ์ของแชมป์พวกนี้ เขารู้ว่า กล้ามไทรเซบจะพัฒนาได้ดีก็ต่อเมื่อ กล้ามไทรเซบนั้นต้องออกแรง "ต่อเนื่อง" ตั้งแต่ Rep ที่ 1 จนถึง Rep สุดท้าย ( ในเซทนั้น ) เท่านั้น / การพัก 2 วินาที ในช่วงรอยต่อระหว่าง Rep จะทำให้ขาดการพัฒนาที่ดีไป ขาดการพัฒนากล้ามเนื้อ โดยมีสาเหตุมาจากการหยุดพักเป็นช่วงๆ ( ช่วงละ 2 วินาที ) ผสมอยู่ในเซทนั้นนั่นเอง )


     จะมีวิธีไหน? ที่บริหารท่า Kickback แล้ว สามารถทำให้กล้ามไทรเซบออกแรงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องมีช่วงพัก 2 วินาทีแทรกตรงรอยต่อระหว่าง Rep ได้ล่ะ?

       คำตอบก็คือ ก็ต้องใช้อุปกรณ์เคเบิลแทนดัมเบลล์นั่นเอง / เรามาดูอุปกรณ์เคเบิลที่ว่านี้กันครับ

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

    ภาพบน ) ข้างบนนี้ก็คือท่า Kickback เช่นกันครับ เพียงแต่เปลี่ยนจากการใช้ดัมเบลล์มาใช้เคเบิลแทน

       หลักการคร่าวๆระหว่างการใช้ดัมเบลล์กับการใช้เคเบิลก็เหมือนกันครับ นั่นคือ ใน จังหวะที่ 1 นั้น เราจะต้องออกแรงเพื่อหดเกร็ง ( Contract ) กล้ามไทรเซบเสียก่อน  ถึงจะทำให้แขนท่อนปลายถูกยกขึ้นไปทางข้างหลัง ( คือเข้าสู่ จังหวะที่ 2 ตามภาพข้างบนนี้ )

       คราวนี้เรามาดูความแตกต่างกันบ้าง

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

    ภาพบน ) เรามาดูใน จังหวะที่ 1 กันนะครับ 

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )  

     ภาพบน ) ใน จังหวะที่ 1 นี้ มันจะมี "แรงดึงกลับ" ของสายเคเบิลอยู่นะครับ

       โดย "แรงดึงกลับ" ของสายเคเบิลที่ว่านี้ ก็คือแรงดึงตามแนวของ เส้นประลูกศรสีม่วง ในภาพข้างบนนี้นะครับ


( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )  

      ภาพบน )  ดังนั้น ใน จังหวะที่ 1 นี้ กล้ามไทรเซบจึงต้อง "ออกแรง" เพื่อต้านแรงดึงกลับของสายเคเบิลไว้

       เพราะถ้ากล้ามไทรเซบไม่ออกแรงต้านแรงดึงกลับของสายเคเบิล  เราก็จะเสียหลักล้มไปทางข้างหน้า / เพราะเราจะถูกแรงดึงกลับของสายเคเบิล ( ที่เป็น เส้นประลูกศรสีม่วง ในภาพก่อนหน้านี้ ) ดึงไปข้างหน้า


      และนี่แหละครับ คือทางเลือกสำหรับนักเพาะกายว่า หากนักเพาะกายคนไหน ต้องการให้มีช่วงพัก ที่กล้ามไทรเซบไม่ต้องออกแรง อยู่ในการบริหารของเขาแล้วล่ะก็ นักเพาะกายผู้นั้น ก็ต้องเลือกใช้อุปกรณ์ฟรีเวท คือใช้ดัมเบลล์ไป

       แต่ถ้านักเพาะกายคนไหน ไม่ต้องการให้มี "จุดพัก" ( คือหนี "จุดพัก" )  คือเขาต้องการให้กล้ามไทรเซบได้ออกแรงเต็มๆตลอดเวลาที่บริหาร ( จนครบเซท )  เขาก็จะต้องเลือกใช้อุปกรณ์สายเคเบิล หรือสายสลิง แทนการใช้ดัมเบลล์นั่นเองครับ


หมายเหตุ - เวลาเราอ่านต้นฉบับ เขาจะเขียนไว้ว่า The cables provide a constant tension different from free weights.


- END -