Monday, March 30, 2020

Blood Clot


Blood Clot


การมีลิ่มเลือดอาจทำให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงได้ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่คุณกำลังพักฟื้นหลังการผ่าตัด

       ร่างกายของเรามีความสามารถในการทำให้เลือดกลายเป็นลิ่มเลือดขึ้นมาเพื่อที่จะป้องกันการสูญเสียเลือดที่อาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ เช่น จากการได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยอย่างการถูกมีดบาด แต่การที่มีลิ่มเลือดนั้นอาจไม่ได้ดีเสมอไป เพราะลิ่มเลือดอาจเกิดขึ้นในเวลาที่ไม่เหมาะสมหรือในตำแหน่งที่ไม่ต้องการก็เป็นได้


ทำไมถึงเกิดลิ่มเลือด?

       ในสภาวะปกติ เมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บจะมีการสั่งการให้เกิดกลไกการห้ามเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้เสียเลือด นั่นคือการสร้างลิ่มเลือดขึ้นมาในตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บ แต่หากร่างกายไม่สามารถเกิดกลไกการสร้างลิ่มเลือดขึ้นได้นั้น เพียงการได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย เช่นโดนมีดบาดที่นิ้ว อาจทำให้คุณเสียเลือดจนกระทั่งเสียชีวิตได้


ลิ่มเลือดคืออะไร?

       เมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บจะส่งผลให้หลอดเลือดได้รับบาดเจ็บตามมา การบาดเจ็บชนิดฟกช้ำคือเมื่อมีอุบัติเหตุใดที่ทำให้หลอดเลือดเสียหายจนเลือดที่อยู่ภายในหลอดเลือดไหลออกมาทำให้เห็นสีบริเวณผิวหนัง

       เมื่อไรก็ตามที่คุณได้รับบาดเจ็บที่ทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กเสียหาย เกล็ดเลือดจะมารวมตัวกันในตำแหน่งที่บาดเจ็บและจะเชื่อมต่อกันเพื่ออุดตำแหน่งที่เลือดจะออกมา เมื่อเกล็ดเลือดเริ่มทำงานจะมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ไฟบริน ทำหน้าที่เชื่อมสร้างเป็นร่างแหไฟเบอร์เพื่อสร้างความแข็งแรงของลิ่มเลือด

       ให้จินตนาการว่าหลอดเลือดนั้นทำหน้าที่คล้ายกับเขื่อน: ทันใดที่เขื่อนเกิดมีรอยร้าวเล็ก ๆ ขึ้น น้ำในเขื่อนเริ่มที่จะไหลแทรกตัวออกมา เกล็ดเลือดจะเป็นตัวตอบสนองชนิดแรกที่เข้ามาในเหตุการณ์นี้ มันสามารถช่วยอุดรูรั่วดังกล่าวได้ชั่วคราว ไฟบรินจะเป็นตัวที่มาช่วยซ่อมเขื่อนในภายหลัง โดยเพิ่มความแข็งแรงของเขื่อนจนกระทั่งกลับมาแข็งแรงเช่นเดิมอีกครั้ง

       ร่างกายของคุณสามารถสร้างลิ่มเลือดขึ้นมาเมื่อไรก็ตามที่ต้องการ เช่น เมื่อคุณไปชนเข้ากับบางอย่างแล้วเกิดจุดฟกช้ำขึ้นซึ่งเป็นตัวอย่างของลิ่มเลือดที่อยู่ภายในหลอดเลือด หากปราศจากกระบวนการดังกล่าว เราสามารถเสียชีวิตได้จากการเสียเลือดถึงแม้จะเป็นการบาดเจ็บเล็กน้อยก็ตาม


แล้วเมื่อไรที่จะเกิดลิ่มเลือดที่ไม่ดีขึ้น?

       ลิ่มเลือดนั้นเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทรอมบัส( thrombus ) ซึ่งสามารถทำให้เกิดปัญหาได้ 2 ทางด้วยกัน อย่างแรกคือ เมื่อทรอมบัสนั้นกลายเป็นเอ็มโบลัส ซึ่งหมายถึงการหลุดลอยของทรอมบัสไปยังตำแหน่งอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการผ่านทางกระแสเลือด นอกจากนี้ ทรอมบัสยังทำให้เกิดปัญหาได้อีกเมื่อมันมีขนาดใหญ่มากจนอุดตันหลอดเลือด ซึ่งมักจะเห็นได้ในเหตุการณ์ที่พบบ่อย เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว เส้นเลือดสมองอุดตัน และภาวะหลอดเลือดขาอุดตัน

       หลอดเลือดแดงนั้นจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ เมื่อยิ่งห่างจากหัวใจ ฉะนั้นลิ่มเลือดที่อยู่ใกล้หัวใจจะไปอุดหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งจะทำให้เลือดที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงในตำแหน่งนั้น ๆ ไม่สามารถไปเลี้ยงได้อย่างเพียงพอ ภาวะเส้นเลือดสมองอุดตันชนิดembolic stroke เป็นตัวอย่างที่พบบ่อยที่สุดในภาวะเส้นเลือดสมองอุดตัน ซึ่งเกิดจากการที่มีลิ่มเลือดลอยไปอุดตันบริเวณสมอง ทำให้ไม่มีเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงได้อย่างเพียงพอ

       ในทางตรงกันข้าม หลอดเลือดดำนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อนำเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ ดังนั้นลิ่มเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดดำสามารถผ่านเข้าสู่หัวใจส่งออกไปยังปอด ซึ่งจะนำมาสู่ภาวะที่อันตรายถึงชีวิตที่เรียกว่า ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอด(pulmonary embolism) นอกจากนี้ยังมีการอุดตันของหลอดเลือดอื่น ๆ ที่พบบ่อย นั่นคือการอุดตันของหลอดเลือดบริเวณขา


อาการแสดงและอาการของลิ่มเลือด

       อาการแสดงและอาการของลิ่มเลือดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของลิ่มเลือดว่าอยู่ที่ใด อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับว่าลิ่มเลือดอยู่ในหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำ รวมถึงขนาดของหลอดเลือด ความรุนแรงของอาการนั้นหลากหลาย อาจรุนแรงถึงขั้นเป็นเส้นเลือดในสมองอุดตัน หรือมีเพียงอาการปวดขาเล็กน้อย


อาการแสดงและอาการเบื้องต้นที่แสดงถึงการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงมีดังนี้ :

* * * มีอาการปวดปานกลาง-รุนแรงเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

* * * ผิวซีดในตำแหน่งที่มีการอุดตัน

* * * มีความรู้สึกคล้ายเข็มทิ่ม

* * * มีอาการบวมเหนือบริเวณที่มีการอุดตัน

       หากมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงที่บริเวณสมอง ( หลอดเลือดสมองอุดตัน ) อาจจะทำให้เกิดอาการสับสนหรืออาการอัมพาตตามมา แต่ลิ่มเลือดที่อยู่บริเวณขา ( หลอดเลือดขาอุดตัน ) นั้น อาจทำให้มีอาการปวด ผิวหนังที่ขามีสีซีดลง มีความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป เช่น รู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่ม ความสามารถในการเดินลดลง นอกจากนี้หากมีลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจอาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจล้มเหลวได้


อาการแสดงและอาการของหลอดเลือดดำอุดตัน ดังนี้

* * * ตำแหน่งที่มีการอุดตันร้อนขึ้น

* * * มีอาการบวม

* * * มีอาการเจ็บ

* * * มีอาการปวดปานกลาง-รุนแรงซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน

       ตัวอย่างเช่น การมีลิ่มเลือดที่ขา ซึ่งรู้จักกันในชื่อหลอดเลือดดำที่ขาอุดตันอาจทำให้เกิดอาการปวดและรู้สึกร้อนขึ้นมาในตำแหน่งที่มีการอุดตัน ขาด้านที่ผิดปกติจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าอีกข้างเนื่องจากมีการบวมและเมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ

- END -