Monday, March 30, 2020

Circadian rhythms


Circadian rhythms

      'นาฬิกาชีวิต' มีศัพท์ทางแพทย์ว่าอะไร ผมตอบไม่ได้ เพราะไม่ใช่แพทย์ แต่ฝรั่งมีคำว่า biological clock อันเดียวกันกับนาฬิกาชีวิตหรือเปล่า... ไม่เชิงครับ เพราะหลักนาฬิกาชีวิตนั้น เป็นของตะวันออก ส่วน bio clock เป็นตะวันตก

       ผมจึงนำเรื่องที่เป็นกลาง ๆ ที่แพทย์ก็รู้ตรงกัน มาเล่า คือ มนุษย์นั้นจะมีประสาทส่วน ไฮโปธาลามัส ( hypothalamus ) ซึ่งเป็นส่วนควบคุมระบบการเผาผลาญอาหาร และ หลั่งฮอร์โมนประสาทต่าง ๆ

       สมองส่วนนี้สำคัญ เพราะมันเป็นตัวการหลัก ควบคุมวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ให้สอดคล้องกับเวลาท้องถิ่น แล้ว match กับนาฬิกาโลก โดยธรรมชาติ ไม่ต้องมีใครมาบอกมัน

       ต่อม pineal ที่อยู่ภายใต้สมองส่วนนี้ จะหลั่งสาร เมลาโทนิน (melatonin) ซึ่งมีผลต่อการควบคุม กิจวัตรประจำวันของร่างกาย (Circadian Rhythms) ว่า ร่างกายเรา ควรจะผลิตฮอร์โมนอะไร ในช่วงเวลาไหน ควรจะเผาผลาญอะไร ในช่วงไหน เป็นต้น


Circadian Rhythms (เซอร์เคเดี้ยน ริทึ่ม) ควบคุม

               - การนอนหลับ

               - การหลั่งฮอร์โมน

               - การเผาผลาญอาหาร

               - อุณหภูมิของร่างกาย

               - ระบบอื่น ๆ ( ที่ผมขี้เกียจศึกษา เพราะ ไม่ใช่แพทย์ )


       ระบบนี้จะทำงานร่วมกับ เวลาท้องถิ่นโดยอัตโนมัติ โดยอาศัยปัจจัย คือ การเห็นพระอาทิตย์ หรือ แสงสว่าง, การได้รับความมืด, การได้รับสารอาหารที่ทำให้ไฮโปธาลามัสทำงานปกติ

       เมื่อระบบ CR ทำงานปกติ ร่างกายจะรู้ว่าเวลาไหนควรตื่นนอน ทานอาหาร ทำงาน เดินทาง พักผ่อน และ นอนหลับ เมื่อต่อม pineal หลั่ง เมลาโทนินเป็นปกติ จะทำให้ เขาตื่นแล้วสดชื่น เจริญอาหาร ทำงานคล่องแคล่ว นอนหลับสนิท ทั้งยังเป็นตัวกำหนดด้วยว่า จะทำกิจกรรมเหล่านั้นเวลาไหน เช่น หลังจากตื่นแล้ว กี่ชั่วโมง ลำไส้จะเริ่มบีบรัดตัว, ต่อมากี่ชั่วโมงกระเพาะจะทำงานรอรับสารอาหาร, กี่ชั่วโมงร่างกายพร้อมจะทำงาน และ ใช้สมอง.... ไปเรื่อย ๆ ฮอร์โมนที่จำเป็นต่อกิจกรรมนั้น ๆ ก็จะหลั่งในช่วงเวลาที่เหมาะสม และ เมื่อถึงเวลาสิ้นสุดวัน ก็จะหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้ง่วงนอน และ หลับสบาย

       ส่วนฮอร์โมนที่จะเผาผลาญ ก็เช่นกัน ถูกหลั่งตลอดวัน เพื่อความเหมาะสม แม้กระทั่งนอนหลับ ร่างกายก็ต้องเผาผลาญอะไรบางอย่าง แต่เผาผลาญอย่างเหมาะสมต่อการนอน ไม่เหมือนตอนกลางวัน

       เอนโดรฟีน สารแห่งความสุข จะหลั่งดี หรือ ไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ CR นี้ หาก CR เป็นปกติ ร่างกายจะไวในการหลั่งเอนโดรฟีน คือ ประมาณว่า แค่อยู่สงบ ๆ ซัก 20 วินาที เอนโดรฟีนหลั่งมาเฉยเลย สุขง่าย ๆ

       ฉะนั้น เราอาจจะพูดได้ว่า นาฬิกาชีวิต ที่ท่าน อ.สุทธิวัสส์สอน ก็เป็นเรื่องคล้าย ๆ กัน สอดคล้องกันกับหลัก CR นี้


อะไรบ้างที่ทำให้วงจร CR เพี้ยนไป

               - การเห็นแสงสว่างในเวลาที่ไม่ควร พูดง่าย ๆ คือ ถึงเวลานอนแล้วไม่นอน ทำให้สมองไม่หลั่งเมลาโทนินเป็นปกติ

               - การขาดสารอาหาร ทำให้สมองไม่หลั่งเมลาโทนินตามปกติ เช่น มีพยาธิ เชื้อรา ระบบดูดซึมเสีย

               - ระบบเลือดที่ขัดข้อง เช่น กระดูกเคลื่อน

               - การตั้งใจฝืนกิจกรรมที่ CR กำหนด ฝืนเป็นประจำ เช่น หิวควรจะกิน แต่ฝืนอด อดไปเรื่อย ๆ จนวันหนึ่ง ระบบร่างกายต้องปรับให้รับกับการอดนี้ แล้วไปเบียดเวลาส่วนอื่น ทำให้ CR เพี้ยน

               - การทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับท้องถิ่น เช่น อยู่เมืองร้อน เกิดมาปอดใหญ่ ต้องทานอาหารชนิดนี้, อยู่เมืองหนาวปอดเล็กกว่า ทานอาหารอีกชนิดหนึ่ง คนเมืองหนาวมาอยู่เมืองไทย แพ้อากาศ, คนเมืองร้อน ไปอยู่เมืองหนาว ร่างกายปรับปอดใหม่ พอกลับมาอยู่เมืองร้อน ก็เลยแพ้อากาศ


เมื่อ CR เพื้ยนไป

               - นอนไม่หลับ หรือ ไม่ง่วงนอน

               - หลั่งเอนโดรฟีนยากขึ้น ต้องออกกำลังกายเท่านั้น ถึงหลั่ง

               - ระบบเผาผลาญเพี้ยน มีไขมันสะสม, มีอนุมูลอิสระสะสม

               - ระบบภูมิคุ้มกันเพี้ยน อ่อนแอ ติดเชื้อง่าย เพราะม้ามทำงานผิดเวลา ถูกเบียดโดยกิจกรรมอื่น

               - ระบบการรักษาอุณหภูมิในร่างกายเพี้ยน

       ทั้งหมดมีผลต่อ อารมณ์ และ สุขภาพจิต ป่วยแน่นอน

       คิดว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่พยามอธิบายเรื่องนาฬิกาชีวิต ให้คนที่อยู่ในวงการแพทย์เข้าใจ พอจะ link กันได้บ้างนะครับ

- END -