Monday, March 30, 2020

Do not lock elbow


การไม่ล็อคข้อศอก

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

          การไม่ล็อคข้อศอก หมายถึงว่า เมื่อยกน้ำหนักขึ้นข้างบนแล้ว เราจะงอแขนไว้เล็กน้อยตลอดเวลา ซึ่งมีผลดังนี้คือ

          น้ำหนักของบาร์เบลล์ที่เกิดจากแรงดึงดูดของโลก จะวิ่งเป็นแนวดิ่งสู่พื้น ส่วนที่ว่าจะเป็นทางข้างหน้าหรือข้างหลังเรา ก็ขึ้นอยู่กับว่าบริหารท่าอะไร ยกตัวอย่างเช่นตามภาพนี้ เขากำลังบริหารหลังแขน และยกคานบาร์เบลล์อ้อมไปทางด้านหลังเล็กน้อย เช่นนี้ น้ำหนักก็จะยิงตรงลงไปทางด้านหลังศีรษะเรา ตามภาพ ก.

          บาร์เบลล์นี้ลอยอยู่เหนือหัวเราได้ ก็เพราะเราออกแรงไปที่กล้ามเนื้อที่จุด เพื่อให้ต้าน "แรงเค้น" ที่เกิดจากน้ำหนักที่กดลงไปทางด้านหลัง ตามภาพ ข.

          ดังนั้น ไม่ว่าเราจะยกน้ำหนักขึ้นหรือลงในการบริหารท่านี้ กล้ามเนื้อที่บริเวณจุด ก็จะต้องถูกออกแรงอยู่ตลอดเวลา กล้ามเนื้อดังกล่าวจึงไม่ถูกพักเลย ทำให้ได้รับการบริหารอย่างเต็มที่

หมายเหตุ - ไม่ว่าจะบริหารท่าใดๆก็ตาม นักเพาะกายผู้เคร่งครัด จะชอบบริหารแบบไม่ล็อคข้อศอกตามที่กล่าวมา เพราะทำให้กล้ามเนื้อได้รับการบริหารอย่างเต็มที่ตลอดเวลา

                - กรณีตรงข้าม คือการ "ล็อคข้อศอก" ขออธิบายตามภาพข้างล่างนี้

( ไม่สามารถแสดงภาพได้ )

         การล็อคข้อศอกนั้น เกิดขึ้นทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ  ผลจากการล็อคข้อศอก จะทำให้เราออกแรงไปที่กล้ามเนื้อบางจุดที่เราใช้บริหาร ได้น้อยลง (ซึ่งก็คือการโกงนั่นเอง) อธิบายได้ดังนี้คือ

         เมื่อเราบริหารท่าต่างๆด้วยการยกลูกน้ำหนักขึ้นไปข้างบน (ยกตัวอย่างเช่นการนอนดันบาร์เบลล์) ซึ่งเราต้องใช้แรงจากกล้ามเนื้อหน้าอก แต่ปัญหาก็คือกล้ามหน้าอกเรายังมีแรงยกอยู่  แต่กล้ามแขนที่ดันบาร์เบลล์ขึ้นไปนั้นเริ่มหมดแรง (เพราะเป็นกล้ามชิ้นเล็กกว่าหน้าอก) แต่เราก็ยังไม่อยากหยุดเล่น ดังนั้นจึงคิดวิธีการ "พัก" กล้ามแขนขึ้นมา

          วิธี "พัก" กล้ามแขนนั้นก็คือ ขณะยกน้ำหนักขึ้นไปที่จุดสูงสุดแล้ว แทนที่จะผ่อนน้ำหนักลงเลย  ผู้เล่นก็จะเริ่มแอ่นแขนออก ให้กระดูกของต้นแขน (สีแดง) ทำมุมเกิน 180 องศากับกระดูกแขนท่อนปลาย (สีน้ำเงิน) จะกระทั่งจะมีกระดูกและเส้นเอ็นส่วนหนึ่งที่ขัดกระดูกทั้งสองชิ้นนี้ไว้ ตามภาพ ก. ที่เขียนไว้ว่า "จุดที่เกิดการล็อค" (ถ้าไม่มีกระดูกและเส้นเอ็นที่ว่านี้ เราก็จะพับแขนท่อนปลายออกไปข้างหลังได้)

         ถึงตอนนี้ บาร์เบลล์ที่มันตั้งอยู่เหนือตัวเรา แทนที่มันจะอยู่ได้ด้วยพลังจากกล้ามเนื้อแขนและหน้าอกของเรา ก็จะกลายเป็นว่ามันอยู่ได้ด้วยการถ่ายน้ำหนักผ่านกระดูก จากจุด ผ่านจุด แล้วลงไปข้างล่างที่จุด ตามภาพ ข. (เส้นประสีขาวในภาพ ข. คือทิศทางการไหลของแรงกดจากน้ำหนักบาร์เบลล์) ทำให้เราไม่ต้องออกแรงไปที่แขนเลย

          หลังจากพักได้อึดใจ เช่น 2 วินาทีแล้ว เราก็ผ่อนบาร์เบลล์ลงมา แล้วเริ่มบริหารต่อไป

END -